Burnout กลายเป็นปรากฎการณ์ปกติของคนทำงานในปัจจุบันที่พบได้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ผ่านช่วงวิกฤตโควิดที่ผ่านมา การเปลี่ยน Mindset หรือปรับกรอบความคิดเล็กๆ น้อยๆ ของตัวเองสามารถทำให้สถานการณ์ Burnout ดีขึ้นได้
ในปี 2019 องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุให้ภาวะ Burnout เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังจากการทำงาน ซึ่งถูกกำหนดใน 3 ลักษณะคือ
Burnout กลายเป็นปรากฎการณ์ปกติของคนทำงานในปัจจุบันที่พบได้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ผ่านช่วงวิกฤตโควิดที่ผ่านมา แม้ว่าหลายองค์กรยังมีนโยบายให้พนักงานทำงานที่บ้าน (Work from Home) หรือเลือกมาทำงานที่ออฟฟิศหรือนอกออฟฟิศก็ได้ (Hybrid Working) รวมถึง Flexi Hour ยืดหยุ่นกับตารางเข้างาน แต่ความกดดันจากงานและการแข่งขันในโลกยุคหลังโควิดนั้นไม่ได้ลดเลย นับวันมีจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
แน่นอนว่าความกดดันที่ว่ามามีส่วนสำคัญทำให้คนทำงานตกอยู่ในสภาวะ Burnout อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
แม้ว่า 6 สาเหตุหลักจะเกิดจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงาน แต่ส่วนหนึ่งก็มีสาเหตุจากตัวเองด้วยเช่นกัน เช่น นิสัยการทำงานที่รักความสมบูรณ์แบบ การไม่กระจายมอบหมายงาน การไม่กล้าปฎิเสธภาระงานที่ไม่ใช่หน้าที่หลัก รวมถึงการประเมินความกำลังและความสามารถของตัวเอง สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้ตกอยู่ในสภาวะ Burnout ที่หนักหน่วงและรุนแรงยิ่งขึ้น
การเปลี่ยน Mindset หรือปรับกรอบความคิดเล็กๆ น้อยๆ ของตัวเองสามารถทำให้สถานการณ์ Burnout ดีขึ้นได้ เช้าวันจันทร์นี้อยากชวนทุกคนมาปรับเปลี่ยนวิธีคิดเพื่อให้สถานการณ์ Burnout ที่หลายคนเผชิญอยู่นั้นดีขึ้น
4. ประเมินกำลังความสามารถตัวเอง หลายครั้งที่งานท่วมหัวเอาตัวไม่รอดมีสาเหตุจากการไม่ประเมินตัวเองว่างานไหนเป็นงานที่เราถนัด ทำได้ดี ใช้เวลาน้อย และไม่ได้เผื่อเหลือเผื่อขาดสำหรับการเจออุปสรรคและปัญหาที่ไม่คาดคิด จึงตกปากรับงาน หรือในบางกรณีก็คิดแล้วว่าทำไม่ไหวแต่ไม่เอ่ยปากขอทรัพยากรทั้งเวลาและคนช่วยงานเพิ่ม สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่เร่งให้เกิดอาการ Burnout ทั้งหนักและเร็วยิ่งขึ้น เพราะรู้แก่ใจดีว่าทำไม่ไหวแน่แต่ก็ตกปากรับงานมาทำ ยิ่งทำให้เกิดความเครียดและความกดดันในการทำงานมากยิ่งขึ้น
5. การปฎิเสธและการขอความช่วยเหลือไม่ใช่เรื่องเสียหาย หลายคนมีความกลัวไม่กล้าปฎิเสธงานหรือขอความช่วยเหลือเพราะเกรงว่าจะดูไม่ดี ไม่มีประสิทธิภาพ ทำงานไม่ได้ตามที่เจ้านายคาดหวัง ซึ่งนั่นอาจจะจริงเพียงบางส่วน ส่วนที่ไม่จริงคือ ถ้ารับปากไปแล้วทำไม่ได้หรือรู้ทั้งรู้ว่าทำไม่ไหวแต่ไม่ขอความช่วยเหลือจะยิ่งทำให้เสียเครดิตและความน่าเชื่อถือแถมยังส่งผลกระทบต่อคนที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ใครที่ตกอยู่ในสภาพนี้ของให้ชั่งน้ำหนักดูให้ดีว่าจะยอม Burnout และเสียเครดิตหรือจะยอมรับความจริงซึ่งอาจจะไม่ใช่เรื่องที่แย่นักหากเรารู้วิธีปฎิเสธหรือขอความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม
หวังว่า 5 แนวทางปรับเปลี่ยนวิธีคิดที่ว่ามาหวังว่าคงมีประโยชน์สำหรับทุกคนในเช้าวันจันทร์นี้นะคะ
เพชร ทิพย์สุวรรณ
อดีต Corporate HR ที่ชอบเม้ามอยเทคนิคและเคล็ดลับการทำงานผ่านตัวหนังสือ
ปัจจุบันเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านการคัดเลือก พัฒนาบุคคลากรของ ALERT Learning and Consultant
บทความที่เกี่ยวข้อง