Burnout Syndrome หรือ “ภาวะหมดไฟในการทำงาน” โรคยอดฮิตของหนุ่มสาวออฟฟิศในยุค Now Normal อันมีสาเหตุหลักมาจากความเครียดในสถานที่ทำงาน สังเกตุอาการง่ายๆ คือ เหนื่อยล้า หมดพลังกายและใจ หมดความเชื่อมั่นในตนเอง และประสิทธิภาพการทำงานน้อยลง
เมื่อปี 2562 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ประกาศให้ Burnout Syndrome เป็นภาวะทางสุขภาพที่ต้องได้รับการดูแลรักษา และเป็นภาวะที่กำลังจะเกิดในสังคมคนเมืองและคนรุ่นใหม่มากขึ้น ซึ่งภาวะหมดไฟหรือหมดแรงบันดาลใจในการทำงานนี้ งานวิจัยของต่างประเทศระบุว่าอาจส่งผลให้กลายเป็นโรคซึมเศร้าได้ในระยะยาว และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 2 ของกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากต่อปี ภาวะหมดไฟจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป
วิธีแก้ภาวะหมดไฟ มีหลากหลายแนวทาง ทั้ง "ยอมรับในความแตกต่าง" , "อย่าหักโหมงาน" , "อย่าเอางานกลับบ้าน" รวมไปถึง “การออกกำลัง” หรือ "พักผ่อนให้เพียงพอ" แต่การมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ย่อมควบคู่ไปกับการมีสุขภาพจิตที่ดี ซึ่งเป็นความสุขอย่างสมบูรณ์แบบที่ทุกคนต่างปรารถนา การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบข้างจึงเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญมากในการใช้ชีวิตให้มีความบาลานซ์ ดังนั้นแนวทางที่จะช่วยเพิ่มพลังบวกให้เรามีสุขภาพจิตที่แจ่มใสขึ้นในทุกวัน คือ การหันเข้าสังคม หรือ "การเข้าร่วมกิจกรรมในสังคม" (Social Participation) จึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางในการช่วยคลายเครียดได้
ผลสำรวจเกี่ยวกับภาวะ Burnout Syndrome หรือ “ภาวะหมดไฟในการทำงาน” พบว่า ประโยชน์ของคนที่ได้รับจากการเข้าร่วมทำกิจกรรมต่างๆ
สำหรับ “กิจกรรมการเข้าสังคม” มีหลากหลายอย่างให้เลือกทำ เพื่อเป็นแนวทางในการช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดที่กำลังเผชิญ ซึ่งเมื่อย้อนไปดูข้อมูลของวิทยาลัยการจัดการมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ได้เก็บผลสำรวจวิธีคลายเครียด 3 ลำดับแรก (ข้อมูลการสำรวจช่วงปลายปี 2562) ของกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร พบว่า
ดังนั้น หากคุณคิดว่า ตัวเองกำลังทรมานจากความเหนื่อยหน่าย การลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหมดไฟคือการเลือกใช้กิจกรรมที่เหมาะสม และไม่มากจนเกินไป ก็จะมีส่วนช่วยผ่อนคลายความเครียดและเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้กลับมามีไฟกันอีกครั้ง
ทำไมการเข้าหาสังคม ถึงอาจช่วยลดภาวะ Burnout Syndrome หรือ “ภาวะหมดไฟในการทำงาน” ได้
1. ความรู้สึกมีส่วนร่วมนั้นช่วยทำให้มีความสุข
GEN HEALTHY LIFE มองว่าการมีความเชื่อมโยงกันระหว่างความรู้สึกมีส่วนร่วมและความสุขที่มากขึ้นอยู่ รวมไปถึงปัญหาสุขภาพจิตที่ลดลง ซึ่งรวมไปถึงการลดลงของความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า
2. การทำกิจกรรมต่างๆ จะช่วยลดความเครียด
ผู้ที่เล่นกีฬาประเภททีมอยู่เป็นประจำมักไม่ค่อยมีความเครียดมากนัก ในขณะที่การศึกษาหนึ่ง ผู้เข้าร่วม 4 ใน 5 คนพบว่าการใช้เวลากับงานอดิเรกนั้นมีประสิทธิภาพปานกลางหรือสูงในการจัดการกับความเครียด
3. การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจได้
การวิจัยชี้ให้เห็นว่าใน 80% ของผู้เรียน การมีทักษะใดๆ ก็ตามจะช่วยพัฒนาความมั่นใจในตัวเองและการนับถือตัวเองได้ ซึ่งทำให้ผู้เรียนเหล่านั้นรู้สึกมีพลังขึ้นมาและสามารถเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในชีวิตได้
4. ลดความเหงาลง ลดความเสี่ยงของโรคร้ายแรงได้
ความเหงามีส่วนเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของโรคหัวใจที่เพิ่มขึ้น 29% และความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองที่เพิ่มขึ้น 32% โดยการจะกำจัดความรู้สึกโดดเดี่ยวทางสังคมออกไปและมอบความรู้สึกมีส่วนร่วมให้แก่คนอื่นๆ ได้นั้น การเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนจะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะเรื้อรังบางชนิดได้
5. การยิ้มช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น
มาค้นหาความสนุกสนานในชีวิตประจำวันของคุณด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนสิ เมื่อคุณยิ้ม สารสื่อประสาทจะหลั่งออกมาเพื่อลดระดับความเครียดและช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของคุณได้ต่อสู้กับแอนติเจนและโรคติดต่อต่างๆ
6. การได้ติดต่อพูดคุยอยู่เสมอสามารถชะลอภาวะสมองเสื่อมได้
การวิจัยชี้ให้เห็นว่าการมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดและมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มีจุดมุ่งหมาย (Meaningful activity) อาจช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อมได้ นอกจากนี้ ผู้ที่ชอบเข้าสังคมดูเหมือนจะมีความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อมได้น้อยกว่า
อย่าลืมว่าการรักษาภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือแม้แต่เกิดอาการเบื่อหน่ายกับทุกสิ่งบนโลกใบนี้ หากเกิดขึ้นแล้วต้องใช้เวลาในการฟื้นฟู และมีการปรับเปลี่ยนที่ยั่งยืนในรูปแบบการดูแลสุขภาพทั้งทางกายและจิตใจ แต่หากทำทุกวิธีแล้วยังไม่สามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติที่ควรจะเป็นได้ หรือมีผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ควรพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพจิต เพื่อรับคำปรึกษาและการดูแลที่เหมาะสม