การพูดเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นคุณได้ในระดับนึงเลย พูดให้ตัวเองดูดี ดูมีความรู้ เป็นสิ่งที่ใครๆก็อยากจะทำให้ได้ใช่ไหม วันนี้เรามีวิธีมาแนะนำ 6 เทคนิค "พูดยังไงให้ดูฉลาด" ให้คนที่อยากจะพูดคุยร่วมวงกับคนอื่นๆโดยที่เราเองก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องเท่าไหร่
เพื่อนร่วมงานเราจับกลุ่มคุยกัน หรือบางทีกลับมาพบปะกับเพื่อนเก่า เราเองก็อยากร่วมวงสนทนาด้วย แต่ดันไม่เข้าใจเรื่องที่พวกเขาพูดกันเลย จะพูดไปแบบมั่ว ๆ ก็กลัวโป๊ะว่าเรารู้ไม่จริง จะทำยังไงให้เราดูฉลาดกับเรื่องที่เขาพูดๆกันแต่จริงๆแล้วเรากลับไม่รู้เรื่องเลย
หลายๆคนก็คงอยากเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อนๆ คำพูดและท่าทางของเรานี่แหละที่จะเป็นตัวตัดสินว่าทุกคนจะหันมาสนใจเราได้รึเปล่า คนที่มีวาทศิลป์ในการพูดเป็นสิ่งที่ดี เป็นนิสัยที่ควรมีติดตัวไว้ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนได้ เป็นเทคนิคที่ทำให้เราดูพูดคล่อง ดูวางตัวเป็น
จริงๆแล้วมันมีวิธีที่จะทำให้เราดูฉลาด ดูมั่นใจอยู่ ไม่ว่าจะเป็นทั้งภาษาพูด ภาษากาย วิธีพวกนี้จะทำให้เราดูฉลาดแม้จะไม่รู้เรื่องพวกนั้นเลยก็ตาม
ยิ่งพูดเยอะคนเขาก็จะยิ่งจับโป๊ะได้ว่านี่เราไม่รู้จริงนี่หว่า อะไรที่เราไม่รู้จริง ๆ ก็อย่าพยายามพูดแสดงความคิดเห็น เวลาที่มีคนพูดอะไรก็ให้ลองต่อท้ายคำพูดของพวกเขาดู เช่น “อืมม” “จริงๆก็ใช่นะ” อะไรประมาณนี้ อาจจะทำให้คุณดูเข้าใจเรื่องที่พวกเขาพูกันมากขึ้น แต่... อย่าพูดแทรกหรือพูดขัดจังหวะตอนที่คนอื่นกำลังพูดกันเด็ดขาด
ไม่ว่าพวกเขากำลังพูดอะไรอยู่ก็ตาม สิ่งสำคัญคือ "ถ้าเราไม่รู้เรื่องพวกนั้นจริงๆ อย่าเป็นคนเปิดประเด็นเด็ดขาด ให้เขาเริ่มพูดกันไปก่อน แล้วเราค่อยเติม ๆ แนวสนับสนุนว่า “จริง ๆ เราเห็นด้วยกับคุณเลยนะ” แล้วก็ทำเหมือนสรุปสิ่งที่พวกเขาพูดกันจากนั้นก็จบท้ายสวยๆด้วยการถามปลายเปิดไปว่า “พวกคุณว่ายังไงกันบ้าง”
พยายามหาความเชื่อมโยงแล้วใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษไปแทรกเป็นคำถามหรือแสดงความคิดเห็นเล็กน้อยบ้าง แต่อย่าเยอะเกินไป เพราะมันจะยิ่งดูเฟก ดูไม่จริง ดูพยายามเกินไป เช่น “เรื่องพวกนี้มันค่อนข้าง sensitive มากๆเลย….” หรือ “เอาจริง ๆ เราไม่ค่อยเข้าใจเลย ลองลง detail มากกว่านี้ได้มั้ย”
ท่าทางที่มั่นใจไม่ใช่การนั่งไขว่ห้างที่เห็นกันบ่อย ๆ นะ แต่มันคือการที่เรานั่งในท่าทางที่สบายตัวที่สุด หลังตรง และมีท่าทางสนใจในเรื่องที่เขากำลังพูดกันจริง ๆ แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องน่าเบื่อมาก ๆ เลยก็ตาม
Eye contact สำคัญมากในการแสดงความมั่นใจของเรา เวลาเราพูดอะไร ต่อให้เราไม่มั่นใจในสิ่งที่พูดเท่าไหร่ แต่เราต้องแสดงความมั่นใจออกมาก่อน การสบตาเป็นสิ่งที่ทำให้คนอื่นมองเห็นถึงความมั่นใจของเรา ในขณะที่เรากำลังฟังคนอื่นพูด ก็พยายามสบตาเขา พยักหน้าตามบ่อย ๆ อย่ามองแต่พื้น หรือมองไปรอบ ๆ แบบไม่สนใจ
เรื่องที่เขาพูด ๆ กันในวงสนทนาส่วนใหญ่ก็คงเป็นเรื่องข่าวทั่วไป และเทรนด์หรือกระแสต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นนั่นแหละ รู้แบบคร่าว ๆ ผิวเผิน ให้พอรู้ในสิ่งที่เขากำลังพูดกันบ้างจะได้ไม่อ๊องเวลาเขาเริ่มคุยกัน แต่เราไม่รู้ว่าเขาพูดถึงอะไร
พูดถึงเรื่องที่ควรพูดไปแล้ว มันก็มีบางเรื่องที่ไม่ควรพูดออกมาเหมือนกัน เช่น การพูดนินทาคนอื่น การนำเอาความลับของคนอื่นมาพูดถึงให้คนนอกฟัง การพูดเรื่องประเด็นที่อ่อนไหวง่าย เช่นการเมือง หรือพวกความคิดเห็นส่วนตัวที่มองแล้วอาจจะขัดแย้งกับคนรอบๆได้ เพราะนอกจากเรื่องที่พูดมาจะไม่มีประโยชน์อะไรในวงสนทนาแล้ว พาลจะทำให้คนรอบตัวที่ฟังมองเราในแง่ลบไปด้วย
การที่คนอื่นมองเราในแง่ดีเป็นเรื่องที่สำคัญมาก การที่เราร่วมวงสนทนาบ่อยๆ พูดอย่างมั่นใจอย่างฉลาดให้คนอื่นเห็นว่าเราเองก็มีความรู้ และไม่พูดในสิ่งที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งกัน เป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้คนอื่นๆเชื่อใจที่จะมอบหมายหน้าที่หรืองานให้เรา หรือสบายใจที่จะพูดคุยกับเราได้
อ้างอิง
บทความอื่นที่น่าสนใจ