หยุดนิสัยผัดวันประกันพรุ่งวันนี้ เพื่อความสำเร็จในวันหน้า “ถ้างานวันนี้งานไม่เสร็จ จะเอาความสำเร็จของวันพรุ่งนี้มาจากไหน”
เชื่อว่าทุกคนต่างรู้ดีว่าความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ต่างเริ่มต้นมาจากความสำเร็จเล็กๆ จากการเริ่มต้นลงมือทำ แล้วค่อยๆ สั่งสม ประกอบร่างเป็นความสำเร็จที่เราตั้งเป้าหมายไว้ แต่หลายครั้งอุปสรรคความสำเร็จก็เกิดจากการไม่ลงมือทำเสียที ทั้งๆ ที่รู้ว่าดี แต่ขอผัดไปก่อน ซึ่งเราเรียกอุปสรรคนี้ว่า “นิสัยผัดวันประกันพรุ่ง”
การผัดวันประกันพรุ่งของงานแต่ละงานนั้นเกิดจาก 1 ใน 3 สาเหตุนี้เสมอ อย่างไรก็ตามแนวโน้มของปัญหาผัดวันประกันพรุ่งของแต่ละคน มักจะมีสาเหตุหลักจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง เช่น คนที่มีบุคลิก Perfectionist การผัดวันประกันพรุ่งมักเกิดจากสาเหตุแรก ส่วนสาเหตุที่ 3 มักเกิดกับคนที่มั่นใจในตัวเองมาก จนมักจะประเมินระยะเวลาการทำงานต่ำกว่าความเป็นจริง เช่น ต้องใช้เวลาทำงานจริง 3 วันกลับคิดว่าใช้เวลาแค่ 1 วันก็สามารถทำงานนั้นเสร็จ
ไม่ว่าการผัดวันประกันพรุ่งของคุณจะเกิดจากสาเหตุอะไร วันนี้จะชวนมา สรุป 5 เทคนิคสำหรับรับมือ “นิสัยการผัดวันประกันพรุ่ง” ในรูปแบบต่างๆ จากหนังสือ “วิธีตัดสินใจของคนที่ทำงานไม่เคยพลาด” โดยซาซากิ โชโกะ และ หนังสือ“เพราะฉันแตกต่าง จึงบริหารเวลาแบบนี้” โดยยู ซึซึกิ รวมถึงเนื้อหาในหลักสูตรการสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาตนเอง (Self-Motivation and Development) ของผู้เขียนมาฝากค่ะ
ให้คิดว่าเลื่อนเวลาไปก็ค่าเท่ากัน ผลลัพธ์ไม่แตกต่างกันมาก ให้ลงมือทำเลย บอกกับตัวเองว่า “ถึงผัดไปทำวันหลังก็คงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก” ให้ทำไปก่อนอาจจะได้ไอเดียอะไรเพิ่ม หรือค่อยหาทางปรับปรุงให้ดีขึ้นใน Version ถัดไป การบอกกับตัวเองแบบนี้ยังใช้ รับมือกับการผัดวันประกันพรุ่งที่เกิดกับงานที่ตั้งใจมากๆ คาดหวังผลลัพธ์หรือความสำเร็จสูง จนทำให้เรารู้สึกเกร็งหรือกังวล ส่งผลให้เราเตรียมตัวมาเกินไปด้วยเช่นกัน
เป็นงานที่ต้องทำต่อเนื่อง ไม่สามารถทำให้เสร็จภายในวันเดียว เช่น งานเขียนรายงานขนาดยาว เขียนงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ ซึ่งหลายครั้งเมื่อหยุดแล้วกว่าจะกลับมาเริ่มทำอีกครั้งอาจจะต้องใช้เวลาหลายวัน หรือต้องใช้แรงใจมหาศาลในการเข็นตัวเองให้ลุกขึ้นทำต่อ
ให้หยุดพักงานในจังหวะที่สำคัญๆ หรือจุดที่เราอยากทำต่อ หรืออย่างน้อยก็เป็นช่วงที่เรามีไอเดียในการทำงานในขั้นตอนถัดไป เพื่อตอนที่เรากลับมาทำงานจะสามารถเริ่มทำต่อได้ทันที ไม่เสียเวลาอุ่นเครื่องคิดงาน หรือผัดผ่อนตัวเองเพราะคิดงานไม่ออก รวมถึงมีแรงจูงใจอยากทำต่อเพราะมีไอเดียอยู่แล้ว เทคนิคนี้คล้ายกับซีรีส์แล้วตัดจบตอนสำคัญๆ เพื่อให้คนดูรู้สึกอยากติดตาม
จากประสบการณ์ที่ใช้เทคนิคนี้พบว่าสร้างความรู้สึกต่อเนื่องได้แม้ว่าจะกลับมาทำต่อในวันรุ่งขึ้น เหมือนหยุดค้างความรู้สึกทำงานได้ไหลลื่นไว้ได้ ทำให้อยากกลับมาทำงานนั้นต่อ และทำงานต่อได้ต่อเนื่องเป็นอย่างดี
นอกจากนี้การจดโน้ต ประเด็นหรือขั้นตอนที่เราอยากทำต่อไว้คร่าวๆ เพื่อทบทวนความทรงจำ ก็ช่วยให้เราไม่รู้สึกกังวลว่าเราจะลืมประเด็นหรือเรื่องสำคัญที่เราคิดได้ก่อนที่เราจะหยุดทำงานค้างไว้ นึกจุดเชื่อมต่อของเนื้องานก่อนหน้านนี้ออกได้ง่ายขึ้นด้วย
การผัดวันประกันพรุ่งแบบนี้มักจะเกิดกับงานที่เรามั่นใจมากว่าทำได้ และหลายครั้งเป็นงานที่เราคุ้นเคย เคยทำมาก่อนแล้ว ทำให้พอจะประมาณระยะเวลาที่ต้องใช้ในการทำงานได้ ทำให้ประมาท เกิดความชะล่าใจ ผัดผ่อนกับตัวเองว่าเดี๋ยวค่อยลงมือทำ ไปๆ มาๆ กลายเป็นว่า ไม่ได้ลงมือทำสักที ต้องทำในวินาทีสุดท้ายส่งผลให้งานที่ออกมาไม่ค่อยดีเท่าที่ควร
ท้าทายตัวเองให้ลบล้างสถิติเดิมแล้วลงมือทำทันที เช่น ถ้าเราคิดว่างานนี้ทำแป๊บเดียวเสร็จให้ถามตัวเองต่อทันทีว่าแป๊บเดียวนี่นานแค่ไหน สมมติว่า 1 ชม. ให้ลงมือทำโดยตั้งเป้าหมายว่าต้องใช้เวลาทำให้น้อยกว่า 1 ชม. จากประสบการณ์ที่เคยใช้วิธีนี้พบว่า บ่อยครั้งสิ่งที่เราคิดมักไม่เป็นจริง หลายๆ งานจะใช้เวลาทำนานกว่าที่คิดไว้ ทำให้นึกดีใจว่าดีนะที่รีบทำ ถ้าเลื่อนเวลาทำงานออกไป มีหวังทำงานไม่ทันตามกำหนดส่งแน่นอนหรือถ้าทำทันก็อาจจะทำให้งานออกมาไม่ดีเท่าที่ควร
ที่เป็นแบบนี้เพราะจิตใต้สำนึกเรากังวลว่าจะทำไม่ได้ ทำไม่สำเร็จ เลยพยายามหลีกเลี่ยงไม่ยอมทำ วิธีแก้ไขคือให้แบ่งงานให้เล็กลง เพื่อให้งานดูง่ายขึ้น อย่างคิดถึงผลลัพธ์งานในขั้นตอนสุดท้าย เช่น จัดบ้าน ให้กำหนดเป้าหมายเป็นบริเวณ หรือจะกำหนดเป็นระยะเวลาที่ไม่นานนักควบคู่ไปด้วยเพื่อจูงใจให้เราฝืนตัวเองได้ง่ายขึ้น จากที่เคยลองใช้วิธีนี้พบว่าต่อให้ถึงระยะเวลาที่กำหนดเราก็ยังทำต่อให้เสร็จเพราะอยากเห็นความสำเร็จที่สมบูรณ์ชัดเจน
เหตุการณ์แบบนี้มักจะเกิดงานที่สามารถผัดผ่อนได้ ไม่ได้มีเดดไลน์ตายตัวแต่เป็นเรื่องสำคัญ (ที่เราไม่ค่อยเห็นความสำคัญ) เช่น การออกกำลังกาย ซึ่งเป็นงานที่ไม่ทำก็ไม่ส่งผลกระทบทันที เราจึงมีแนวโน้มที่จะแทรกงานเร่งด่วนอื่นๆ ขึ้นมาทำก่อน สุดท้ายก็ไม่ได้ทำงานนี้สักที
วิธีการแก้ไขคือให้จัดตารางเวลาให้กับงานนี้ จัดให้เป๊ะให้แน่นอน จัดเป็นรายสัปดาห์หรือรายเดือน เพื่อให้เห็นกิจกรรมในภาพรวมและรู้ว่าถ้าเราเลื่อนงานนี้ออกไป เราจะหาเวลากลับมาทำในช่วงเวลาอื่นได้ลำบาก และพอถึงเวลาที่กำหนดไว้ก็ให้ลงมือทำทันที เคล็ดลับคือเราอาจจะยืดหยุ่นให้ใช้เวลาน้อยกว่าที่วางแผนไว้ได้แต่ต้องเริ่มให้ตรงเวลาตามที่กำหนดไว้ จากประสบการณ์ที่เคยใช้วิธีนี้พอฝืนทำไปสักระยะก็จะเริ่มติดลมและทำงานจนเสร็จหรือทำจนครบกำหนดเวลาที่วางแผนไว้
5 เทคนิคการรับมือการผัดวันประกันพรุ่งรูปแบบต่างๆ ข้างต้น ช่วยให้เราก้าวข้ามอุปสรรค เอาชนะใจตัวเอง ซึ่งเป็นความสำเร็จเล็กๆ ในแต่ละวัน กลายเป็นภูมิใจและความมั่นใจกับการทำงานที่ยากขึ้นในอนาคต ซึ่งความสำเร็จเล็กๆ เหล่านี้นี่เองที่จะเป็นการต่อจุดเส้นของเส้นทางความสำเร็จที่ใหญ่ขึ้นอนาคตที่กำลังมาถึง
ทุกคนลองเอาไปปรับใช้กันดูนะคะ และขอให้ประสบความสำเร็จในทุกๆ วันค่ะ
บทความอื่นที่น่าสนใจ
บทความ : เพชร ทิพย์สุวรรณ
อดีต Corporate HR ที่ชอบเม้ามอยเทคนิคและเคล็ดลับการทำงานผ่านตัวหนังสือ
ปัจจุบันเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านการคัดเลือก พัฒนาบุคคลากรของ ALERT Learning and Consultant