ทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ เมื่อต้องทำสิ่งที่ยากๆ หรือทำสิ่งที่ตัวเองไม่อยากทำ 15 บทเรียนจากหนังสือ "วิธีตัดสินใจของคนที่ทำงานไม่เคยพลาด" โดย ซาซากิ โชโกะ
ซาซากิ โชโกะ นักจิตวิทยาชาวญี่ปุ่นที่เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการรับรู้ได้ค้นคว้างานวิจัย ศึกษาปรากฎการณ์การรับรู้ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเอาชนะอุปสรรคการทำงานในชีวิตประจำวันที่ทุกคนต่างเคยเจอ มาเล่าเป็นงานเขียน อ้างอิงงานวิจัยในหนังสือ “วิธีตัดสินใจของคนที่ทำงานไม่เคยพลาด” สรุปออกมาเป็น 15 บทเรียนให้ทุกคนลองเอาไปปรับใช้กันดูค่ะ
1. เมื่อทำอะไรผิดพลาด "การสบถเบาๆ หรือตะโกนออกมา" ช่วยให้เราปลดปล่อยความเครียดและความกดดันได้
2. หากต้องรับมือกับความเจ็บปวดให้ใช้ "วิธีนับเลข" เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเอง ความเจ็บปวดที่ว่านี้ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นความเจ็บปวดเฉพาะร่างกายเท่านั้น ต่อให้เป็นความเจ็บปวดทางใจก็ใช้ได้เช่นกัน
3. หากต้องการให้คุณภาพงานโดยรวมสูงขึ้น "ให้ตั้งกระจกบนโต๊ะทำงาน" เหมือนเราได้เห็นตัวเอง เฝ้ามองตัวเองตลอดเวลา การถูกเฝ้ามองทำให้เราตั้งใจทำงานมากขึ้น
4. ปรากฎการณ์การเฝ้ามองนี้ยังครอบคลุมถึง "การติดรูป Idol" ที่เราชื่นชอบหรือ "คนที่เรานับถือ" ในตำแหน่งที่เรามองเห็นชัดเจนด้วยเช่นกัน
5. เมื่อต้องประชุมหรือคุยงานเรื่องยากๆ สำคัญๆ ให้ทำตอนเช้าในจังหวะที่สมองยังสดชื่น มีพลังในการคิด ถ้าเป็นช่วงเย็นที่ทุกคนเริ่มล้า นอกจากจะคิดไม่ออกแล้ว ประสิทธิภาพในการควบคุมอารมณ์ตัวเองจะลดต่ำลง ทำให้มีโอกาสมีปากเสียงกันได้ง่าย
6. กรณีที่ไม่สามารถเริ่มตอนเช้าได้ ก่อนเริ่มควรให้ทุกคนรู้สึกผ่อนคลายก่อนอาจจะเริ่มด้วยการดูคลิปสนุกๆ สร้างบรรยากาศ หรือมีกิจกรรมสนุกๆ ก่อนเข้าเรื่อง
7. การป้องกันการใส่เกียร์ว่างในการทำงานของสมาชิกในทีมให้หลีกเลี่ยงการมอบหมายงานให้เกินกว่า 5 คน/ทีม รวมถึงการหมั่นพูดคุยกับสมาชิกในทีมแต่ละคน เพื่อให้ทุกคนอัปเดตงานในส่วนของตัวเอง
8. จำนวนเงินรางวัลที่ให้เพื่อจูงใจในการทำงาน ไม่ควรเยอะจนเกินไป ถ้าเยอะมากอาจจะตื่นเต้นจนได้ผลลัพธ์ไม่ดีนัก แต่ถ้าน้อยเกินไปก็ไม่รู้สึกจูงใจ เรียกว่าให้แบบพอดีๆ ไม่มาก ไม่น้อยเกินไป
9. การขอให้ลูกน้องหรือคนอื่นช่วยเหลืองาน ต้องบอกเหตุผลแม้จะเป็นเหตุผลแบบที่ไม่เป็นเหตุผลก็ตาม เช่น ขอแทรกคิวถ่ายเอกสารก่อนได้มั้ยคะ ต้องรีบใช้เอกสารค่ะ
10. หากรู้สึกอึดอัดกับบรรยากาศในการทำงานหรือวัฒนธรรมขององค์กร รู้สึกกังวล อยากทักท้วงบางอย่างแต่คนส่วนใหญ่พากันมองข้าม เออออห่อหมกกับเจ้านาย หรือคิดว่าสิ่งที่เราคิดมันเล็กน้อย ทุกคนพากันเห็นพ้องไปในทางเดียวกันหมด ยกเว้นเรา
วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือให้ลองหาเพื่อนสักคนในบริษัทที่พูดคุยได้ทุกเรื่อง บอกเล่าเหตุการณ์ให้ฟัง บางทีเขาอาจจะรู้สึกแบบเดียวกับเรา ทำให้เรารู้สึกมีพวกพ้องที่เข้าใจเรา ช่วยลดความกดดันจากสภาวะดังกล่าวได้
11. เมื่อต้องทำเรื่องยากๆ ที่เราไม่มั่นใจให้ลองคิดถึงเรื่องยากๆ ที่มีลักษณะคล้ายกันแล้วเราเคยทำสำเร็จมาแล้ว จะช่วยให้เรามั่นใจ กล้าลงมือทำมากขึ้น
12. เมื่อต้องทำงานที่ไม่ชอบ "ให้ลองฝืนใจ" บังคับตัวเองลองทำสักระยะหนึ่งก่อน เรียกว่าอดทนทำไปเรื่อยๆ ถึงจุดๆ หนึ่งเราจะเจอมุมที่ชอบในงานนั้น
13. เมื่อเวลาไม่พอที่จะจัดการสิ่งต่างๆ ให้เรียบร้อย รู้สึกว่ามีงานเยอะไปหมด แก้ไขโดยการ "ทำตารางเวลาให้ครอบคลุม" อย่างน้อย 1 สัปดาห์หรือ 1 เดือนก็ได้ การทำแบบนี้จะช่วยให้เราเห็นตารางที่แน่นเอี้ยดของตัวเอง และไม่กล้าที่จะพลาดหรือผัดผ่อนตัวเองในการทำงานนั้น เพราะถ้าพลาดแล้วจะไม่สามารถดึงช่วงเวลาที่เตรียมไว้สำหรับกิจกรรมนั้นกลับมาได้อีก
14. ทำงานส่งล่าช้าไม่ทันตามกำหนด แก้ไขได้ 2 วิธี
15. เลิกนิสัยบางอย่าง เช่น การช้อปปิ้ง ดื่มกาแฟ สูบบุหรี่ ติดโซเชียล
Genius is one percent inspiration and ninety-nine percent perspiration.
อัจฉริยะ เกิดจากแรงบันดาลใจ 1 เปอร์เซนต์
และ อีก 99 เปอร์เซนต์เกิดจากการลงมือทำ
– Thomas Alva Edison –
รางวัลตรงหน้าสำคัญกว่า เห็นผลชัดเจนกว่าการอดใจในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นสุขภาพที่ดีขึ้น เงินเก็บมากขึ้น มีเวลามากขึ้น ซึ่งถ้าเราอยากจะหยุดพฤติกรรมหรือนิสัยที่เราอยากเลิก ต้องหาวิธีเบี่ยงเบนความสนใจ เช่น ดื่มน้ำผลไม้แทนกาแฟ จิบน้ำเมื่ออยากสูบบุหรี่ ในที่นี้รวมถึงการปฎิเสธคำขอร้องคนอื่นด้วยนะ ซึ่งเตรียมวิธีรับมือล่วงหน้า เช่น คำตอบปฎิเสธในรูปแบบต่างๆ
บทความอื่นที่น่าสนใจ
บทความ : เพชร ทิพย์สุวรรณ
อดีต Corporate HR ที่ชอบเม้ามอยเทคนิคและเคล็ดลับการทำงานผ่านตัวหนังสือ
ปัจจุบันเป็นวิทยากรและที่ปรึกษาด้านการคัดเลือก พัฒนาบุคคลากรของ ALERT Learning and Consultant