svasdssvasds

บทสวดสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว วันสงกรานต์ 2567 คำกล่าวบูชาเสริมมงคล

บทสวดสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว วันสงกรานต์ 2567 คำกล่าวบูชาเสริมมงคล

ทำบุญปีใหม่ไทย ฤกษ์สรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ วันสงกรานต์ 2567 บทสวด คำกล่าวบูชาเพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัวตลอดปี

บทสวดสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว วันสงกรานต์ 2567 คำกล่าวบูชาเสริมมงคล

เปิดกิจกรรมวันสงกรานต์ 13 - 15 เมษายน 2567 ประเพณีเก่าแก่ของไทยที่เต็มไปด้วยความสดชื่น ชุ่มฉ่ำ ซึ่งจะเริ่มจากการไปทำบุญที่วัดตั้งแต่ช่วงเช้า ดังนี้

  • ตักบาตร ฟังเทศน์
  • สรงน้ำพระ
  • บังสุกุลอัฐิ
  • ก่อเจดีย์ทราย
  • ขนทรายเข้าวัด
  • ปล่อยนกปล่อยปลา

 

บทสวดสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว วันสงกรานต์ 2567 คำกล่าวบูชาเสริมมงคล

บทสวดสรงน้ำพระ 2567

สวดขอขมาก่อนย้ายพระพุทธรูป - ตั้ง นะโม 3 จบ

ระตะนัตตะเย ปะมาเทนะ ทะวาระตะเยนะ กะตัง สัพพัง อะปะราธัง ขะมะตุ โน ภันเต

คำแปลว่า - กายกรรม 3 วจีกรรม 4 มโนกรรม 3 ที่ข้าพเจ้าได้ประมาทพลาดพลั้งในพระรัตนตรัย ด้วยความตั้งใจก็ดี ไม่ตั้งใจก็ดี ต่อหน้าก็ดี ขอพระรัตนตรัยได้โปรดยกโทษให้ข้าพเจ้าด้วยเถิด

บทสวดสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว วันสงกรานต์ 2567 คำกล่าวบูชาเสริมมงคล

จากนั้นให้ทำความสะอาดและย้ายพระพุทธรูปไปวางบนโต๊ะบูชาที่มีถาดรอง และเตรียมปรุงเครื่องหอมประกกอบดด้วยน้ำอบ ลอยดอกมะลิ ดอกแก้ว ดอกชมนาด ฯลฯพร้อมขันน้ำสำหรับการสรงน้ำพระ และท่องบทสวดสรงน้ำพระ ดังนี้

ตั้งนะโม 3 จบ 

อิมินา สิญฺจะเนเนวะ โรโค โสโก อุปัททะโว นิพพันตุ สัพพะโส เอเต สุขี โหนตุ นิรันตะรัง ซึ่งแปลว่า "เดชะ ข้าสรงน้ำ พระชุ่มฉ่ำตลอดกาล ทุกข์โศกโรคภัยพาล อันตรธาน เป็นสุข เทอญ

จากนั้นอธิษฐานขอพรเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัวในวันสงกรานต์ ปีใหม่ไทย 2567 ตามด้วยการรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ต่อไป

บทสวดสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว วันสงกรานต์ 2567 คำกล่าวบูชาเสริมมงคล

"พิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่" มีที่มาจากทางภาคเหนือของไทย มีเป็นคำพูดของชาวเหนือขณะรดน้ำขอขมา-ขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ และยังมีความหมายเป็นการชำระล้างสิ่งอัปมงคลไปจากชีวิต รวมถึงเป็นขนบธรรมเนียมที่แสดงออกถึงความกตัญญูกตเวทิตา ต่อบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย และผู้ที่มีพระคุณที่เราเคารพนับถือ

บทสวดสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัว วันสงกรานต์ 2567 คำกล่าวบูชาเสริมมงคล

ในส่วนของประเพณี "รดน้ำดำหัว" ฤกษ์ดั้งเดิมจะทำกันในวันสุดท้ายของวันสงกรานต์ (15 เม.ย.) ซึ่งเรียกว่า "วันเถลิงศก" เพียงวันเดียวเท่านั้น แต่ปัจจุบันให้ยึดเอาความสะดวกของแต่ละครอบครัว ตีความได้ว่า "ฤกษ์ดีวันสงกรานต์" จะทำบุญพระ หรือสักการะขอพรผู้หลักผู้ใหญ่ให้เลือกทำวันไหนก็ได้ระหว่างวันที่ 13 - 15 เม.ย. 67

related