บัซ อัลดริน นักบินอวกาศจากยาน Apollo 11 ผู้เป็นคนที่สองที่ได้เหยียบดวงจันทร์ แต่เป็นคนแรกที่ได้ปัสสาวะ ! ปีนี้อายุครบ 94 ปี Srping พาย้อนตำนานการทะยานสู่ดวงจันทร์ กระทั่งเป็นต้นแบบแรงบันดาลใจให้ Pixar สร้างตัวละคร บัซ ไลท์เยียร์ ใน Toy Story
บัซ อัลดริน เกิดวันที่ 20 ม.ค. 1930 ที่เมืองมอนต์แคลร์ รัฐนิวเจอซีย์ มีพ่อเป็นพันเอกในกองทัพอากาศสหรัฐ ด้วยสภาพแวดล้อมที่อยู่ จึงไม่แปลกที่เด็กคนหนึ่งจะสนใคร่รู้ไปกับเรื่องรอบตัว
ในช่วงมัธยมปลาย บัซเป็นเด็กนักเรียนหัวกะทิ แต่มิวายถูกกดดันจากผู้เป็นพ่อให้เดินรอยตาม ด้วยการเข้าเรียนที่ U.S. Naval Academy แต่บัซบอกปฏิเสธ และบอกว่าตนอยากจะเข้าเรียนที่ the U.S. Academy เพื่อร่ำเลียนในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล และเตรียมพร้อมพัฒนาไปเป็นนักบิน
ในช่วงทศวรรษที่ 1950s หลังจากที่บัซเรียนจบ เขาถูกส่งตัวไปขับเครื่องบินรบให้กับกองทัพในสงครามเกาหลี ความก้าวหน้าทางอาชีพของบัซเติบโตเร็วมาก เพียงไม่กี่ปี เขาก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ฝึกสอนนักบินในรัฐเนวาดา
มีเรื่องเล่าว่า ขณะนั้น NASA พึ่งจะเริ่มก่อตั้งองค์กรขึ้น และขณะนี้กำลังตามหานักบินมาฝึกอบรมเพื่อเป็นนักบินอวกาศ มีหรือคนบ้าอวกาศอย่างบัซจะไม่สนใจ เขายื่นใบสมัครไปทันที แต่ก็โดนปฏิเสธมา
กระทั่งปี 1963 ชื่อและความสามารถของบัซเริ่มเป็นที่พูดถึง เมื่อจบปริญญาเอกจาก MIT มาได้ NASA จึงตอบตกลงรับเขาเข้ามาเป็นนักบินอวกาศทันที
“มันเหมาะสมแล้วที่นีลคือคนแรก แต่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา การที่ผมถูกแนะนำว่าเป็นมนุษย์คนที่สองบนดวงจันทร์ มันก็น่าหงุดหงิดนะ” บัซ อัลดริน กล่าว
ผู้เขียนคิดว่า “นีล อาร์มสตรอง” น่าจะเป็นหนึ่งในนักบินอวกาศที่ชื่อระบือนามมากที่สุดแล้ว เกิดมาก็ได้ยิน หรือได้เห็นตามหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์แทบทุกสำนัก ก็แหง่ล่ะ เพราะเขาเป็นถึง “มนุษย์คนแรก” ที่ได้เหยียบดวงจันทร์น่ะซี
หลังจากนีลสัมผัสพื้นดวงจันทร์ได้ 19 นาที และก้าวเป็นก้าวแรกของมนุษยชาติ ก้าวที่สองที่ถูกประทับลงไปบนดวงจันทร์และสลักสำคัญไม่แพ้กันนั้นคือ ย่างก้าวของ “บัซ อัลดริน”
นีลและอัลดริน เดินหน้าทำงานอย่างแข็งขัน ทั้งคู่ใช้เวลากว่าสองชั่วโมงในการรวบรวมตัวอย่างหิน และถ่ายภาพเก็บไปศึกษาวิจัย
สงสัยกันล่ะสิ ให้เวลากทายเล่น ๆ 3 วินาที เริ่ม!
1...
2...
3...
เบคอน ! ใช่แล้ว มื้อ A ซึ่งถูกกำหนดวางแผนมาตั้งแต่พื้นโลกแล้วว่าต้องเป็นอาหารมื้อแรกของโลก อาหารประกอบไปด้วย เบคอน ลูกพีช คุกกี้ น้ำสัปปะรด และกาแฟ นี่คือมื้อแรกก่อนที่จะลงจอดบนดวงจันทร์นะจะบอกให้
แหม่ ถ้าเกิดทันจะแนะนำต้มยำกุ้ง กะเพราะตามสั่ง ไข่ตุ๋น หากได้ดื่มด่ำอาหารเลิศรสเช่นนี้บนดวงจันทร์คงอภิรมย์มาก แต่ในความเป็นจริงหญิงท่านนี้คงไม่ Approved “ริต้า แรปป์” (Rita Raap) เธอเป็นคนออกแบบมื้ออาหารให้กับนักบินอวกาศของ Apollo 11 และเป็นผู้นำทีม Apollo Food System ซึ่งอาหารดังที่กล่าวไป ผ่านกระบวนการคิดอย่างซับซ้อนและถี่ถ้วน
วันที่ 24 กรกฎาคม ปี 1969 นักบินอวกาศทั้ง 3 คนลงสู่พื้นโลกอย่างปลอดภัย เป็นอันสิ้นสุดภารกิจ Apollo 11
จะเรียกว่าปลอดภัยก็คงไม่ถูก เพราะนักบินอวกาศทั้ง 3 คน ต้อง Quarantine ด้วยกันตั้ง 21 วัน ก่อนจะออกไปข้างนอกได้ หลังจากนี้ชีวิตของ บัซ อัลดริน ก็เริ่มดิ่งลงเหว...
บัซออกมาเปิดใจอย่างตรงไปตรงมาว่า ตนต้องดิ้นรนต่อสู้กับภาวะซึมเศร้าและโรคพิษสุราเรื้อรัง หลังจากสิ้นสุดอาชีพนักบินอวกาศกับ NASA
หลังจากที่ได้ไปทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ของโลกมา NASA ก็มอบหมายให้นักบินอวกาศ Apollo 11 เดินทางไปรอบโลก เพื่อบอกโลกว่า You know, What we’d done.
แต่มันหนักหนาสำหรับเขาเกินไป จากนักบินอวกาศคุ้นชิ้นกับท้องฟ้า สายลม วันหนึ่งต้องมาเดินดินเฉกเช่นพลเรือนคนอื่น ๆ บัซบอกว่า เขาใช้เวลาปรับตัวนานเหมือนกัน
ก่อนปิดจบพาร์ท Apollo 11 มีอยากทิ้งท้ายไว้ด้วยความรู้สึกประมาณนี้ ความรู้สึกของบัซต่อการร่อนลงดวงจันทร์ แม้เวลาจะผ่านไปแล้วหลายปี ก็มิอาจล้างความทรงในครั้งนี้ของเขาได้
“ทุกครั้งที่ผมมองพระจันทร์ ผมเหมือนได้นั่งไทม์แมชชีนย้อนกลับไปวันนั้นอีกครั้ง ความรู้สึกหวั่นใจ แต่งดงาม สายธารแห่งความเงียบงัน ผมมองเห็นโลกของเราไสวแจ้งอยู่ท่ามกลางห้วงอวกาศอันมืดมิด”
นี่คงเป็นเพียงไม่กี่เรื่อง ที่มนุษย์อย่างเราคงไม่สามารถล่วงรู้ความรู้สึกแบบนั้นได้...
ความทรงอิทธิพลของ “บัซ อัลดริน” มิเพียงแค่แวดวงอวกาศศึกษาเท่านั้น “ตัวตน” ของนักบินอวกาศผู้นี้ดันไปสะกิดใจ ผู้กำกับคนหนึ่งเข้า เขาคนนั้นชื่อว่า จอห์น ลาสเซ็ทเตอร์ (John Lasseter) ผู้กำกับชุดภาพยนตร์ Toy Story
จอห์น เกิดและเติบโตมาในยุคที่ สหรัฐส่งนักบินอวกาศไปทำภารกิจบนดวงจันทร์พอดี และช่วงเวลานั้น นี่ถือเป็นเรื่องใหญ่และว้าวมาก ในการล่องไปสู่ที่ใดก็ไม่รู้ ซึ่งมนุษย์ไม่เคยไปมาก่อน
จนเวลาผ่านมาถึงในปี 1995 ค่าย Pixar ฉายภาพยนตร์เรื่อง Toy Story ให้ทั้งโลกได้ดู ตัวละคร “บัซ ไลท์เยียร์” แม้ในเรื่องจะเป็นพวกใจร้อน หุนหันพลันแล่น แต่สุดท้ายก็สามารถครองใจคนทั้งโลกได้
ต้องบอกว่าตัวละคร “บัซ ไลท์เยียร์” ไม่ใช่ชื่อนี้มาตั้งแต่แรก โปรดิเซอร์ของภาพยนตร์ตั้งชื่อให้ ตัวละครนี้ว่า “Lunar Larry” แต่สุดท้ายก็ถูกเปลี่ยนมาเป็น บัซ ไลท์เยียร์ เพื่อเป็นเกียรติให้กับ บัซ อัลดริน นั่นเอง
แต่...นะ แม้เจ้าตัวจะถูกนำชื่อไปตั้งเป็นตัวละครในภาพยนตร์ชื่อดัง แถมกวาดเงินทั่วโลกไปไม่รู้เท่าไหร่ แต่ข้อมูลระบุว่า บัซ อัลดริน ไม่ได้เงินหรือค่าธรรมเนียมในการนำชื่อไปใช้สักแดงเดียว
เล่าเรื่องเขา ก็ต้องให้เขาเป็นคนพูดปิดส่งท้ายสิถึงจะถูก
"การกลับมายังโลกน่าจะเป็นเรื่องยากที่สุดแล้วล่ะ" บัซ อัลดริน
ที่มา: History , KCRA , NASA , Space , Smithsonianmag , distractify
ข่าวที่เกี่ยวข้อง