svasdssvasds

หยุดปีใหม่ แต่ในใจห่อเหี่ยว เปิดเหตุผลที่ทำให้บางคนเบื่อวันส่งท้ายปีเก่า

หยุดปีใหม่ แต่ในใจห่อเหี่ยว เปิดเหตุผลที่ทำให้บางคนเบื่อวันส่งท้ายปีเก่า

เทศกาลปีใหม่ถือเป็นการเฉลิมฉลองที่ใหญ่ที่สุดในทุกปี เพราะเป็นการสื่อถึงการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ และอนาคตอันน่าตื่นเต้นที่กำลังจะมาถึง ทว่าท่ามกลางบรรยากาศการเฉลิมฉลองกันอย่างสุดเหวี่ยง ก็มีหลายคนเหมือนกันที่รู้สึกเบื่อกับการเฉลิมฉลองนี้ และอยากให้มันรีบผ่านไป

เทศกาลปีใหม่ถือเป็นการเฉลิมฉลองที่ใหญ่ที่สุดในทุกปี เพราะเป็นการสื่อถึงการเริ่มต้นสิ่งใหม่ๆ และอนาคตอันน่าตื่นเต้นที่กำลังจะมาถึง ทว่าท่ามกลางบรรยากาศการเฉลิมฉลองกันอย่างสุดเหวี่ยง ก็มีหลายคนเหมือนกันที่รู้สึกเบื่อกับการเฉลิมฉลองนี้ และอยากให้มันผ่านพ้นไปเร็วๆ

ทั้งนี้ คนที่เบื่อการฉลองปีใหม่สามารถเลือกได้ว่าจะคลุกตัวอยู่ในห้องเพื่ออ่านหนังสือดีๆ สักเล่ม หรือดูหนังเรื่องโปรดข้ามปีโดยไม่จำเป็นต้องออกไปฉลองนอกบ้านก็ได้ แต่ไม่ว่าจะเลือกแบบไหน สิ่งที่ทุกคนต้องเจอเหมือนกันในวันสุดท้ายของปีคือ เสียงพลุนับร้อยๆ ลูก เสียงไชโยโห่ร้องของเพื่อนบ้านจนถึงเช้า และโพสต์ฉลองปีใหม่ของเพื่อนๆ คุณอีกนับไม่ถ้วนบนโซเชียล ทำให้เทศกาลปีใหม่จึงเป็นวาระที่ทุกคน ไม่อาจหลีกเลี่ยง และจำเป็นต้องกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของมัน แม้วันนั้นคุณจะเลือกนอนเล่นอยู่บนเตียงเฉยๆ ก็ตาม

แต่ไม่ว่าอย่างไร ก็ไม่มีใครจะมาตำหนิคุณที่ไม่สนุกในช่วงเทศกาลปีใหม่ได้ เพราะกรณีแบบนี้มีเหตุผลแบบเฉพาะเจาะจงอยู่ว่าทำไม่ช่วงส่งท้ายปีเก่าที่ควรจะเต็มไปด้วยความยินดี ขณะเดียวกันกลับสามารถมอบความน่าเบื่อให้กับบางคนได้ด้วย

หยุดปีใหม่ แต่ในใจห่อเหี่ยว เปิดเหตุผลที่ทำให้บางคนเบื่อวันส่งท้ายปีเก่า

'AsapSCIENCE' ช่องยูทูป ที่เน้นนำเสนอเรื่องวิทยาศาสตร์แบบเข้าใจง่าย ได้ทำคลิปวิดีโอ ที่อธิบายว่า “ทำไมปีใหม่ของคุณถึงแย่” เอาไว้ 6 ข้อ ดังนี้

1 ความคาดหวัง

เดิมทีในอดีตกาล ความคาดหวังของมนุษย์มีแค่ออกไปล่าสัตว์แล้วนำกลับมาเพื่อให้มีอะไรกินในมื้อเย็น แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ความคาดหวังของมนุษย์จึงมีมากและซับซ้อนเกินไป ซึ่งมักนำมาสู่ความผิดหวังในท้ายที่สุด ทำให้ในวันส่งท้ายปีเก่าอาจเป็นวันที่เราต้องผิดหวังมากที่สุด เพราะคิดว่าตลอดทั้งปีน่าจะทำได้ดีกว่านี้ แต่กลับมาพบในตอนจบว่ามันไม่ดีเอาเสียเลย ซึ่งทำให้งานปาร์ตี้ปีใหม่ของพวกเขาไม่สนุกอย่างที่คิด

2.พยายามมากเกินไป

อันนี้ตรงตัวอยู่แล้ว หากเราพยายามมากไปที่จะมีความสุขกับเทศกาลปีใหม่ สิ่งที่ตรงข้ามอาจเกิดขึ้นได้ ซึ่งตามหลักวิทยาศาสตร์แล้ว มีการศึกษาว่าคนที่ถูกแนะนำให้มีพยายามมีความสุขระหว่างฟังเพลง จะมีความสุขน้อยกว่าคนที่ฟังเพลงโดยที่ไม่ต้องมีใครมาแนะนำให้พยายามมีความสุขกับมัน

เช่นเดียวกับเทศกาลปีใหม่ หากในใจของคุณไม่ได้มีความสุขขนาดนั้นอยู่แล้ว การฝืนไปเฉลิมฉลองและทำตัวมีความสุขมากไป อาจเป็นดาบสองคมที่ย้อนกลับมาทำให้เราเศร้าหลังจากเสียงงานปาร์ตี้สิ้นสุดก็ได้

3.มองโลกในแง่ดีเกินไป

เช่นเดียวกับปัญหา "ความคาดหวัง" เพราะโดยพื้นฐานแล้วมนุษย์จะพยายามมองโลกในแง่ดีและคาดหวังผลลัพธ์ในชีวิตเชิงบวก มากกว่าคาดหวังการมองโลกในแง่ร้าย และคาดหวังชีวิตในเชิงลบ

ยกตัวอย่างเช่น คู่บ่าวสาวส่วนใหญ่แต่งงานกันโดยเชื่อมั่นว่าจะได้อยู่ด้วยกันตลอดไป ซึ่งก็ถือเป็นความตั้งใจแน่วแน่ที่ดี แต่สมัยนี้ๆ ใครก็รู้ว่ามันไม่ได้เป็นอย่างนั้นเสมอไป ซึ่งเกือบครึ่งของการแต่งงานต้องจบลงด้วยการหย่าร้าง

เช่นเดียวกับเทศกาลปีใหม่ เรามักคาดหวังว่าผลลัพธ์มันจะมี เสียงหัวเราะ และ ความสนุกสนาน ทั้งๆ ที่ความริงแล้ว มันก็เป็นแค่คืนหนึ่งที่อาจทำให้เรารู้สึกเบื่อหน่ายเท่านั้น หากเราไม่ได้มีความสุขมาจากก้นบึ้งหัวใจตั้งแต่แรก

4. สะท้อนตนเอง

การสะท้อนตนเอง (self-reflection) หมายถึงการกลับมาสังเกตตัวเองทั้งภายนอกและภายใน ว่าตอนนี้เราเป็นอย่างไรบ้าง ซึ่งช่วงที่วุ่นวายมาตลอดทั้งปีเราคงไม่ได้ใช้ทักษะนี้เท่าไหร่ ทว่าในช่วงหยุดปีใหม่ละก็ เราจะถูกบีบให้หันมองตัวเองแน่นอนว่าที่ผ่านมาทำอะไรสำเร็จบ้าง ซึ่งสามารถกระตุ้นความเครียดและความทุกข์ได้โดยตรง หากเราไม่พอใจในตัวเอง

5.ต้องดื่มแอลกอฮอล์

แน่นอนว่าฉลองทั้งที ไม่มีแอลกอฮอล์ได้หรือ ทว่า สารแอลกอฮอล์มีผลต่อสิ่งต่างๆ มากมายในร่างกายเรา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการรบกวนระบบลิมบิก (Limbic system) ซึ่งควบคุมระบบควบคุมความรู้สึกในร่างกายของเรา และการดื่มในปริมาณที่มากเกินไป มีแนวโน้มที่จะทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวน และอาจขยายไปสู่ภาวะซึมเศร้าหลังจากนั้นได้

6.ราคาแพง

คืนวันปีใหม่ คือคืนที่ต้องจ่ายแพงอย่างไม่ต้องสงสัย และอาจเป็นวันที่แพงที่สุดของทั้งปีอีกด้วย ทั้งร้านอาหาร บาร์ หรือแม้แต่คนขับแท็กซี่ อาจะคิดค่าบริการของคุณเพิ่ม เพียงเพราะพวกเขาอยากทำ และการศึกษาก็พบว่าแค่ขึ้นค่าบริการรถอูเบอร์จาก 1.9% เป็น 2.0 % ก็สามารถทำให้คนไม่อยากเดินทางออกจากบ้านในวันใหม่แล้ว ดังนั้นถ้าคุณต้องจ่ายแพงในวันปีใหม่ ก็คงเกิดความพอใจได้ยาก

การสะท้อนตนเอง (self-reflection) หมายถึงการกลับมาสังเกตตัวเองทั้งภายนอกและภายใน ว่าตอนนี้เราเป็นอย่างไรบ้าง

ทั้งหมดนี้ คือเหตุผลเบื้องต้นที่ทำให้หลายคนเบื่อการฉลองปีใหม่ แต่อย่างไรก็ตามก็เป็นข่าวดีตรงที่การฉลองปีใหม่เป็นแค่ 0.273972603% ของทั้งปีเท่สนั้น ซึ่งกล่าวอีกนัยคือ มันไม่ได้กระทบต่อชีวิตของคุณมากนัก ดังนั้นอย่าคิดมากเกินไป และมีความสุขในแบบของตัวเองให้มากที่สุดดีกว่า

 

สวัสดีปีใหม่ 2567 !

ที่มา : AsapSCIENCE 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

related