คุณเคยได้ยินคำว่า People pleaser มั้ย? นั่นหมายถึงคนที่ไม่ค่อยปฏิเสธคนอื่น คิดถึงคนอื่นก่อนตัวเอง พยายามทำให้คนอื่นพอใจแม้บางครั้งจะฝืนตัวเอง อาจจะเพราะเกรงใจ หรืออยากให้คนอื่นยอมรับในตัวเอง แต่รู้มั้ย? คุณกำลังสร้างภาระและความเหนื่อยล้าให้ตัวเอง
การไม่ทำอะไรสักอย่างมันเร็วกว่าการลงมือทำเสมอ อาจจะฟังดูแปลกๆ แต่ลองเปรียบเทียบกับการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์แบบเก่าบอกว่า “ไม่มีรหัสผ่านใดรวดเร็วกว่าการไม่มีรหัส” พอจะเข้าใจคอนเซ็ปต์ของการ say no มากขึ้นหรือยัง?
คุณเคยได้ยินคำว่า People pleaser มั้ย ? นั่นหมายถึงคนที่คิดถึงคนอื่นก่อนตัวเอง พยายามทำให้คนอื่นพอใจแม้บางครั้งจะฝืนตัวเอง อาจจะเพราะเกรงใจ หรืออยากให้คนอื่นยอมรับในตัวเอง จริงๆแล้วการช่วยเหลือคนอื่นเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้ามากเกินก็กลายเป็นว่ามันจะทำให้ตัวเองลำบาก คุณสมบัติของ people pleaser นั้นเห็นชัดเจนมาก นั่นคือ ไม่ค่อยปฏิเสธคนอื่น เขามักจะรีบตอบตกลง แล้วกลับมาคิดได้หลังจากนั้นว่า จริงๆเขาเองก็ไม่ได้อยากทำสิ่งนั้นเลยนี่นา แต่ปากดันไปตอบตกลงซะแล้ว ถ้าคุณเป็นคนแบบนี้ รีบแก้ไขด่วนๆ
มาวิเคราะห์กันก่อนว่าทำไมเราถึงตอบตกลงกับทุกอย่าง
คนที่คุณมักจะไม่ค่อยปฏิเสธส่วนใหญ่เป็นคนที่ต้องการมีปฏิสัมพันธ์ต่อในอนาคต เช่น ครอบครัว เพื่อน แฟน เพื่อนร่วมงาน และคนใกล้ตัวอื่นๆ การปฏิเสธคนเหล่านี้มักเป็นเรื่องที่ยาก เพราะชีวิตของคนเรานั้นหวังพึ่งสังคมรอบข้างเป็นส่วนใหญ่ เรายอมรับคำขอหลายๆครั้งอาจไม่ใช่เพราะเราอยากทำ แต่เราทำเพื่อไม่ให้ถูกคนอื่นมองว่าไม่มีน้ำใจ หรือไม่ช่วยเหลือ เพราะบางครั้งเราเองก็ต้องการความช่วยเหลือจากพวกเขาเหล่านั้นกลับคืนมาเหมือนกัน
บทความ Work Life Balance อื่นที่น่าสนใจ
No เป็นการตัดสินใจ : Yes เป็นความรับผิดชอบ
จริงๆแล้วการ Yes กับ No ไม่ใช่แค่มีความหมายตรงข้ามกันเท่านั้น แต่มันหมายถึงผลลัพธ์ในอนาคตจะต่างกันอย่างสิ้นเชิง ตอนที่คุณ "ปฏิเสธ" นั่นหมายถึงคุณกำลังปฏิเสธเพียงแค่ตัวเลือกเดียว ในขณะเดียวกันเมื่อคุณ "ตกลง" นั่นอาจหมายถึงคุณกำลังปฏิเสธอีกหลายๆตัวเลือกที่กำลังเข้ามา
เหมือนกับนักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อ Tim Harford บอกว่า “ทุกครั้งที่เราตอบรับคำขอ เรากำลังปฏิเสธสิ่งอื่นๆ ที่เราอาจทำได้สำเร็จในช่วงเวลานั้นด้วย”
พูดง่ายๆคือ การที่คุณปฏิเสธในสิ่งที่ไม่อยากทำ จะทำให้คุณมีเวลาทำในสิ่งที่คุณอยากทำจริงๆในอนาคต แถมหลายครั้งที่คุณยอมรับภาระงานของคนอื่นมาทำจนเป็นปกติ งานนั้น ก็จะกลายเป็นความรับผิดชอบของคุณในที่สุด หากเกิดความเสียหายหรือไม่เป็นไปตามเป้า คนที่ต้องโดนเฉ่งก็จะกลายเป็นตัวคุณไปแบบงงๆ
ฝึกปฏิเสธให้ชำนาญอย่างมีชั้นเชิง
สำหรับคนประเภท "People pleaser" เราไม่ได้บอกให้คุณปฏิเสธทุกอย่าง บางครั้งที่เราไม่ได้รู้สึกอยากทำมันจริงๆ และมันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อคนอื่นมากนัก ไม่ว่าจะเป็นการที่เพื่อนร่วมงานมาขอให้เราช่วยทั้งๆที่ไม่ใช่ภาระหน้าที่ของเรา และเราเองก็ยังมีงานของเราที่ต้องทำอยู่ หรือบางทีหัวหน้างานมาขอให้ทำงานเกินหน้าที่โดยที่ไม่มีค่าตอบแทน
การช่วยงานพวกเขาเหล่านี้อาจดูมีข้อดีคือคนรอบตัวจะเห็นว่าเรามีน้ำใจ ขยัน แต่ถ้ามันเป็นการรบกวนเรามากเกินไป การตกลงแบบนั้นก็เหมือน "ลดภาระให้เขา เพิ่มภาระให้เรา" ถ้าไม่อยากตกอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นก็ฝึกปฏิเสธให้ชิน การที่เราบอกว่า ‘ไม่’ ต่อสิ่งที่เราไม่อยากทำบ่อยๆมันเหมือนเป็นการค่อยๆสร้างเกณฑ์ในการตอบตกลงมากขึ้น เพราะหลายคนก็ไม่มีลิมิตของความเกรงอกเกรงใจ คิดว่าคนไหนหัวอ่อนใช้ง่าย ก็จะใช้ไปเรื่อยๆ
ดังนั้นเราต้องปฏิเสธให้เป็น และต้องไม่ปฏิเสธแบบต้องเสียความสัมพันธ์ มองหน้ากันไม่ติด แล้วเราจะรู้เองว่าเรารู้สึกสบายใจกับการทำสิ่งไหน เราจะรู้สึกแคร์ตัวเองมากขึ้น
นี่คือ tips เล็กๆน้อยๆที่จะทำให้คุณปฏิเสธได้อย่างสุภาพและเก่งขึ้น
ก่อนที่จะรีบตอบตกลง ลองคิดให้แน่ใจสักหน่อยว่าอยากจะทำสิ่งนั้นจริงๆรึเปล่า อาจจะใช้คำพูดยืดเวลาเพื่อให้เราตัดสินใจคิดก่อน เช่น “ยังไม่แน่ใจว่าว่างมั้ยขอกลับไปดูตารางก่อนนะ เดี๋ยวจะบอกอีกที” ซึ่งการที่จะรู้ว่าอยากทำจริงๆมั้ยนั้นง่ายมาก แค่สังเกตความรู้สึกแรกของคุณ หากความรู้สึกแรกคือ เย้! นั่นหมายความว่าคุณจะอยากตอบตกลง แต่ถ้าความรู้สึกแรกเป็น เอ๋? นั่นหมายความว่าคุณต้องลองกลับไปคิดแล้วล่ะ ว่าพร้อมจะเสียอะไรหลายๆอย่างเพื่อทำมันหรือเปล่า ดังนั้น ใช้เวลาคิดก่อนสักนิด ก่อนจะให้คำตอบ ถ้าไม่ใช่สิ่งที่เราอยากทำ เราก็จะมีเวลาเรียบเรียงคำปฏิเสธแบบสวยๆได้
ช่วงแรกๆ บางคนอาจจะรู้สึกประหม่า ไม่กล้าจะปฏิเสธ แต่ลองเริ่มพูดว่าไม่ จากสิ่งเล็กๆก่อน เช่น ถ้าเพื่อนร่วมงานขอให้ช่วยทำงานของเขา แทนที่จะพูดตรงๆ อาจจะลองบอกถึงเรื่องของเราไปด้วยว่า ‘เราเองยังทำงานของเราไม่เสร็จเลย แต่ถ้าไม่เข้าใจตรงไหนถามได้นะ เรายินดีอธิบาย’ มันอาจจะทำให้คำปฏิเสธดูห้วนน้อยลง
หากเพื่อนร่วมงานไม่ถนัดการทำงานขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง แล้วมาขอแรงให้เราช่วยทำให้อยู่บ่อยๆ เราอาจยอมเสียเวลาช่วงแรก ในการสอน หรือให้คำแนะนำวิธีการทำงานนั้น แทนที่จะรับมาทำเอง อาจจะเสียเวลาแค่ไม่กี่ครั้ง เขาก็จะไม่มีข้ออ้างว่าไม่ถนัด หรือไม่เก่งอีกต่อไป คราวนี้ เราจะบอกปัด ก็จะง่ายขึ้น
การที่เราตอบครึ่งๆกลางๆไม่ชัดเจน จะทำให้คำตอบเราดูไม่หนักแน่น หากเพื่อนชวนคุณไปปาร์ตี้ แต่คุณดันตอบไปว่า ‘อยากไปนะ แต่เราไม่ว่าง’ ทั้งๆที่จริงๆเราเองไม่อยากไปเลยแค่หาข้ออ้างว่าไม่ว่าง เพื่อนอาจจะคะยั้นคะยอมากขึ้น ‘ถ้าอยากไปก็ไปสิ’ มันอาจจะทำให้คุณหนักใจมากขึ้น ดังนั้นสิ่งที่ควรทำคือ หนักแน่นในคำตอบ ‘เราไม่ไปนะ เราเหนื่อยมาก’ ใช่คือใช่ ไม่คือไม่ ไม่มีคำตอบครึ่งๆกลางๆ
การทำให้คนอื่นมีความสุขโดยที่ตัวเองทุกข์นั้นไม่ใช่เรื่องที่ควรทำเลย ต่อให้หัวหน้าจะขอให้คุณช่วยไปทำงานนอกสถานที่แทนตัวเขาเอง แต่ตัวคุณเองก็มีนัดส่วนตัวอยู่แล้ว ลองคิดดูว่าจะยอมเสียสละเวลาส่วนตัวของคุณเพื่อให้หัวหน้าสบายขึ้นโดยที่คุณเองก็ไม่ได้อะไรเลยหรือเปล่า ถ้าคิดว่าไม่คุ้ม ก็ปฏิเสธไปเลย
“ไม่มีอะไรไร้ประโยชน์ไปกว่าการตั้งใจทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ” - Peter Drucke
อย่าเสียเวลาทำในสิ่งที่เราไม่ชอบเลย ฝึกปฏิเสธให้เป็น แล้วคุณจะพบกับหลายๆสิ่งที่ควรค่าแก่การตั้งใจทำมันจริงๆ แต่ก็ต้องชั่งน้ำหนักให้ดีด้วยนะ ถ้าคำขอร้องของเพื่อนหรือหัวหน้างานนั้น เป็นเรื่องจำเป็นและสำคัญจริงๆ การยอมบ้างเป็นครั้งคราวก็จะทำให้การทำงานร่วมกันราบรื่นและเป็นผลดีต่อทั้งองค์กรและตัวเราด้วย การรู้จักเสียสละเล็กๆน้อยๆก็สำคัญพอๆกับการรู้จักปฏิเสธอย่างเหมาะสมนั่นแหละ
อ้างอิงข้อมูล
- betterup