ทำความรู้จัก อลัน ทัวริง (Alan Turing) และเปิดประวัติ ฮีโร่ผู้ช่วยชีวิตคนนับล้านจากสงครามโลก ครั้งที่ 2 แต่ ถูกตราหน้า เป็นอาชญากร เพราะ แค่รักเพศเดียวกัน การเป็น LGBTQ+ ในอดีตเป็นเรื่องผิดบาป ขนาดนั้นเลยเหรอ ?
อลัน แมธิสัน ทัวริง (Alan Mathison Turing) เกิดเมื่อ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 (ปี ค.ศ. 1912) ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และ ทุกวันนี้ โลกต่างยกย่องเชิดชู อลัน ทัวริง ว่า เป็นบุคคลที่มีความสามารถมากหลากหลายด้าน เป็นนักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยา และถูกกล่าวขานเป็นที่ยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ แต่จะหารู้หรือไม่ ในช่วงที่เขามีชีวิตอยู่ เขากลับถูกตราหน้าว่า เป็นอาชญกร เพียงแค่ว่า เขารักเพศเดียวกัน โลก ณ วันนั้น ไม่เข้าใจ ความเป็น LGBTQ+ ของเขา
ช่วงวัยหนุ่ม การศึกษาของอลัน ทัวริง นั้น เขา เรียนจบเกียรตินิยมอันดับ 1 ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์ จากคิงส์ คอลเลจ ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ก่อนจะไปเรียนจบปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ที่สหรัฐอเมริกา เมื่อเรียนจบ เขากลับมาเป็นอาจารย์ที่เคมบริดจ์ สอนวิชาคณิตศาสตร์
ในระหว่างเรียน เขาได้คิดค้นเครื่องจักรชื่อ ทัวริงแมชชีน Turing machine ขึ้นมา ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยูในทุกวันนี้ โดยทัวริงแมชชีน Turing machine สามารถ “เข้าใจ” ค่า คำสั่งที่มนุษย์สั่งการได้ ในฐานตัวเลขไบนารี่ ซึ่งในยุค 40 ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่
ชื่อเสียงของอลัน ทัวริง ไม่ต่างอะไรจากพลุไฟที่ถูกจุดขึ้น เขาโด่งดังฉายแสง และมี แสงเป็นของตัวเอง ในฐานะอัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ และการเดินทางของตัวเลข
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
April Fool's Day : 1 เมษายน ความตายเลสลี่ จาง ที่ทุกคนอยากให้เป็นแค่ เรื่องโกหก
Pride Month : ฮาร์วี มิลค์ นักการเมืองเกย์คนแรก ที่ถูกยิงตาย จนกลายเป็นหนัง
เขากำลังจะเริ่มต้นอาชีพเป็นอาจารย์ แต่ทว่าก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ในปี 1939 ณ เวลานั้น รัฐบาลสหราชอาณาจักร ,(ในยุคที่มี Neville Chamberlain เนวิลล์ แชมเบอร์เลน เป็นนายกฯรัฐมนตรี และลากต่อมาจนถึงยุค วินส์ตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) ได้รวบรวมกลุ่มคนที่มีความรู้ชั้นสูงทั่วประเทศ เพื่อทำภารกิจลับ ในการถอดรหัสเครื่องเอนิกม่าของนาซี ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ณ เวลานั้น เครื่องสร้างรหัสลับเอนิกม่าที่นาซี เยอรมัน ใช้ คือวิวัฒนาการแบบใหม่ในการส่งข่าวสาร กล่าวคือ มันไม่ใช่เครื่องสร้างรหัสทั่วไป แต่มันสร้างเป็นตัวอักษรที่ไม่ซ้ำกันเลย , อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของอังกฤษ เชื่อมั่นว่าถ้าหากสามารถถอดรหัสเอนิกมา ENIGMA นี้ได้ ก็จะนำทางมาสู่ชัยชนะได้ง่ายขึ้น เพราะแผนการต่างๆที่เยอรมันวางไว้ ถ้ารู้ล่วงหน้า ก็สามารถสกัดดักจับได้ และป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ด้วย
รัฐบาลอังกฤษจ้าง "ทีมเอเวนเจอร์แห่งสงครามโลก" ทั้ง นักภาษาศาสตร์ , นักวิเคราะห์ตัวอักขระ, แชมเปี้ยนหมากรุก และทุกๆคนที่น่าจะมีความรู้ด้านการตีความ ซึ่งก็รวมถึงอลัน ทัวริง นักคณิตศาสตร์จากเคมบริดจ์ด้วย
และแน่นอนว่า การถอดรหัสจากเครื่องเอนิกม่า ENIGMA เป็นเรื่องที่ยากแสนสาหัสมาก ผู้ถอดรหัสต้องมีโค้ดสำหรับการเซ็ตเครื่องที่ถูกต้อง ถึงจะถอดความออกมาได้แต่วิธีการเซ็ตทั้งหมด มีมากถึง 159 ล้านล้านล้านรูปแบบ นั่นทำให้ฝั่งนาซี มีความมั่นใจในเครื่องเอนิกม่า ว่าไม่มีวันโดนเจาะทะลวง หรือไขความลับของรหัส ได้แน่ๆ ฝั่งเยอรมัน นาซี จึงใช้งานรหัสลับเอนิกม่า ในทุกยุทธวิธีการรบทั้งทางอากาศ และทางทะเล
ความยากในการถอดรหัสเอนิกม่า ENIGMA นั้น จาก 159 ล้านล้านล้านรูปแบบ อลัน ทัวริง ใช้สติปัญญาและความพยายามสุดชีวิต จนกระทั่งค้นหาวิธีถอดรหัสเจอ และสามารถถอดใจความของเยอรมัน ออกมาได้ ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ ทำให้อังกฤษ สามารถป้องกันการโจมตีของเยอรมันได้ ในการสงคราม และ ว่ากันว่าช่วยทำให้สงครามโลกจบเร็วขึ้นถึง 2 ปี และ ไม่ว่าในทางตรงหรือทางอ้อม การถอดรหัส เอนิกม่า ENIGMA ย่อมมีส่วนช่วยชีวิตผู้บริสุทธิ์จากสงครามโลกได้เป็นล้านๆ
อย่างไรก็ตาม การถอดรหัส เอนิกม่า ENIGMA แม้จะเป็นผลงานชิ้นมาสเตอร์พีซ แต่เรื่องนี้ ไม่สามารถถูกเผยแพร่ได้ และแน่นอนว่า ความดีความชอบของ อลัน ทัวริง ไม่ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง ณ ตอนนั้น เนื่องจากเป็นความลับทางการทหารของรัฐบาล ทำให้ตัวอลัน ทัวริง ไม่ได้รับคำชื่นชมมากเท่าที่ควร อย่างไรก็ตาม หลังจบโปรเจ็กต์แล้ว เขายังได้ทำงาน เป็นที่ปรึกษาการถอดรหัสของรัฐ และได้ช่วยงานในหน่วยงานความมั่นคงต่างๆ รวมถึงงานวิชาการที่มหาวิทยาลัยอีกด้วย
แต่ที่น่าเศร้าก็คือ แม้ เขาจะทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติมากมาย ช่วยชีวิตผู้คนนับล้านๆ แต่สุดท้ายแล้ว เขาก็ได้จบชีวิตของตัวเองลงในวัยเพียง 41 ปี เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 1954
โดยในช่วงสุดท้ายของชีวิต อลัน ทัวริง ในช่วง ปี 1952 ก่อนที่ อลัน ทัวริ่งจะเสียชีวิต 2 ปี ,ทัวริ่งบนวัย 39 เริ่มต้นคบหากับ อาร์โนลด์ เมอร์เร่ย์ เด็กหนุ่มวัย 19 ปี จากนั้นวันที่ 23 ม.ค. มีโจรบุกขึ้นบ้านของทัวริ่งที่แมนเชสเตอร์ เขาโทรแจ้งความกับตำรวจ อย่างไรก็ตาม ระหว่างการสืบสวน ตำรวจได้พบหลักฐานว่าเขามีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายด้วยกัน ซึ่งการมีเซ็กซ์ระหว่างชายรักชาย เป็นเรื่องผิดกฎหมายที่อังกฤษ ณ ขณะนั้น
อลัน ทัวริง กับแฟนหนุ่ม โดนจับกุม ตามกฎหมายอาญา ทำให้เขาต้องมีประวัติอาชญากรติดตัว โดยศาลมีข้อเสนอ ให้ทัวริงเลือก ระหว่างจำคุก โดนจองจำอิสรภาพ หรือ ยอมฉีดฮอร์โมนเอสโตรเจนเพื่อลดความต้องการทางเพศเป็นเวลา 1 ปี เพื่อยับยั้งไม่ให้เขาไปมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ชายด้วยกันอีก
สุดท้าย อลัน ทัวริงเลือกฉีดฮอร์โมน เพื่อหลีกเลี่ยงการติดคุก การมีความผิดอาญาติดตัว ทำให้งานต่างๆที่เขาทำกับภาครัฐ โดนไล่ออกทั้งหมด เหลือแต่งานที่มหาวิทยาลัยเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น เขาไม่สามารถเข้าสหรัฐอเมริกาได้เนื่องจากมีประวัติอาชญากร
ในช่วงเวลาแห่งความมืดดำของชีวิต อลัน ทัวริง ถูกพบว่าเสียชีวิตในบ้านพักของตัวเอง โดยจากการชันสูตรพบว่า มีสารไซยาไนต์ในร่างกาย ซึ่งสังคมก็ได้แต่คาดเดากันไปว่า อลัน ทัวริง เสียชีวิตเพราะสาเหตุหรือแรงจูงใจที่แท้จริง คืออะไร บ้างก็ว่าเขาฆ่าตัวตายเพราะอับอาย บ้างก็บอกว่าเขาถูกลอบสังหาร เพราะมีข้อมูลของรัฐบาลมากเกินไป บ้างก็ว่าเป็นเหตุบังเอิญ จากการใช้สารเคมีระหว่างทำงาน แต่ก็ไม่ได้ข้อสรุปใดๆจนถึงวันนี้ คำตอบของความตายยังอยู่ในสายลม
ส่วนเรื่องราว ในอดีตการรักร่วมเพศ หรือความเป็น LGBTQ+ เป็นเรื่องผิดกฎหมายที่อังกฤษ แต่ในปัจจุบัน ไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายอีกแล้ว ทำให้ในปี 2013 สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 หรือ ควีนเอลิซาเบธที่ 2 ได้พระราชทานอภัยโทษ ให้อลัน ทัวริง ย้อนหลัง 61 ปี
แม้จะเป็นการพระราชอภัยโทษหลังจากเสียชีวิตไปแล้ว แต่ถือเป็นการกอบกู้ศักดิ์ศรีในฐานะมนุษย์คนหนึ่งกลับคืนมา รวมถึงกอบกู้ศักดิ์ศรีของตระกูลอลัน ทัวริ่งอีกด้วย
ในปี 2019 ธนาคารกลางอังกฤษ ได้ประกาศว่า ทำการคัดเลือกหาบุคคลที่มีความโดดเด่น 1 ท่าน เพื่อนำรูปใบหน้ามาอยู่ในธนบัตร 50 ปอนด์ ของอังกฤษ และ อลัน ทัวริง และ ชีวิตของเขาเป็นหนึ่งในเค้าโครงเรื่องของ ภาพยนตร์ชั้นดี อย่าง The Imitation Game ถอดรหัสลับ อัจฉริยะพลิกโลก ซึ่งมี เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบตช์ แสดง เป็น อลัน ทัวริง , และภาพยนตร์เรื่องนี้ เข้าชิงฯ ออสการ์ปี 2015 ถึง 8 รางวัล และได้ชนะมา 1 รางวัล กับ บทภาพยนตร์ดัดแปลงยอดเยี่ยมอีกด้วย
.