SHORT CUT
เปิดความเป็นมา 18 มงกุฎเดิมหมายถึงใคร ทำไมวันนี้ถึงกลายเป็นสำนวน เรียก ‘อาชญากร’ ที่อยู่ร่วมกับเราในสังคม ?
ใครที่ติตตามข่าวสารอยู่ตลอด ต้องรู้จัก ‘18 มงกุฎ’ สำนวนที่ถูกสื่อต่างๆ ใช้เรียกบุคคลที่หลอกลวงผู้อื่นเพื่อหวังผลประโยชน์ส่วนตัว โดยใช้เล่ห์เหลี่ยมต่างๆ เช่น การหลอกขายสินค้าที่ไม่มีคุณภาพ การชักชวนให้ลงทุนในโครงการที่ไม่มีอยู่จริง เป็นต้น
แต่ก่อนที่คำนี้จะเป็นสำนวนในด้านลบ ‘18 มงกุฎ’ นั้นถูกใช้สื่อถึงฝ่าย ‘คนดี’ มาก่อน ซึ่งผู้ที่ติดตามเรื่องราวใน "รามเกียรติ์ จะทราบดีว่า คำว่า ‘18 มงกุฎ’ นั้น หมายถึงวานรชั้นแนวหน้า 18 ตนของพระราม ซึ่งทุกตนสวมหัวที่เรียกว่า ‘มงกุฎ’
วานรทั้ง 18 ตนนี้ ที่มาจาก 2 เมืองคือ เมืองขีดขินของสุครีพ และเมืองชมพูของท้าวมหาชมพู แต่เป็นเทวดา 18 องค์ แต่อาสาลงมาช่วยพระนารายณ์ตอนอวตารมาเป็นพระราม ทั้ง18ตน มีรายนามดังนี้ 1 เกยูร, 2 โกมุท, 3 ไชยามพวาน ,4 มาลุนทเกสร, 5 วิมลวานร, 6 ไวยบุตร, 7 สัตพลี, 8 สุรกานต์, 9 สุรเสน, 10 นิลขัน ,11 นิลปานัน ,12 นิลปาสัน, 13 นิลราช ,14 นิลเอก ,15 วิสันตราวี ,16 กุมิตัน ,17 เกสรทมาลา ,18 มายูร
โดยทวานรทั้งหมดมีอำนาจพิเศษ เก่งกาจกว่าทหารวานรทั่วไปในทัพพระราม มาจากร่างอวตารของเทวดาระดับสูง จึงเรียกรวมๆ ว่า ‘18 มงกุฎ’ ที่สื่อถึง ‘ฝ่ายธรรมมะ’ มาตลอด
แต่ทุกวันนี้ เหตุผลที่ ‘18 มงกุฎ’ กลายเป็นคำที่หมายถึง ‘ฝ่ายอธรรม’ ไปแล้วนั้น อ้างอิงจาก หนังสือ "สำนวนไทย" ของ ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) ได้เขียนไว้ว่า ว่า สิบแปดมงกุฎ นำมาใช้เป็นสำนวนในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อมีนักเลงการพนันใหญ่ลือชื่อพวกหนึ่ง กล่าวกันว่าเป็นนักเลงชั้นยอด สักตามตัวเป็นรูปมงกุฎ จึงเรียกว่า สิบแปดมงกุฎ ตามเรื่องราวใน "รามเกียรติ์” จากนั้น ถ้าใครเป็นนักเลงการพนันก็เลยเรียกว่า สิบแปดมงกุฎ ซึ่งในปัจจุบัน ไม่เพียงแต่เรียกนักเลงการพนันเท่านั้น คำนี้ยังหมายรวมถึงพวกนักต้มตุ๋น หลอกลวง ยักยอกทรัพย์ของผู้อื่นมาเป็นของตนอีกด้วย
ปัจจุบันนี้ หากจะพูดถึง "18 มงกุฎ” เฉยๆ คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะสื่อมวลชนมักจะหมายถึง พวกมิจฉาชีพ แต่ถ้าจะหมายถึง เหล่าเสนาวานรทหารเอกของพระรามแล้ว ต้องเรียกว่า "วานร 18 มงกุฎ” แทน เพื่อแยกฝ่ายดีและฝ่ายชั่วให้ชัดเจน!
ที่มา : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง