svasdssvasds

ระหว่าง 'นิยาย' กับ 'หนังสือ' พัฒนาตนเอง อ่านอะไรดี ?

ระหว่าง 'นิยาย' กับ 'หนังสือ' พัฒนาตนเอง อ่านอะไรดี ?

การอ่านหนังสือนับเป็นการใช้เวลาว่างประโยชน์ต่อจิตใจและสมองอย่างมาก เพราะพักผ่อนหย่อนใจแล้ว การอ่านยังช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ ในชีวิตได้อีกมากมาย แต่นิยายกับ หนังสือพัฒนาตนเอง ลเือกอ่านอะไรดี ?

SHORT CUT

  • หากแบ่งประเภทหนังสือตามเนื้อหา จะสามารถแบ่งได้หลัก ๆ 2 ประเภทหลักๆ  ได้แก่ หนังสือสารคดี (Non-fiction) ที่เป็นความรู้ และหนังสือบันเทิงคดี (Fiction) ที่เป็นเรื่องแต่ง
  • การมานั่งเถียงกันว่า ‘หนังสือพัฒนาตัวเอง’ หรือ ‘นิยาย’ อย่างไหนดีกว่ากัน อาจเป็นเรื่องที่ไม่มีประโยชน์! เพราะนักอ่านตัว จริงย่อมรู้คุณค่าของหนังสือเป็นอย่างดี
  • การอ่านทั้งนิยายและหนังสือพัฒนาตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่ดีทั้งคู่ การเลือกอ่านประเภทใดขึ้นอยู่กับว่าในขณะนั้นเราต้องการอะไร

การอ่านหนังสือนับเป็นการใช้เวลาว่างประโยชน์ต่อจิตใจและสมองอย่างมาก เพราะพักผ่อนหย่อนใจแล้ว การอ่านยังช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ ในชีวิตได้อีกมากมาย แต่นิยายกับ หนังสือพัฒนาตนเอง ลเือกอ่านอะไรดี ?

ทั้งนี้ หากแบ่งประเภทหนังสือตามเนื้อหา จะสามารถแบ่งได้หลัก ๆ 2 ประเภทหลักๆ  ได้แก่ หนังสือสารคดี (Non-fiction) ที่เป็นความรู้ และหนังสือบันเทิงคดี (Fiction) ที่เป็นเรื่องแต่ง

ทว่าในโลกของนักอ่านก็ยังมีการถกเถียงกันเรื่องควรอ่านอะไร ถึงจะดีที่สุดของชีวิต เพราะหลายคนมองว่า หนังสือบันเทิงคดี หรือ ‘นิยาย’ อ่านได้แค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ถ้าอายุมากขึ้นต้องอ่านหนังสือความรู้ถึงจะถูกต้อง ในขณะที่บางกลุ่มก็มองว่า การอ่านนิยายเป็นเรื่องเสียเวลาโดยสิ้นเชิง และยิ่งช่วงที่ผ่านมาบรรดาไลฟ์โค้ช หรือกูรูที่ประสบความสำเร็จทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น บิล เกตส์, มาร์ค ซักกะเบิก และ อี ลอน มัสก์  ต่างก็ออกมาเปิดเผยว่าพวกเขาอ่านหนังสือพัฒนาตัวเองกันหลายเล่ม จนเหมือนความสำคัญของนิยายจะลดลงไปมาก 

แต่การมานั่งเถียงกันว่า ‘หนังสือพัฒนาตัวเอง’ หรือ ‘นิยาย’ อย่างไหนดีกว่ากัน อาจเป็นเรื่องที่ไม่มีประโยชน์! เพราะนักอ่านตัว จริงย่อมรู้คุณค่าของหนังสือเป็นอย่างดี และไม่ว่าจะเลือกอ่านอะไรก็คือการพัฒนาตัวเองไม่ต่างกัน ในโพสต์นี้ทีม SPRiNG จึงขอชวนมาดู จุดแข็ง และจุดอ่อน จากหนังสือ 2 ประเภทนี้กัน !

ข้อดีของหนังสือพัฒนาตนเอง (Non-Fiction)

ข้อดีของหนังสือพัฒนาตนเอง (Non-Fiction)

แบ่งปันความรู้ 

สำหรับ หนังสือสารคดี อัตชีวประวัติบุคคล หรือหนังสือพัฒนาตัวเองต่างๆ มีจุดแข็งตรงที่ แบ่งปันความรู้และประสบการณ์ของผู้เขียนโดยตรง ซึ่งอาจมาจากการใช้ชีวิตของผู้เขียน หรืออ้างอิงจากงานวิจัยอื่น จึงเปรียบเสมือนการพูดคุยและให้คำแนะนำที่ผู้อ่านเอาไปใช้ในชีวิตจริงได้

สร้างแรงบันดาล

จุดแข็งประการหนึ่งของหนังสือประเภทนี้ คือ  ไม่ว่าจะเล่าเรื่องอะไร  หากเขียนจากประสบการณ์ของผู้เขียนโดยตรง  เราสามารถสร้างสะพานเชื่องโยงกับความรู้สึกของผู้อ่านได้  และผู้อ่านก็จะสัมผัสได้ถึงความจริงในคำพูดของผู้เขียนทุกบรรทัด  และความรู้สึกดังกล่าวสามารถสร้างแรงบันดาลใจได้อย่างเหลือเชื่อ

ตัวอย่างเช่น หากเป็นหนังสือ ‘How to เข้าสังคม’ ที่ผู้เขียนเล่าวิธีเปลี่ยนแปลงตัวเองจากคนขี้อาย ไปเป็นคน มั่นใจตัวเองภายใน 1 เดือนได้สำเร็จ  ก็มีโอกาสสูงที่ผู้อ่านจะใช้เทคนิคเดียวกัน เปลี่ยนแปลงตัวเองให้เหมือนชีวิตของผู้เขียนได้ 

ช่วยตัดสินใจในทางเดินชีวิต 

ยิ่งไปกว่านั้น หนังเหนือพัฒนาตัวเองหลายเล่ม ยังช่วยให้เรานำงานวิจัย หรือความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มาชั่งน้ำหนัก เพื่อตัดสินใจเลือกทางเดินในชีวิตได้อีกด้วย 

จุดอ่อน 

อย่างไรก็ตาม งานเขียนประเภทนี้ก็ไม่ได้ไร้จุดอ่อน เพราะบางเรื่องอาจใช้ได้กับผู้เขียน แต่ไม่สามารถใช้ได้กับผู้อ่านที่อยู่ต่างวัฒนธรรม ต่างบริบทกัน ส่วนบางเล่มผู้เขียนก็อาจจะแต่งเติมประสบการณ์ชีวิตตัวเองจนเกินจริงไปบ้าง  และบางเล่มผู้เขียนก็เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง จนดูเป็นการสั่งสอนมากจนเกินไป และไม่ได้พยายามเป็นมิตรกับผู้อ่าน 

ข้อดีของการอ่านนิยาย Fiction 

ข้อดีของการอ่านนิยาย Fiction 

สริมสร้างจินตนาการ

ในส่วนของ นิยาย แน่นอนว่าคือการเสริมสร้างจินตนาการ มีผลการวิจัยที่ทำขึ้นโดย University of Toronto บอกว่าคนที่อ่านนิยายหรือวรรณคดี เป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรค์และเปิดกว้างมากกว่าคนที่อ่าน Nonfiction และการอ่านนวนิยายยังช่วยให้คนกลุ่มนี้มีการตัดสินใจที่ดีขึ้น รวมถึงตัดสินสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้นเช่นกัน

ช่วยให้เห็นภาพ

อีกจุดเด่นที่สำคัญคือ ผ่านการบรรยายที่หนักแน่น ให้เราได้นึกภาพตามว่าคนที่อยู่คนละยุคกับเรา อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ต่างจากเรา นั้นใช้ชีวิตอย่างไร สนใจในเรื่องอะไร มีความคิดอ่านและค่านิยมอย่างไร เงื่อนไขต่างๆ ทางสังคมและสภาพสังคมเป็นแบบไหน บางครั้งเราจึงได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมความคิดอ่านของผู้คน ผ่านนิยายที่มี Setting เป็นช่วงเวลาในอดีตหรือต่างสภาพสังคมได้ โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องหนังสือวิชาการเลย

สัมผัสความเป็นมนุษย์ 

และถึงแม้จะเป็นเรื่องแต่ แต่หลายเรื่องก็ใช้ตัวละคร และเหตุการณ์ที่มาจากชีวิตจริง จึงทำให้ผู้อ่านได้เรียนรู้ความเป็นมนุษย์ผ่านตัวละครสมมุติ และเปิดรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมไปพร้อมๆ กัน เหมือนกับการแอบใส่ผักลงในสมูทตี้แสนอร่อย ผู้อ่านจะได้รับประโยชน์โดยไม่รู้สึกว่าถูกยัดเยียดคำแนะนำแม้แต่น้อย 

จุดอ่อน 

อย่างไรก็ตาม นิยายก็มีข้อเสีย เพราะหลายเรื่อง ผู้แต่งมักใส่ความสวยงามจนเกินจริง ขึ้นอยู่กับระดับของนิยาย และผู้อ่านที่ผ่านหนังสือมาหลายเล่มอาจรู้สึกเบื่อเมื่ออ่านนิยายที่เดาทางตอนจบได้ง่าย ซึ่งถ้าเป็นแบบนั้นผู้อ่านจะรู้สึกเสียเวลามาก 

ระหว่าง \'นิยาย\' กับ \'หนังสือ\' พัฒนาตนเอง อ่านอะไรดี ?

ถึงตรงนี้สรุปได้ว่า การอ่านทั้งนิยายและหนังสือพัฒนาตัวเองนั้นเป็นสิ่งที่ดีทั้งคู่ การเลือกอ่านประเภทใดขึ้นอยู่กับว่าในขณะนั้นเราต้องการอะไร หากต้องการผ่อนคลายและพักสมอง การอ่านนิยายก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ถ้าต้องการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆ อาทิ การเงิน การลงทุน การเปลี่ยนนิสัย การอ่านหนังสือพัฒนาตัวเองก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง 

 

related