ชวนเปิดที่มา เพลง "นักเก็ตปลา" ความจริงแล้ว มันคือเพลงที่ระลึกถึง มีเรียม มาเกบา Makeba วีรสตรีผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิพลเมือง และทำให้โลกเห็นว่า ทุกคนต้องเท่าเทียมกัน
เพลงฮิต "นักเก็ตปลา" ในแอป TikTok ที่กลับมาร้อนแรง ดังทะลุลำโพงอีกครั้ง ในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา SPRiNG จึงอยากชวนเปิดที่มาของเพลงนี้ รู้หรือไม่ ? เพลงนี้เนื้อหาสาระที่เข้มข้นมาก เพราะเป็นการระลึกถึง Miriam Makeba มิเรียม มาเกบา นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองชาวแอฟริกาใต้
หากใครมีโทรศัพท์มือถือเป็นอวัยวะที่ 33 และชอบท่อง แอป TikTok คงเคยได้ยินเพลงที่ร้องว่า "นักเก็ตปลา" ...ฮู้ววววววนักเก็ตปลา นักเก็ตปลา นักเก็ตปลา กินป่ะล่ะ... นี่คือเนื้อเพลงที่ถูกแปลง ขึ้นเพื่อให้เกิดความขัน และให้คนจดจำกันได้ง่าย
แต่ในความจริงแล้ว เพลงๆนี้ ชื่อเพลงว่า "Makeba" ได้ปล่อยมาตั้งแต่ 2015 โดยศิลปิน Jeanne Louise Galice ศิลปินสาวชาวฝรั่งเศส (ณ เวลานี้ยอดวิวใน Youtube พุ่งทะยานไปถึง 243 ล้านวิวแล้ว)
Credit Youtube JAIN
โดย เพลง Makeba นี้ ที่จริงแล้วมีนัยความหมายสำคัญ นั่นก็ คือการรำลึกถึง Miriam Makeba มิเรียม มาเกบา วีรสตรีประวัติศาสตร์ของโลก และคำว่า Makeba (หรือที่คนใน Tiktok ไทยได้ยินเป็น "นักเก็ตปลา" นั้น) เป็นชื่อของ Miriam Makeba วีรสตรีผู้เป็นแรงบันดาลใจเป็นที่มาของเพลง Makeba นั่นเอง
• Miriam Makeba (มิเรียม มาเกบา) คือใคร ?
มิเรียม มาเกบา เป็น นักร้องที่มีเอกลักษณ์โดดเด่น และ เธอมีฉายาว่า Mama Africa , เธอเกิด 4 มีนาคม 1932 และ เสียชีวิตไปแล้ว 9 พฤษภาคม 2008
อีกด้านหนึ่งของชีวิต เธอคือนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิพลเมืองชาวแอฟริกาใต้ ที่ยืนหยัดเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมความยุติธรรม สิทธิ เสรีภาพของกลุ่มคนแอฟริกันที่ต่อสู้ให้ได้มาซึ่งความเสมอภาคเท่าเทียมกันในทุกๆส่วนของสังคม
ต่อต้านระบบแอฟริกาใต้ของการแบ่งแยกสีผิวต่อสู้เพื่อคานอำนาจของ “รัฐบาลคนขาว” จนทำให้รัฐบาลแอฟริกาใต้เพิกถอนสิทธิการเป็นพลเมืองและสิทธิของเธอ
ในช่วงในทศวรรษที่ 1960 , มาเกบา เคยได้รับรางวัลแกรมมี่ อวอร์ด นักร้องแอฟริกาใต้และกิจกรรมทางสิทธิมนุษยชน เธอเป็นศิลปินคนแรกที่มาจากแอฟริกา ผลงานของเธอโด่ดเด่นและแตกต่างทำให้เธอมีชื่อเสียงโด่งดังนอกจากนี้ยังส่งผลให้แนวดนตรีของแอฟริเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาและทั่วโลก
ผลงานของเธออย่างเพลง “พาต้าพาต้า (Pata Pata)” บันทึกเป็นครั้งแรกในปี 1957 และเปิดตัวในสหรัฐอเมริกาในปี 1967 หลังจากการสิ้นสุดของการแบ่งแยกสีผิว
มิเรียม มาเกบา (Miriam Makeba) เสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลว เมื่อปี 2008 ในการแสดงคอนเสิร์ตเพื่อสนับสนุน โรแบร์โต้ โซเวียโน่ นักเขียนชาวอิตาเลียนที่กำลังต่อสู้กับแก๊งมาเฟียในอิตาลี
มิเรียม ยังคงต่อสู้อย่างเด็ดเดี่ยวทำในสิ่งที่ถูกต้องและยึดถือความเป็นธรรมเสมอแม้กระทั่งการแสดงคอนเสิร์ตครั้งสุดท้ายในชีวิตของมาเกบา ซึ่งการออกมาเรียกร้องของเธอไม่ใช่ความเสมอภาคในดินแดนของเธอเองเท่านั้น แต่พลังของผู้หญิงคนนี้ ที่ชื่อ มาเกบา ยังส่งต่อไปยังทั่วโลกเพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่ว่าคุณจะเกิดที่ไหนผิวสีอะไร ทุกคนก็เป็นมนุษย์ เหมือนๆกัน
กรีดแขนให้เลือดออกมา ทุกคนก็มีเลือดสีแดง เหมือนกัน...นั่นแหละ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง