กองเชียร์ญี่ปุ่นได้สร้างความประทับไปด้วยโลกด้วยภาพเก็บขยะในสนามหลังจากแข่งขันฟุตบอลโลก เบื้องหลังจากความเชื่อและการปลูกฝังตั้งแต่ยังเด็กในเรื่องการรักษาความสะอาดที่ติดตัวไปด้วยทุกที่ที่ไปเยือน
ญี่ปุ่น ก็คือ ญี่ปุ่น กลายเป็นไวรัลเมื่อมีภาพกองเชียร์ญี่ปุ่นเดินถือถุงเก็บขยะหลังเกมการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2022 ที่ผ่านมา สร้างความประทับใจให้กับผู้ที่พบเห็นและคนทั่วโลกที่ติดตาม ถ้าถามว่าแปลกใจมั้ยหลายคนคงไม่เซอร์ไพร์ส แต่ถ้าตามว่าแล้วอะไรทำให้คนญี่ปุ่นถึงเป็นชาติที่เดินเก็บขยะที่ไม่ใช่ของตัวเองแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเกิดตัวเองหรือนอกประเทศก็ไม่เว้น พวกเขาปลูกฝังกันมายังไงถึงทำให้กลายเป็นคนที่รักษาความสะอาดตคงเส้นคงวาได้ขนาดนี้ อยากชวนมาหาคำตอบไปด้วยกัน
Tidying up after one of their greatest #FIFAWorldCup wins 👏
— FIFA World Cup (@FIFAWorldCup) November 24, 2022
Huge respect to these Japanese fans 🙌 #Qatar2022 pic.twitter.com/RVwLwykPeq
Sandra Gathmann นักข่าวจาก Al Jazeera ได้เข้าไปสัมภาษณ์แฟนบอลส่วนหนึ่งของทีมชาติญี่ปุ่น โดยพวกเขาให้คำตอบไว้ดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คอสตาริกา - ญี่ปุ่น พรีวิวฟุตบอลโลก 2022 เช็กความพร้อม ดูบอลสด 27 พ.ย. 17.00 น.
เยอรมนี - ญี่ปุ่น วิเคราะห์ฟุตบอลโลก 2022 นัดแรกอินทรีเหล็กจะโบยบินหรือไม่
โดยหนึ่งในจำนวนแฟนบอลฝั่งกองเชียร์ญี่ปุ่น พวกเขาจะเตรียมถุงพลาสติกวางไว้ตามที่นั่ง นั่นก็เพราะการรักษาความสะอาดเรียบร้อยนั่นเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่สำคัญที่ได้รับการสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆ ทั้งในครอบครัวและโรงเรียนให้รู้จักทำความสะอาดห้องเรียน ทางเดิน และห้องน้ำด้วยตัวเอง พึ่งพาตัวเองให้มากที่สุด ซึ่งนั่นก็ทำให้เด็กๆ ที่เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ได้รับการปลูกฝังเรื่องความสะอาดติดตัวมา
ซึ่งหนึ่งในจำนวนกองเชียร์ที่มาให้กำลังใจก็มีคุณพ่อและลูกชายมาร่วมด้วย จึงเป็นการสอนภาคปฏิบัติกันไปในตัว ซึ่งลูกชายเองเป็นคนเน้นย้ำให้พ่อช่วยกันเก็บกวาดขยะก่อนจะออกจากสนามด้วยตัวเอง
ข้อมูลจากเว็บไซต์ charliefeist.com ระบุว่า เหตุผลหนึ่งที่คนญี่ปุ่นในความสำคัญในเรื่องความสะอาดนั้น ส่วนหนึ่งมาจากหลักความเชื่อตามศาสนาชินโต (ชินโต: วิถีแห่งเทพเจ้า) ซึ่งเป็นศาสนาที่มีประชากรนับถือมากที่สุดของญี่ปุ่น
โดยมีคำสอนที่ว่าความชั่วร้ายเกี่ยวข้องเชี่ยมโยงกับความสกปรก ส่วนความดีนั้นเกี่ยวข้องกับความสะอาด
ถ้าจะให้สรุปความสัมพันธ์ของคนญี่ปุ่นและการรักษาความสะอาดเรียบร้อยแบ่งออกได้เป็น ดังนี้
1. ชาวญี่ปุ่นเรียนรู้ในเรื่องความรับผิดชอบตั้งแต่ยังเป็นเด็กหนึ่งในรายการสิ่งของใช้ในโรงเรียนที่เด็กญี่ปุ่นจะได้รับคือ zokin หรือผ้าเช็ดทำความสะอาด สำหรับใช้เช็ดถูหลังรับประทานอาหารกลางวัน โดยทุกคนต้องช่วยกันทำความสะอาด หรือที่เรียกว่า O-Soji ด้วยกันซึ่งถือเป็นหนึ่งในบทเรียนที่เด็กจะได้รับในการศึกษาเป็นการแสดงความเคารพและขอบคุณผ่านการทำความสะอาด ทำให้ส่งผลต่อความคิดและการกระทำในอนาคตของเด็กที่ได้รับการกวดขันเรื่องความสะอาดและความรับผิดชอบส่วนตัว คิดถึงประโยชน์ต่อส่วนร่วม
2. ที่ญี่ปุ่นไม่มีถังขยะสาธารณะ
นั่นก็เพราะชาวญี่ปุ่นถูกสอนในนำขยะที่สร้างขึ้นกลับไปทิ้งที่บ้าน ทั้งยังต้องแยกขยะเพื่อนำไปรีไซเคิลอย่างถูกต้อง
3. อิทธิพลจากศาสนา
กิจกรรมต่างๆ ในศาสนาโดยเฉพาะศาสนาพุทธให้ความสำคัญเกี่ยวกับความสะอาด เช่น ผู้ที่ต้องการเข้าไปสักการะในวัดต้องชำระล้างร่างกายและจิตใจให้บริสุทธิ์ก่อนเข้าไป นั่นจึงทำให้เรามักพบแอ่งน้ำ กระบวยตัก ที่หน้าศาลเจ้าเพื่อล้างมือและปากก่อนเข้าไป
4.ภัยธรรมชาติ
เนื่องจากอยู่ในบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อภัยธรรมชาติที่รุนแรงอยู่เป็นประจำ นั่นทำให้แนวคิดเรื่องการให้ความเคารพยำเกรงต่อธรรมชาติถูกปลูกฝังสืบทอดต่อกันมา
แต่อย่างไรก็ตามแน่นอนว่าไม่ใช่ชาวญี่ปุ่นทุกคนจะรักษาความสะอาดเท่ากันหมด ก็ยังมีขยะให้เห็นบางตามซอกมุม แต่ถือว่าโดยรวมแล้วเป็นประเทศที่ร่วมมือร่วมกันกันดูแลความเรียบร้อยของส่วนรวมให้สะอาดเสมอทั้งใน-นอกประเทศ หน้ากล้องหรือหลังกล้องก็ตาม แต่เมื่อมีภาพไวรัลส่งต่อกันยิ่งสร้างความประทับใจให้กับพวกเขามากขึ้น นับถือชื่นชมในความสะอาดที่ไม่ว่าจะอยุ่ที่ใดก็ติดตัวพวกเขาไปเสมอ
ข้อมูลเบื้องต้นของประเทศญี่ปุ่น
ดินแดนอาทิตย์อุทัย แห่งนี้มีลักษณะประเทศเป็นหมู่เกาะ รวมกันแล้วกว่า 6800 เกาะ ตั้งอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ทางตะวันออกสุดของโลก มีขนาดเล็กกว่าไทย 0.7 เท่า แต่มีประชากรมากกว่า 2 เท่า (ข้อมุลปี 2021 ระบุว่ามี 125,816,574 คน)
เฉพาะในกรุงโตเกียว คาดว่ามีประชากรอยู่อาศัยหนาแน่นมากกว่า 38,140,000 คน พื้นที่กว่า 73 ของประเทศญี่ปุ่นเป็นป่าไม้ เป็นประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรสูงมาก อัตราการเกิดต่ำลงตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปี มีจำนวนมากขึ้น
สัดส่วนคนที่นับศาสนากับคนที่ไม่นับถือศาสนาเลย มีความใกล้เคียงกันมาก ผลการสำรวจระบุว่าคนญี่ปุ่นนับถือพุทธชินโตมากที่สุด แต่มีการนำความเชื่อหลากหลายความคิดมาผสมกันเข้ากับชีวิตประจำวันผ่านการแสดงออกทางพิธีกรรมทางศาสนา
โดยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีวิวัฒนาการทางวัฒนธรรมอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคโจมง รวมถึงการรับอิทธิพลจากเอเชีย ยุโรปและอเมริกาเหนือมาผสมผสาน
ซูโม่เป็นกีฬาประจำชาติของญี่ปุ่น แต่หลังจากมีการก่อตั้งลีกฟุตบอลอาชีพของญี่ปุ่นในปี 2535 ทำให้กีฬาฟุตบอลในประเทศญี่ปุ่นก็เป็นที่นิยมมากขึ้น และเข้าร่วมฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย 7 ครั้ง โดยเข้าร่วมทุกครั้งตั้งแต่ฟุตบอลโลก 1998 ถึงฟุตบอลโลก 2022
เกาะต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ในเขตภูเขาไฟบนวงแหวนไฟแปซิฟิก ทำให้ประเทศญี่ปุ่นมีความเสี่ยงภัยธรรมชาติสูงมากเสมอ ตามดัชนีความเสี่ยงโลก world risk report 2022
ที่มา