เมื่อนักกีฬาใช้สนามเป็นกระบอกเสียงต่อต้านและแสดงจุดยืนทางการเมือง ส่งเสียงความคิดเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ยืนหยัดให้สิทธิมนุษยชนที่เท่าเทียม
คุณคิดว่าเราควรแยกการเมืองออกจากกีฬาหรือไม่? แต่เรื่องกีฬาไม่ได้มีเพียงแค่ผลการแข่งขัน มันยังรวมถึงเรื่องนอกสนามอีกมากมาย ที่ต้องติดตาม ทั้งเรื่องธุรกิจและเชี่ยมโยงประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นมมนุษย์ที่ผูกพันกับคนจำนวนมาก ที่ต่างมีความคิดและจุดยืนทางการเมืองที่หลากหลายภูมิหลังมารวมกัน การปะทะกันทางความเชื่อจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับในวงการอื่นๆ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิดเหตุผลทำไมเราถึงตามเชียร์กีฬา สโมสรที่รักได้โดยไม่เหน็ดเหนื่อย
กาตาร์ - เซเนกัล พรีวิวฟุตบอลโลก 2022 เช็กความพร้อมล่าสุด ดูบอลสด 20.00 น.
5 นักกีฬาหลายวงการที่เราคัดมานี้เป็นหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ที่ถูกบันทึกไว้ว่าเป็นผู้มีส่วนในการขับเคลื่อนความคิด ความเชื่อและจุดยืนให้กับสังคม มีดังนี้
Muhammad Ali (มูฮัมหมัด อาลี)
แต่เดิมใช้ชื่อว่า Cassius Marcellus Clay Jr. โดยเขาประกาศเปลี่ยนชื่อในปี 1964 และเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามอย่างเป็นทางการ และถือเป็นแถวหน้าของนักกีฬารุ่นแรกๆ ที่แสดงออกทางการเมืองอย่างเปิดเผยซึ่งเป็นผลมาจากจุดยืนทางศาสนาในฐานะมุสลิมผู้นับถือในอัลลอฮ์ ประโยคสำคัญที่กลายเป็นตำนานในช่วงสงครามเวียดนามที่ถูกจดจำมาจนถึงปัจจุบันคือ
“The real enemy of my people is here. I will not disgrace my religion, my people or myself by becoming a tool to enslave those who are fighting for their own justice, freedom and equality.”
“ศัตรูที่แท้จริงของประชาชนของฉันอยู่ที่นี่ ฉันจะไม่ทำให้ศาสนา ประชาชนของฉัน หรือตัวฉันเสื่อมเสียด้วยการตกเป็นเครื่องมือกดขี่ผู้ที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เสรีภาพ และความเสมอภาคของตนเอง”
ผลของการที่ยืดหยัดในความเชื่อทางศาสนาและจุดยืนเพื่อคนผิวสีในสหรัฐฯ ทำให้อาลีถูกปลดจากตำแหน่งรุ่นเฮฟวีเวต ในปี 1967 ต้องยื่นฎีกาหลังจากถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานเลี่ยงการเกณฑ์ทหาร ปรับ 10,000 ดอลลาร์ โทษจำคุก 5 ปี และห้ามเล่นกีฬามวยอีก 3 ปี ซึ่งศาลฎีกากลับคำตัดสินให้เขาพ้นผิดในที่สุดเมื่อปี 1971
เขาได้รับการยกย่องและเป็นหนึ่งในไอคอนที่ฉลาดในการใช้สื่อ ด้วยเสน่ห์และบุคลิกร่าเริง ทำให้ทุกครั้งที่เขาแสดงความคิดเห็นโต้เถียง และการเคลื่อนไหวทางการเมือง จะมีนักข่าวตามรายงามอย่างใกล้ชิด
Muhammad Ali (มูฮัมหมัด อาลี) เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2016 ในวัย 74 ปี
Kathrine Switzer (แคทเธอรีน สวิทเซอร์)
เธอเป็นนักวิ่งที่เข้าแข่งขันในรายการเมเจอร์มาราธอนที่สำคัญหนึ่งของโลกก็คือสนามแข่งที่เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยในปี 1967 นั้นยังเปิดให้เฉพาะนักวิ่งชายเข้าแข่งขัน แต่ Kathrine ถือได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎและเป็นผู้หญิงคนแรกที่เข้าร่วมการแข่งขันที่ยังจำกัดเฉพาะชายล้วนเท่านั้น
โดยเธอใช้ชื่อย่อเพื่อลงสมัครแทนชื่อเต็ม และเมื่อลงสนามวิ่งจริงก็เกิดเป็นภาพประวัติศาสตร์หนึ่งที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสังคมมาจนปัจจุบัน เมื่อ Jock Semple ผู้อำนวยการการแข่งขันพยายามดึงตัว Kathrine ออกจากการแข่งขัน แต่ถูกแฟนของเธอขวางไว้และดันเขาให้ออกห่างจากเธอจนสามารถวิ่งเข้าเส้นชัยได้สำเร็จ
หลังจากเหตุการณ์วันนั้น Kathrine ก็ยังคงรณรงค์เพื่อทำให้ผู้หญิงเข้าแข่งขันวิ่งมาราธอนเรื่อยมา จนในปี 1972 ผู้หญิงได้รับอนุญาตให้แข่งขันอย่างเป็นทางการ ปัจจุบัน Katherine Switzer วิ่งมาราธอนไปแล้ว 42 รายการ รวมถึง London Marathon ในปี 2018
Tommie Smith (ทอมมี่ สมิธ)
เป็นนักวิ่งผิวสีสัญชาติอเมริกันคนนี้ถูกจารึกที่คนแรกที่ทำสถิติโลกวิ่งในระยะ 200 เมตรได้ในเวลาต่ำกว่า 20 วินาที (19.83 วินาที) เขาได้เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1968 ที่เมืองเม็กซิโกซิตี้ โดยหนึ่งในช่วงเวลาสำคัญขณะที่อยู่บนแท่นรับรับเหรียญ เมื่อถึงช่วงเพลงชาติชักธงขึ้นเสา "The Star-Spangled Banner" ทั้ง Tommie Smith (ทอมมี่ สมิธ) และจอห์น คาร์ลอส 2 นักกีฬาชาวแอฟริกัน-อเมริกัน ได้ชูกำปั้นที่สวมถุงมือสีดำตลอดจนจบเพลง เพื่อแสดงออกทางการเมืองถึง สิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในคนผิวสี ที่สหรัฐฯ
By Angelo Cozzi (<a href="https://en.wikipedia.org/wiki/Arnoldo_Mondadori_Editore" class="extiw" title="en:Arnoldo Mondadori Editore">Mondadori Publishers</a>) - This file has been extracted from another file, Public Domain, Link
หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าว ทั้งสองคนถูกคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งสหรัฐอเมริกาสั่งพักงานและสั่งให้ออกจากเม็กซิโก โดยเหตุการณ์ในครั้งนี้นับว่าเป็นการแสดงออกทางการเมืองในเวทีกีฬาที่ชัดเจนครั้งหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์
Colin Kaepernick (โคลิน เคเปอร์นิก)
ควอเตอร์แบ็กของซานฟรานซิสโก โฟร์ตีไนเนอร์ส ผู้ทำให้เกิดการถกเถียงและประเด็นขัดแย้งในและนอกวงการกีฬากันอย่างกว้างขวางทั้งเห็นด้วยและยกย่องเปรียบเทียบได้กับการแสดงออกเช่นเดียวกับสมัย Muhammad Ali (มูฮัมหมัด อาลี) เหตุการณ์เกิดขึ้นในปี 2016 เมื่อเขาคุกเข่าแทนการยืนร้องเพลงชาติในช่วงต้นเกมอุ่นเครื่องระหว่างแมตช์ที่พบกับ Green Bay Packers หลังจบเกมเขากล่าวเพิ่มเติมว่า "ฉันจะไม่ยืนขึ้นเพื่อแสดงความภาคภูมิใจในธงชาติของประเทศที่กดขี่คนผิวดำและคนผิวสี"
#ColinKaepernick became a lightning rod for racial tension in the U.S. when he took a knee during the national anthem in 2016!
— FOX SOUL (@foxsoultv) November 17, 2022
Come learn about his lasting impact with an ALL NEW episode of #TheRising TONIGHT at 9p/6p PT only on FOX SOUL! pic.twitter.com/XhsbqjLdQ4
โดยในฤดูกาลแข่งขันเดียวกันนั้นเอง ก็ได้มีผู้เล่น NFL อีกหลายคนและในกีฬาอื่นๆ ที่ร่วมแสดงออกด้วยการคุกเข่าร่วมกันกับ Colin ตลอดปี 2016 หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวกลายเป็นข่าวดังและเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั่วสหรัฐฯ รวมถึงการแสดงความคิดเห็นของบารัก โอบามา และโดนัลด์ ทรัมป์
การแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2022 ที่ประเทศกาตาร์
เป็นครั้งแรกที่ฟุตบอลโลกจัดขึ้นในประเทศแถบตะวันออกกลางที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และมีกฎหมาย ประเพณีเคร่งครัด ซึ่งเจ้าภาพกาตาร์เองก็ถูกตั้งคำถามในเรื่องของสิทธิมนุษยชนอย่างหนักหน่วงตลอดช่วงเวลาการเตรียมงานโดยกฎหมายที่กีดกันคนรักเพศเดียวกันก็สร้างความไม่สบายใจให้กับทีมฟุตบอลหลายๆ ทีมที่กังวลถึงความปลอดภัยของกองเชียร์ที่จะขนกันมาให้กำลังใจพวกเขา
ก่อนการแข่งขันหลายๆ ประเทศก็ได้มีความเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องและแสดงจุดยืนด้านสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศยุโรป เช่น ปลอกแขน 'One Love' เพื่อเรียกร้องเรื่องสิทธิมนุษยชน และความเหลื่อมล้ำทางเพศของทีมชาติเยอรมันและอังกฤษ ซึ่งทางสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่าออกมาประกาศสกัดไม่ให้นักเตะสวมขณะแข่งขันและเพิ่มบทลงโทษ
The German side after they were not allowed to wear the One Love armband! 🇩🇪 😳#Germany #OneLoveband #FIFAWorldCup #Qatar2022 #GERJPN pic.twitter.com/eRw5aYnYf6
— Sportskeeda Football (@skworldfootball) November 23, 2022
จึงทำให้เมื่อวันที่ 23 พฤศจิการยนที่ผ่านมา ในแมตช์ระหว่างเยอรมนีและญี่ปุ่น ก่อนการแข่งขัน ทีมชาติเยอรมนีได้ทำท่ามือปิดปาก ระหว่างการถ่ายภาพทีม เพื่อเป็นการต่อต้านที่ถูกปฏิเสธไม่ให้สวมปลอกแขนแสดงจุดยืนในการเคารพความหลากหลาย การปิดปากจึงเป็นการแสดงออกถึงการถูกปิดกั้นและโดนปฏิเสธเสียงของพวกเขา
ที่มา