สัตว์ป่าในเมือง คือส่วนประกอบหนึ่งของระบบนิเวศที่เป็นตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตของมนุษย์ การอยู่ร่วมกันอย่างลดความขัดแย้งอาจเป็นทางออกเพื่อคงความหลากหลายของชีวภาพที่มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาตินี้ไม่ต่างจากสัตว์ต่างๆ
จากรณี สวนป่าเบญจกิติ ได้รับแจ้งว่าพบงูเหลือมยาวกว่า ประมาณ 2 เมตร ในบริเวณที่พบมีประชาชนเดิน เข้า-ออก และเป็นเส้นทางเดิน วิ่ง สัญจร ความกังวลนี้จึงทำให้ทางสวนต้องให้ทางเจ้าหน้าที่ รปภ. ช่วยกันจับเพื่อนำไปปล่อยไปที่เหมาะสม
ข้อมูลเบื้องต้น จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลล้อม พบว่า งูเหลือเป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทไม่มีพิษ และมีประโยชน์ต่อระบบนิเวศ ออกหากินกลางคืน กินสัตว์ขนาดเล็กอาศัยอยู่ได้ในป่าทุกประเภท ชอบอาศัยในที่ชื้น ในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาค ปัจจุบันถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 งูเป็นหนึ่งในห่วงโซ่อาหารที่เป็นกลไกในธรรมชาติทำให้ระบบนิเวศของเราสมดุลและแสดงถึงความความหลากหลายชีวภาพ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
iNaturalist แอปชวนออกไปสำรวจ-ค้นหา เปิดโลกความหลากหลายทางชีวภาพนอกบ้าน
"บางกอกวิทยา" แนวคิด เปลี่ยนกรุงเทพฯ เป็นห้องเรียนวิทย์ - นวัตกรรมเทคโนโลยี
แต่ความกังวลเรื่องจำนวนและความปลอดภัยของผู้ใช้งาน จึงทำให้ต้องทำการเคลื่อนย้ายออกไปจาก สวนป่า แห่งนี้ ซึ่งในกรณี สัตว์ป่าในเมือง (Urban Wildlife) เช่น นกพิราบ หนูท่อ หรือสัตว์พื้นถิ่นแต่ละภูมิภาค กลาเป็นข้อขัดแย้งในต่างประเทศด้วยเช่นกัน
จากข้อมูลของ urban wildlife group ได้ให้คำแนะนำที่เป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการหลีกเลี่ยงความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสัตว์ป่าที่สำคัญคือการลดการดึงดูดสัตว์ที่ไม่ต้องการ ดังนี้
การมีอยู่ของสัตว์ป่าในเมือง ไม่เพียงสะท้อนถึงความหลากหลายทางชีวภาพ แต่บ่งบอกได้ถึงคุณภาพชีวิตของสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์เราอาศัยอยู่ด้วย เช่น การมีแมลงปอในแหล่งน้ำ นั่นคือการแสดงว่ามีความใสสะอาดในเกณฑ์ดีอยู่
ข้อมูลจาก ngthai เผยว่า ในสมัยรัชกาลที่ 3 เคยมีบันทึกของชาวฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามากรุงสยาม เขียนไว้ว่าเคยมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุมและมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ทั้งยังเคยจระเข้ ช้าง กระเกรียน อีแร้ง เสือปลา นาก รวมทั้งชาวบ้านมีการล่ากวางเรื่อยมาจนถึงเมื่อ 50 ปีก่อน เมื่อเมืองขยายตัวทำให้สัตว์ต่างๆ หายไปเพราะสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย มลภาวะทางแสงและเสียง ถูกสัตว์อื่นรุกราน และสารเคมีที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม
นักวิชาการไทย รศ.ดร.ประทีป ด้วงแค อาจารย์ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ เองก็เคยออกมาให้สัมภาษณ์กรณีค้างคาวในเขตเมืองที่มักพบในบ้านร้างของกทม.และบริเวณพื้นที่ภาคกลางของไทย พบว่าส่วนใหญ่นั้นมักเป็นสายพันธุ์ปีกถุงเคราดำ ที่ไม่มีอันตราย โดยให้คำแนะนำว่า ถ้าเจอค้างคาว ไม่ต้องไปตีไปย้าย ต่างคนต่างอยู่
ปัจจุบันแพลตฟอร์ม iNaturalist เกิดขึ้นมาเพื่อรวบรวมความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัยต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งทาง กทม. ได้นำมาใช้ในแคมเปญ บางกอกวิทยา เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้สายพันธุ์สัตว์และพืชรอบๆ ตัว ผ่านข้อมูลที่มีการแบ่งปันกัน โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญ เข้ามาตรวจสอบอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งพบว่ามีสัตว์หลากหลายสปีชีส์ที่ถูกพบในกทม. ช่วงเวลาที่ผ่าน
ที่มา