svasdssvasds

รู้จัก อวนตามุ้ง กวาดลูกปลาได้ทั้งทะเล กรณีแก้พ.ร.ก.ประมง ม.69

รู้จัก อวนตามุ้ง กวาดลูกปลาได้ทั้งทะเล กรณีแก้พ.ร.ก.ประมง ม.69

ทะเลไทยจะเหลือแต่น้ำ? รู้จักอวนตามุ้ง อวนขนาดเล็กที่มีความสามารถในการกวาดปลาน้อยใหญ่ได้ทั้งทะเล ประมงพื้นบ้านคัดค้าน หากใช้เสรี อาจทำให้ทะเลไทยไร้ปลา

หลังจากการพิจารณาความเห็นชอบแก้ไขพ.ร.ก.ประมง พ.ศ. 2558 ได้ผ่านวาระ 3 โดยสมาชิกรัฐสภาได้ลงผลโหวต “เห็นด้วย” อนุญาตให้ใช้ข้อกฎหมายใหม่ “มาตรา 69 ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เครื่องมืออวนล้อมจับที่มีช่องตาอวนเล็กกว่าสองจุดห้าเซนติเมตรทำการประมงในเขตสิบสองไมล์ทะเลนับจากแนวชายฝั่งในเวลากลางคืน”

ซึ่งจากผลโหวตดังกล่าวที่เกิดขึ้นในสภา ทำให้กลุ่มประมงพื้นบ้านไม่พอใจ เนื่องจากการอนุญาตให้มีการใช้อวนตาถี่ ขนาด 2.5 ซม. ไม่ว่าจะช่วงเวลาใดก็ตาม จะส่งผลต่อปริมาณสัตว์น้ำเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาการจับสัตว์น้ำพลอยได้ (By-catch) ซึ่งอวนตาถี่ที่มีขนาดเล็กขนาดนี้ ไม่มีประเทศไหนเขาทำกัน

รู้จัก อวนตามุ้ง กวาดลูกปลาได้ทั้งทะเล กรณีแก้พ.ร.ก.ประมง ม.69

อวนตามุ้ง คืออะไร?

จากข้อความที่กำหนดในพ.ร.ก. “เครื่องมืออวนล้อมจับที่มีช่องตาอวนเล็กกว่าสองจุดห้าเซนติเมตร” นั่นหมายความว่า ความห่างของช่องว่างของอวน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “ตาอวน” จะมีขนาดเล็กมาก เท่ากับมุ้ง ที่เราใช้คลุมเตียงนอน (ชาวบ้านจึงเรียกว่า “อวนตามุ้ง”)

ตาอวนที่มีความถี่แบบนี้ จะส่งผลให้เวลาทำการประมง สัตว์น้ำวัยอ่อน หรือลูกสัตว์น้ำขนาดเล็ก ติดมากับอวนด้วย  หรือเรียกว่าจับสัตว์น้ำพลอยได้ (By-catch) ซึ่งหากใช้อวนที่มีตาห่างขึ้นไปหน่อย ก็จะมีช่องว่างเพียงพอให้สัตว์น้ำขนาดเล็กไม่ถูกจับ

ด้านซ้ายสุดเป็นอวนตามุ้ง ส่วนตาขวาเป็นอวนตาห่างที่ประมงพื้นบ้านใช้ ด้านซ้ายสุดเป็นอวนตามุ้ง ส่วนตาขวาเป็นอวนตาห่างที่ประมงพื้นบ้านใช้

อวนตาเท่ามุ้งมมีขนาดเล็กเท่านี้ อวนตาเท่ามุ้งมมีขนาดเล็กเท่านี้

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อเราใช้อวนตามุ้งจับสัตว์น้ำอย่างเสรี?

ส่วนใหญ่ ปริมาณปลาหรือสัตว์ทะเลที่คนไทยบริโภค มักจะมาจากเรือประมงพาณิชย์ หรือเรือขนาดใหญ่ ซึ่งมักใช้อวนขนาดใหญ่ในการกวาดล้อมปลาในทะเล และหากใช้อวนที่มีตาถี่ หรืออวนตามุ้งในทะเลไทย จะทำให้เราจับสัตว์น้ำที่อาจไม่ได้ใช้ประโยชน์ จับสัตว์น้ำวัยอ่อนติดอวนมาด้วย

เมื่อสัตว์น้ำวัยอ่อนถูกจับขึ้นมามากเกินไป จะส่งผลต่อระบบนิเวศในทะเลให้เปลี่ยนแปลง เช่น อัตราการเพิ่มประชากรปลาจะลดลง หากกฎดังกล่าว เน้นให้เกิดการจับประกระตัก นักวิชาการถามกลับว่า เรามีความจำเป็นในความต้องการประตักมากเพียงใด และหากจะเพิ่มอัตราการจับประกระตักซึ่งเป็นปลาขนาดเล็กอยู่แล้ว นั่นจะหมายถึงการแย่งอาหารวาฬในอ่าวไทยด้วยหรือไม่?

อวนตามุ้งที่นายปิยะนำไปแสดงหน้ารัฐสภา อวนตามุ้งที่นายปิยะนำไปแสดงหน้ารัฐสภา

นายปิยะ เทศแย้ม นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ผู้ได้เข้าไปอภิปรายในรัฐสภา ได้กล่าวในเฟซบุ๊กของตนว่า

“การใช้แสงไฟล่อสัตว์น้ำ แล้วใช้อวนตาถี่เท่ามุ้งล้อม ถ้าทะเลไม่วิบัติ  ก็ต้องเหลือแต่น้ำ

การที่สส. ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้ านร่วมลงมติ อนุญาตให้ใช้มุ้งจับสัตว์น้ำในทะเล แถมปั่นไฟแล้วล้อม นี่คือข่าวที่น่าตกใจสุด ในรอบปีนี้

กลุ่มเรืออวนล้อมกะตัก สามารถล้อมได้ ในเวลากลางวันได้อยู่แล้ว และถ้าจะทำประมงตอนกลางคืน เขาก็อนุญาต คือให้ใช้วิธี ครอบ   ช้อน ยก แต่พวกนี้กะเอาสัตว์น้ำ ให้หมดทะเล โดยใช้กลไกลสภาในการวางแผน”

“นี่ไม่ใช่การแย่งชิงสัตว์น้ำ ไม่ใช่การทะเลาะวิวาท แต่คือการตั้งกติกา ของสังคม ที่ต้องไม่ใช้เล่เหลี่ยมของสภา แต่ต้องใช้งานวิชาการ ปกป้องผลประโยชน์เพื่อคนส่วนมากของสังคม

ผมขอยืนยัน ด้วยประสบการณ์ ที่อยู่กับทะเล มาทั้งชีวิต การปั่นไฟแล้วล้อม ด้วยอวนถี่เท่ามุ้ง ทะเลจะเหลือแต่น้ำเปล่าๆ

รู้จัก อวนตามุ้ง กวาดลูกปลาได้ทั้งทะเล กรณีแก้พ.ร.ก.ประมง ม.69

ภาพบนคืออวนมุ้ง ที่จะทำลายทะเล สองภาพล่าง คืออดีต ที่ปลาทูชุกชม เห็นถึงรายได้ที่กระจาย

รู้จัก อวนตามุ้ง กวาดลูกปลาได้ทั้งทะเล กรณีแก้พ.ร.ก.ประมง ม.69

ให้คนหมู่มาก ภาพนี้จะไม่มีทางเกิดขึ้น อีก100% ถ้าอวนมุ้งถูกใช้อย่างเสรี และถ้าพี่น้องยังคงเงียบ เตรียมเปลี่ยนอาชีพไว้ด้วยครับ”

ข้อมูล จากการรวบรวมความเห็นนักวิชาการประมงและกลุ่มประมงพื้นบ้าน

related