SHORT CUT
เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ลุงทุน EEC คึกคัก ธุรกิจ BCG ตบเท้าลงทุน รับเทรนด์รักษ์โลก -สิ่งแวดล้อม เร่งปั้นเมืองรองรับลงใหม่บูม 5 คลัสเตอร์อุตสาหกรรม
การลงทุนไทยนาทีนี้ต้องหวังพึ่งพิงการลงทุนจากต่างชาติที่เข้ามายังพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่เนื้อหอมพอสมควร โดยโครงการดังกล่าวจะครอบคลุม 3 จังหวัด ที่ประกอบด้วย จังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา บนเนื้อที่กว่า 14,000 ไร่
พามาฟังความเคลื่อนไหวการลงทุนกับ..ดร.จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC เปิดเผยในงานสัมมนา POSTTODAY Thailand Smart City 2025 ปีที่ 3 จัดโดย โพสทูเดย์ ร่วมกับ สปริงนิวส์ และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ว่า โครงการดังกล่าวต้องการให้ไทยมีเขตเศรษฐกิจมาเป็นจุดขาย เนื่องจากหลายประเทศทำเขตเศรษฐกิจ และประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ซึ่งหากเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ทำแล้วประสบความสำเร็จจะใช้เป็นโมเดลในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษอื่นๆ ทั้งประเทศต่อไป
ทั้งนี้ข้อดีการส่งเสริมการลงทุนที่อีอีซี จะเป็นผู้เจรจากับนักลงทุนโดยตรง คือ ข้อได้เปรียบด้าน กฎหมาย และการขออนุญาตซึ่ง ตาม พ.ร.บ. ของอีอีซี นั้น ดูแลกฎหมายที่เกี่ยวกับการลงทุนในพื้นที่ 14 ฉบับ เมื่อเจรจาเสร็จแล้ว นักลงทุนจะเริ่มก่อสร้าง อีอีซี สามารถอนุมัติ อนุญาตได้ทันที เช่น การขออนุญาตก่อสร้าง การขออนุญาตใช้น้ำ-ไฟ เป็นต้น ทำให้การลงทุนทำได้รวดเร็ว ในส่วนนี้จะช่วยเสริมให้มีเม็ดเงิน เข้ามาลงทุนได้รวดเร็วขึ้น
อย่างไรก็ตามรูปแบบของการพัฒนาจะเป็นนิคมสีเขียวดึงลงทุน BCG โครงสร้างพื้นฐานเพียบพร้อม มีสปอร์ต คอมเพล็กซ์" คาดว่าจะทำ PPP โครงการปี2568 โดยคาดประชากรเมืองใหม่จะอยู่ที่ประมาณ 3 แสนคน ใน 10 ปี โดยทั้งหมด คือ นโยบายและเป้าหมายสำคัญของรัฐบาล หนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และความสามารถแข่งขันระยะยาวให้ประเทศไทย ที่ผ่านมาตัวเลขลงทุนทางตรง (FDI)
เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการลงทุนจึงมีการเตรียมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในพื้นที่อีอีซีทั้ง 4 โครงการ มีกำหนดเปิดให้บริการปี 2571-2572 โดยโจทย์ใหญ่ของ EEC มีดังนี้
ทั้งนี้ได้วางอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ไว้ 12 อุตสาหกรรม 5 กลุ่มดังนี้
1.การแพทย์ และสุขภาพ
2.ดิจิทัล
3.อุตสาหกรรมสีเขียว BCG
4.ยานยนต์
5.ภาคบริการ
นอกจากจะเน้นเรื่องการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายแล้ว ที่ผ่านมาอีอีซียังพยายามผลักดันการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อใช้เป็นประตูสู่อีอีซี อำนวยความสะดวกนักลงทุนและนักท่องเที่ยวเข้ามายังพื้นที่ 3 จังหวัดในอีอีซี โดยโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานปัจจุบันได้เริ่มก่อสร้าง และมีบางส่วนที่ยังอยู่ระหว่างทำแผนเตรียมก่อสร้าง ประกอบด้วย ท่าเรือมาบตาพุด, ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3, โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
“เมืองอัจฉริยะของอีอีซี จะยังมีโครงการของเอกชนเพื่อพัฒนาเมืองการบิน ให้เป็นพื้นที่ให้คนเข้ามาจับจ่ายใช้สอย เป็นเมืองปลอดภาษี โดยสนามบินอู่ตะเภานั้นมีแผนพัฒนาให้เป็นสนามบินกระตุ้นการเดินทางและจับจ่ายใช้สอยของคนทุกกลุ่ม คล้ายกับสนามบินชางงีสิงคโปร์ แต่จะพัฒนารองรับกิจกรรมบันเทิง ประเภทคอนเสิร์ตและสนามแข่งรถ F1 เพื่อให้นักท่องเที่ยวมาใช้จ่ายในพื้นที่นี้ด้วย”
อย่างไรก็ตามได้วางคอนเซ็ปต์ของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ EEC Capital city จะมุ่งเน้น 3 เรื่องคือ Smart – Green – sustainable โดยปัจจุบันกำลังทำคอนเซ็ปต์พัฒนาเมืองนี้อยู่ ซึ่งคาดว่าคนที่จะเข้ามาอยู่อาศัย ส่วนใหญ่จะเป็นคนต่างชาติ และเทรนด์ทั่วโลกในตอนนี้ต้องสร้างเมืองอัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นคอนเซ็ปต์ในเบื้องต้นอีอีซีจะสร้างพื้นที่สีเขียว แหล่งน้ำ สวนสาธารณะและพื้นที่ส่วนกลางที่เป็นธรรมชาติราว 30% ของพื้นที่ทั้งหมด เพื่อเป็นปอดของอีอีซี มีแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติ
ทั้งนี้พื่อตอบโจทย์สมาร์ทซิตี้ จะนำเอาระบบบริหารจัดการ AI มาพัฒนาเพื่อเก็บข้อมูลของเมืองนี้ สร้างเป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลที่สามารถนำไปต่อยอดการพัฒนาในอนาคต รวมไปถึงการพัฒนาระบบรีไซเคิล การบริหารจัดการน้ำ สร้างพื้นที่ชุ่มน้ำ เพื่อให้มีสัตว์เข้ามาอยู่เป็นสิ่งแวดล้อม ซึ่งคอนเซ็ปต์การสร้างเมืองอัจฉริยะ EEC Capital city คาดว่าจะเริ่มเห็นในปี 2030 ดังนั้นจะตอบโจทย์เรื่อง Net Zero ในปี 2050
สุดท้าย ดร.จุฬา กล่าวต่อว่า ขณะนี้อีอีซีกำลังจัดเตรียมทำโครงการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน (พีพีพี) เพื่อดูแลระบบสาธารณูปโภคในเมือง EEC Capital city ทั้งหมด เพื่อให้ธีมของ Net zero เดินไปได้ และต้องการสร้างมาตรฐานเมืองสีเขียวในพื้นที่นี้ ซึ่งนี่คือโปรเจกต์ที่ทุกคนทั่วโลกจะได้ยินอยู่บ่อยครั้งในช่วงหลังจากนี้ ซึ่งเชื่อว่าจะดึงความน่าสนใจของอีอีซี ความน่าสนใจของประเทศไทย ให้เป็นที่อยู่อาศัยของคนเข้ามาทำงานในประเทศต่อไป
เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นับว่าเป็นอีกหนึ่งเมกะโปรเจกต์ ที่รัฐบาลหมายมั่นปั้นมือจะใช้ดึงดูดการลงทุน เพราะปัจจุบันมีนักลงทุนที่รอการลงทุนโดยจะขอการส่งเสริมการลงทุนจากอีอีซี ประมาณ 30 ราย วงเงินลงทุนรวมกัน 2.1 แสนล้านบาท ซึ่งกว่าครึ่งหรือกว่า 1 แสนล้านบาท ส่วนโครงการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม BCG
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รู้จัก! ระบบบำบัดน้ำบาดาล "นาโนไฮบริดเมมเบรน" รับ BCG สู่ความยั่งยืน
เปิดแผนลุยขยายผล “นาเปียกสลับแห้ง”ขับเคลื่อน BCG ลดการปล่อยก๊าซมีเทน!
'ของเสียไม่เสียของ Waste to Value' เปลี่ยนขยะให้มูลค่า เดินหน้าเศรษฐกิจ BCG