คอลัมน์ Keep The World พาพาไปดู 5 เมืองที่ประกาศตัวว่าเป็น car-free cities หรือเมืองปลอดรถยนต์ บทความนี้จะพาไปดูว่าพวกเขาใช้มาตรการอะไร และเมืองดีขึ้นอย่างไร
มลพิษในเมืองหลวงถือโจทย์ใหญ่ที่หลายเมืองกำลังหาทางแก้ไขกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นมลพิษจากยานพาหนะ ไซต์ก่อสร้าง หรือแม้แต่ฝุ่นควันที่พัดลอยมาจากการเผาไหม้ ซึ่งข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) ระบุว่า มลพิษทางอากาศเหล่านี้คร่าชีวิตผู้คนราว 7 ล้านคนทั่วโลก
และสำหรับมลพิษที่เกิดจากยานพาหนะ ข้อมูลจาก ระบุว่า ยานพาหนะส่วนบุคคลปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่อากาศกว่า 4.6 เมตริกตันคาร์บอนต่อปี ขณะที่สำนักสิ่งแวดล้อมแห่งยุโรป ระบุว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวน 1 ใน 4 ของทวีปยุโรป มีต้นกำเนิดมาจากภาคการขนส่งทางถนน
ด้วยเหตุฉะนี้ เพื่อรับรองอากาศสะอาดในลมหายใจของประชาชน หลายเมืองทั่วโลกจึงประกาศห้ามไม่ให้รถยนต์วิ่งเข้าไปในเขตพื้นที่ใจกลางเมือง และหันไปพัฒนาระบบขนส่งมวลชนให้มีประสิทธิภาพ ออกมาตรการชักจูงประชาชนให้หันมาปั่นจักรยาน พร้อมทั้งเสิร์ฟนโยบายขึ้นรถไฟฟ้า-ใต้ดินฟรี
วันนี้ SPRiNG ชวนผู้อ่านลัดเลาะไปดู 5 เมือง ที่ประกาศว่าเป็น car-free cities พวกเขามีนโยบาย หรือมาตรการอะไรบ้าง เผื่อว่าจะสามารถนำมาเรียนรู้ และส่งเสียงไปถึงผู้มีอำนาจในการรื้อสร้างเมืองใหม่ให้เป็นมิตรต่อทั้งคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมมากกว่าที่เป็นอยู่
เมืองแห่งนี้มีประชากรอยู่ราว 4.2 เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่สวยวิจิตรราวกับภาพวาด คุณเคยคุ้นหูคุ้นตาเมืองนี้บ้างหรือเปล่า แล้วถ้าบอกว่านี่คือเมืองที่ถูกใช้เป็นฉากในการถ่ายทำ Game of Thrones หนึ่งในซีรีส์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลกล่ะ
บริเวณรอบ ๆ เมืองจะมีกำแพงรอบล้อมอยู่ ซึ่งเป็นเขตที่รถยนต์ไม่ได้อนุญาตให้เข้าไป หากจะเข้าไปคือต้องจอดรถไว้เขตนอกเมือง เมืองนี้ประสบปัญหานี้อย่างมากในช่วงไฮซีซันที่คนแห่กันมาท่องเที่ยวเพื่อตามรอยซีรีส์ และมีข่าวคราวว่าเร็ว ๆ นี้ ดูโบรฟนิกจะแบนรถยนต์แบบ 100%
เมืองเกนต์ (Ghent) มีประชากรอยู่ราว 4.7 แสนคน นครแห่งนี้ได้กำหนดเขตปลอดรถยนต์ หรือ car-free zones เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดบริเวณใจกลางเมือง ซึ่งกฎนี้ถูกบังคับใช้มาตั้งแต่ปี 1997
นอกจากนี้ เมืองเกนต์ยังเข้าร่วมโปรเจกต์วันอาทิตย์ปลอดรถยนต์ หรือ car-free Sundays และสำหรับเขตที่อยู่บริเวณนอบนอกของเมืองรถยนต์ดีเซลจะถูกเก็บค่าธรรมเนียม ‘สกปรก’(dirty) ส่วนรถยนต์ไฟฟ้าสามารถวิ่งได้ฟรี
ปัจจุบัน เกนต์กลายเป็นเมืองที่ผู้คนสามารถเดินเล่น ปั่นจักรยาน หรือนั่งจิบกาแฟใต้ร่มไม้ได้อย่างเพลิดเพลิน บนเนื้อที่ใจกลางเมืองกว่า 35 เอเคอร์
Zermatt คือเมืองเล็ก ๆ แต่อุดมไปด้วยความสะอาด และรสชาติแห่งความโรแมนติก เมืองแห่งนี้มีประชากรอยู่เพียง 5.7 พันคน กฎของเมืองนี้อยู่ว่ารถยนต์ส่วนตัวห้ามเข้า หากคุณเดินทางมาจากเมืองอื่น คุณต้องจอดรถไว้ที่เมืองก่อนหน้าอย่าง แทช (Täsch) แล้วนั่งรถไฟเข้ามาเท่านั้น
เซอร์แมทคือหนึ่งในจุดหมายปลายทางของบรรดานักปีนเขา และคนที่หลงรักการเล่นสกี เนื่องจากเป็นเมืองที่ถูกห้อมล้อมไปด้วยเทือกเขาแอลป์ (Alph) และมีรีสอร์ทสวยงามมากมาย จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่มีคำจำนวนมากหลั่งไหลไปจำนวนมาก และถ้าไม่มีการควบคุม มลพิษน่าจะเฟื่องมากเลยทีเดียว
อย่างไรก็ดี เซอร์แมทถือเป็นเมืองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร เพราะมีมาตรการด้านความยั่งยืนหลายเรื่อง ยกตัวอย่างเช่น ใช้พลังงานหมุนเวียน รีไซเคิลพลาสติกไปทำถนน รถบัสและรถแท็กซี่ไฟฟ้า เป็นต้น
เมืองนี้มีฉายาว่าปอดแห่งยุโรป ออสโลมีประชากรอยู่อาศัยราว 8.1 แสนคน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ออสโลได้ดำเนินมาตรการเปลี่ยนพื้นที่บริเวณใจกลางเมืองให้เป็นเขตปลอดรถยนต์ และเปลี่ยนที่จอดรถในห้าง หรือตามพื้นที่ต่าง ๆ ให้เป็นที่จอดจักรยาน 100%
และเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ออสโลได้ปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะ สร้างเลนส์จักรยานให้ละเอียดยิ่งขึ้น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ ไม่มีมลพิษควันดำจากรถยนต์ เมืองสวยสะอาดตา สวนสาธารณะ สนามเด็กเล่นคึกคักขึ้นเรื่อย ๆ
เมืองหลวงแห่งจักรยานแห่งนี้มีประชากรอาศัยอยู่ราว 8 แสนคน ผู้คนในเมืองนี้ชื่นชอบปั่นจักรยานเป็นชีวิตจิตใจ และทางอัมสเตอร์ดัมได้ก่อสร้างเลนส์จักรยานไว้ทั่วเมือง ระยะทางกว่า 600 ไมล์
มาตรการอำนวยความสะดวกที่อัมสเตอร์ดัมเตรียมไว้ให้กับประชาชนคือ รถไฟฟ้าใต้ดินเปิดตลอด 24 ชม. ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ และเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 12 ปี ขึ้นฟรี แม้จะไม่ได้แบนรถแบบ 100% แต่มีประชากรแค่ 1 ใน 4 เท่านั้น ที่ยังใช้รถอยู่ และในปี 2030 อัมสเตอร์ดัมตั้งเป้าแบนรถยนต์สันดาปแบบ 100%
ที่มา: The Dubrovnik Times, EU, outlooktraveller
ข่าวที่เกี่ยวข้อง