svasdssvasds

คลองชองกเยชอน ก่อนน้ำจะใสแจ๋ว เคยเหม็นเน่ามาก่อน เหมือนคลองช่องนนทรีเป๊ะ!

คลองชองกเยชอน ก่อนน้ำจะใสแจ๋ว เคยเหม็นเน่ามาก่อน เหมือนคลองช่องนนทรีเป๊ะ!

คลองชองกเยชอน ก่อนน้ำจะใสแจ๋ว เคยเหม็นเน่ามาก่อน เหมือนคลองช่องนนทรีเป๊ะ! คลองชองกเยชอน ก่อนน้ำจะใสแจ๋ว เคยเหม็นเน่ามาก่อน เหมือนคลองช่องนนทรีเป๊ะ!

จากกรณีที่ประชาชนร้องเรียนคุณภาพน้ำ และกลิ่นรบกวนจากคลองช่องนนทรีนั้นเป็นเพราะว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมากรุงเทพมหานครมีความจำเป็นต้องลดระดับน้ำตามคลองสายหลักต่าง ๆ รวมถึงคลองช่องนนทรีให้อยู่ในระดับต่ำ

เพื่อเตรียมรองรับน้ำฝน ป้องกันปัญหาน้ำท่วมบริเวณดังกล่าวและพื้นที่ใกล้เคียง เนื่องจากประกาศแจ้งเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาเรื่องร่องมรสุมทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักหลายพื้นที่รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

แต่อย่างไรตาม ประชาชน และผู้ประกอบการในพื้นที่มีการร้องเรียนว่าคลองช่องนนทรีขาดการดูแล และบำรุงรักษาคลองช่องนนทรี เรื่อยไปจนถึงสวนสาธารณะที่เกลื่อนไปด้วยขยะ เน่าเฟะเฉกเช่น คลองกเยชอนในอดีตเมื่อหลายร้อยปีที่แล้ว

SPRiNG พาไปดูแผนการฟลิกพื้น “คลองกเยชอน” จากแหล่งน้ำเน่าเสีย เกาหลีใต้ทำยังไงในการเปลี่ยนคลองน้ำเน่าให้กลายเป็นแลนด์มาร์คยอดนิยมแห่งหนึ่งของประเทศ

“ลีมยองบัค” จากผู้ว่าฯ กรุงโซล สู่ ปธน. โสมขาว

ลีมยองบัค คือผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของโครงการฟื้นฟูคลองชองกเยชอน โดยขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการโซล ผลงานการพลิกฟื้นคลองเน่าใจกลางกรุงโซลให้เป็นแลนด์มาร์คใหม่ของเมือง หรืออาจพูดได้ว่าของประเทศ

คลองชองกเยชอน ก่อนน้ำจะใสแจ๋ว เคยเหม็นเน่ามาก่อน เหมือนคลองช่องนนทรีเป๊ะ!

ความสำเร็จของโครงการนี้ส่งความนิยมให้ลีมยองบัคบนเวทีการเลือกตั้งประธานาธิบดีของเกาหลีใต้ จนกระทั่งในปี 2007 เขาชนะการเลือกตั้ง และดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 10 ของแดนโสมขาว และได้ฉายาว่า “รถแทรกเตอร์” (Bulldozer) หมายถึงสไตล์การทำงานแบบถูกลูกถึงคน และเห็นผลลัพธ์เป็นรูปธรรม

ดังนั้น สามารถพูดได้เต็มปากว่า “คลองกเยชอน” คือผลงานชิ้นโบว์แดงของ “ลีมยองบัค”

ทุบถนน-ทางยกระดับ ลงมือขุดคลอง

โครงการพลิกฟื้นคลองชองกเยชอนนั้นยุ่งยาก และมีความซับซ้อนในกระบวนการ เนื่องจากเหนือคลองชองกเยชอนมีถนน และมีทางยกระดับที่ใช้มายาวนานกว่า 30 ปี

ย้อนกลับไปในช่วงทศวรรษ 1990s สภาวิศวกรโยธาเกาหลีประเมินว่าโครงสร้างถนน-ทางยกระดับเสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ และเสี่ยงทรุดเข้าสักวัน ในเบื้องต้นจึงผุดแผนซ่อมแซมโครงสร้างในปี 2000-2001 กรุงโซลจึงเริ่มกระบวนการซ่อมแซมทางยกระดับ-ถนนไปแบบถั่วสุกงาไหม้

คลองชองกเยชอน ก่อนน้ำจะใสแจ๋ว เคยเหม็นเน่ามาก่อน เหมือนคลองช่องนนทรีเป๊ะ!

หากมองในมิติสังคม และเศรษฐกิจ ต้องบอกว่าสภาพเศรษฐกิจกรุงโซลในช่วงนั้นเริ่มซบเซา ภูมิทัศน์ที่เสื่อมโทรม ผนวกกับคุณภาพชีวิตของประชาชนเริ่มถดถอย ผู้คน ผู้ประกอบการ รวมถึงธุรกิจเล็ก-ใหญ่ เริ่มทยอยย้ายออก

ว่ากันว่าในปี 2000 จำนวนธุรกิจใจกลางกรุงโซลลดลงเหลือแค่ 77,000 ราย จากที่เคยมีมากถึง 100,200 รายในปี 1991 ด้วยเหตุผลที่ว่ามานี้ ในปี 2002 กรุงโซลภายใต้การบริหารของลีมยองบัคจึงประกาศเริ่มต้นโปรเจกต์บูรณะคลองกเยชอง และสั่งทุบถนน-ทางยกระดับทันที

ลีมยองบัคเคยเล่าว่าตนต้องยื่นหนังสือขออนุญาตปรับปรุงคลองกเยชอนไปยังภาครัฐเป็นพัน ๆ ฉบับ เพราะต้องรื้อทางยกระดับ ถนน สะพาน ตึกร้าง ซึ่งใช้งบประมาณมหาศาล เป็นเงินทั้งสิ้น 3.8 แสนล้านวอน หรือประมาณ 993 ล้านบาท

เวลาผ่านไปจนกระทั่งปี 2005 โครงการพลิกฟื้นคลองกเยชอนสำเร็จ ใช้เวลาทั้งสิ้น 27 เดือน ลีมยองบัคมิวายถูกกร่นด่าจากประชาชน บ้างว่าไร้ประโยชน์ หรือบอกว่าเขาแค่ผลาญเงินภาษีของประชาชนเล่น ๆ เท่านั้น

ขุดคลองลึก 3 ระดับ ไว้รองรับน้ำท่วมกรุงโซลในทุก ๆ 200 ปี

คลองกเยชอนมีความยาว 11 กิโลเมตร ไหลผ่านกรุงโซลก่อนลงสู่แม่น้ำฮันกัง ทอดยาวผ่านสะพาน 22 แห่ง จากถนนหลักถึงท้องคลองวัดความลึกได้ 7 เมตร ระดับน้ำลึกแค่ครึ่งแข้ง มีก้อนหินวางเรียงไว้ สามารถเดินข้ามไปมาได้

ในแง่การออกแบบคลองแห่งนี้ไม่ได้ถูกก่อสร้างเป็นเส้นตรงเฉกเช่นรูปแบบคลองปกติ ทว่า ถูกสร้างเป็นรูปเกลียวคลื่น มีบันได 3 ระดับ พื้นที่ว่างด้านข้างมีไว้ให้ประชาชนเดินเล่นเสพบรรยากาศ ดังนั้น ในช่วงเทศกาลต่าง ๆ คลองกเยชอนจะถูกตกแต่งไปตามธีมของเทศกาล กลายเป็นแหล่งยอดนิยมแห่งหนึ่งของประชาชนชาวเกาหลีใต้

คลองชองกเยชอน ก่อนน้ำจะใสแจ๋ว เคยเหม็นเน่ามาก่อน เหมือนคลองช่องนนทรีเป๊ะ!

สำหรับสาเหตุที่ออกแบบให้คลองกเยชอนมีความลึก 3 ระดับ กรุงโซลให้เหตุผลว่าใช้ป้องกันน้ำท่วม กรุงโซลคาดการณ์ว่าจะเกิดน้ำท่วมในทุก ๆ 200 ปี โดยอ้างอิงจากการคาดการณ์การเกิดน้ำท่วมทุก ๆ 50 ปี ในคลองชั้นสองอื่น ๆ ของเมือง

กรุงโซลจึงออกแบบคลองให้มีความจุเพียงพอในการรองรับฝนตกหนักดังที่เห็นในภาพ พร้อมทั้งขุดพื้นที่ภายใต้ตลิ่งทั้งสองฝั่งคลองเพื่อเป็นช่องทางระบายน้ำที่มีความจุเพียงพอเพื่อความปลอดภัยของประชาชน

ดังนั้น ไม่ว่าน้ำในคลองกเยชอนจะท่วมสูงเพียงใดก็ไม่กระทบกับการใช้ชีวิตของประชาชนอย่างแน่นอน เว้นเสียแต่ว่าน้ำท่วมหนักจนน้ำระบายไม่ทัน แล้วท่วมสูงขึ้นไปถึงถนนหลัก ซึ่งต้องบอกว่าเหตุการณ์เช่นนั้นยังไม่เคยเกิดขึ้น

ใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบกล่องคู่ เปลี่ยนน้ำเน่าเสียเป็นน้ำคลองใสแจ๋ว

เนื่องจากมีท่อระบายน้ำเสียจำนวนมากถูกฝังอยู่ใกล้เคียงกับคลองกเยชอน หากจะปรับปรุงคุณภาพน้ำกรุงโซลต้องเริ่มแก้ไขจากจุดนี้ก่อน

ทางกรุงโซลจึงใช้ระบบบำบัดน้ำเสียแบบกล่องคู่ หรือ double-box system หลักการทำงานคือน้ำเสียจะถูกบำบัดในระบบรวบรวม เนื่องจากฝนแรกที่ตกมีความสกปรกสูง จึงถูกนำไปบำบัดที่ระบบบำบัดน้ำเสีย โดยไม่ไหลลงสู่คลอง

คลองชองกเยชอน ก่อนน้ำจะใสแจ๋ว เคยเหม็นเน่ามาก่อน เหมือนคลองช่องนนทรีเป๊ะ!

นอกจากนี้ จะมีการรักษาระดับน้ำให้มีความลึก 40 เซนติเมตร ตลอดปี โดยจะมีการผันน้ำจากแม่น้ำฮัน น้ำใต้ดิน และน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว และคุณภาพน้ำของคลองกเยชอนก็สะอาดปลอดภัย เพราะกำหนดให้มีค่า Biochemical Oxygen Demand ไม่เกิน 3 มิลลิกรัม/ลิตร

เพิ่มพื้นที่สีเขียวชุบชูใจ

หลังโครงการสร้างคลองกเยชอนเสร็จสิ้น ภาพลักษณ์ของกรุงโซลเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง จากเดิมที่เคยเป็นเมืองแออัด ฝุ่นหนา อากาศไม่ดี เศรษฐกิจรกร้าง พอมีคลองสาธารณะแห่งนี้เกิดขึ้นสังคมเกาหลีใต้ก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

คลองชองกเยชอน ก่อนน้ำจะใสแจ๋ว เคยเหม็นเน่ามาก่อน เหมือนคลองช่องนนทรีเป๊ะ!

การจราจรไม่หนาแน่น ประชาชนสัญจรด้วยรถไฟใต้ดินกันมากว่าใช้รถส่วนตัว คุณภาพอากาศดีขึ้น ฝุ่นพิษ PM 2.5 ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ส่วนระบบนิเวศก็ดีขึ้นตามไปด้วย มีการปลูกต้นไม้เรียงยาวตลอดคลอง เป็นที่อยู่อาศัยของนก แมลง และพืชนานาชนิด

ไม่ทิ้งเวลานาน คลองกเยชอนก็กลายเป็นจุดหมายปลายทางของชาวเกาหลีใต้ ผู้คนออกมาใช้เวลานอกบ้านมากขึ้น รวมถึงมีการปลูกสร้างจิตสำนึกสาธารณะไปในตัว เพราะผู้คนไม่อยากให้คลองแห่งนี้วนลูปกลับไปสู่จุดเดิมอีก

ต้นแบบแรงบันดาลใจสู่คลองช่องนนทรี

โปรเจกต์เนรมิตคลองช่องนนทรีเกิดขึ้นในยุคของ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งใน 5 โครงการนำร่องของแคมเปญ‘Regenerative Bangkok ฟื้นเมือง เชื่อมย่าน สานอนาคต’

คลองชองกเยชอน ก่อนน้ำจะใสแจ๋ว เคยเหม็นเน่ามาก่อน เหมือนคลองช่องนนทรีเป๊ะ!

คลองช่องนนทรีมีความยาว 4.5 กิโลเมตร เชื่อมโยงผู้คน 3 เขต ได้แก่ บางรัก สาทร และยานนาวา ทอดยาวเรียบถนนสุรวงศ์เรื่อยไปจนถึงถนนพระราม 3

โดย 7 ข้อดีที่ ร้อยตำรวจเอก พงศกร ขวัญเมือง อดีตโฆษก กทม. ลิต์ไว้มี 7 ข้อ ดังนี้

  1. เป็นแก้มลิงของเมือง

เนื่องจากโครงสร้างริมคลองเดิมเป็นเขื่อนคอนกรีต เมื่อมีฝนตกลงมาน้ำจะไหลลงคลองได้น้อยเพราะติดโครงสร้างที่เป็นคอนกรีต ดังนั้น จึงแก้ไขด้วยการลดระดับเขื่อนคอนกรีตลง เพื่อสร้างตลิ่งธรรมชาติเพื่อให้น้ำไหลลงคลองได้ดีขึ้น 

  1. สร้างระบบระบายน้ำ

มีการสร้างท่อระบายน้ำใต้คลองเพื่อรองรับน้ำเสีย และเพิ่ม Rain Garden ช่วยชะลอความแรงของน้ำก่อนไหลลงคลอง

  1. ปรับปรุงโครงข่ายการจัดการน้ำฝนและน้ำเสีย 

มีระบบบำบัดน้ำเสียจากบ้านเรือนไม่ให้ไหลลงคลอง จะถูกนำมาบำบัดจนกลายเป็นน้ำดีเพื่อนำกลับสู่คลองและแยกส่วนที่เป็นน้ำเสียให้ไหลลงท่อระบายน้ำเสียต่อไป 

  1. เพิ่ม Recreation Space แบบชานบ้านไทย เพื่อเพิ่มพื้นที่ทำกิจกรรมในรูปแบบชานบ้านไทยริมคลอง และแพริมคลอง 
  2. เชื่อมเมือง เป็นการเชื่อม 2 ฝั่งคลองให้เดินทางได้ง่ายขึ้น ด้วยการเพิ่มสะพานข้ามคลองเป็นจุดเชื่อมต่อกับทางม้าลายและสถานีBTS ซึ่งเป็นแนวราบ สะดวกกับทุกคนด้วยการออกแบบด้วย Universal Design
  3. ไม่ดาดท้องคลอง คงสภาพท้องคลองไว้ตามธรรมชาติเพื่อรักษาระบบนิเวศ
  4. เชื่อมย่านธุรกิจใจกลางเมือง ด้วยทางเดินริมน้ำที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้ตลอดริมคลอง และรองรับเส้นทางสำหรับขนส่งมวลชนในอนาคตที่อาจเปลี่ยนแปลงและเพิ่มขึ้นได้อย่างลงตัว

ทั้งนี้ คลองช่องนนทรีเปิดให้ประชาชนใช้งานเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2564 ผ่านเวลามาร่วม 3 ปี ไฉนคลองช่องนนทรีถึงกลายสภาพเป็นแหล่งน้ำเสียอีกครั้ง ประชาชนจำนวนมากออกมาร้องเรียนปัญหาน้ำเน่าเสีย หึ่งกลิ่นเหม็นเน่า

เบื้องต้น กทม. เร่งไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี โดยผันน้ำจากคลองสาทรเข้าสู่คลองช่องนนทรี และระบายออกไปยังคลองหัวลำโพงเก่า และระบายน้ำจากคลองสาทรไหลเข้าสู่คลองช่องนนทรีแล้วระบายออกลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้น และแก้ปัญหากลิ่นรบกวน

ในระยะยาว กทม. เตรียมผลักดันน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงควบคุมคุณภาพน้ำช่องนนทรี ปล่อยสู่ช่องนนทรีเพื่อช่วยปริมาณน้ำในคลอง ซึ่งคาดการณ์ว่าจะเริ่มดำเนินการภายในเดือน ต.ค. นี้

จาก “คลองกเยชอน” สู่ “คลองช่องนนทรี” คุณคิดว่าคลองแลนด์มาร์กของกทม.แห่งนี้จะวนลูปไปสู่สภาพเดิม ๆ หรือไม่?

related