svasdssvasds

แฟชั่นรักษ์โลก! เสื้อผ้าหนังเทียมทำจากเปลือกกุ้ง ช่วยลดมลพิษและขยะอาหาร

แฟชั่นรักษ์โลก! เสื้อผ้าหนังเทียมทำจากเปลือกกุ้ง ช่วยลดมลพิษและขยะอาหาร

วงการแฟชั่นตอนนี้หลายแบรนด์ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เริ่มถอยห่างจาก Fast Fashion โดยนำ Waste มาใช้ผลิตเสื้อผ้ามากขึ้น อย่างใน London fashion week ที่ผ่านมาแบรนด์ Di Petsa โชว์นวัตกรรมนำเศษอาหาร อย่าง เปลือกกุ้งมาทำเสื้อหนัง กางเกงหนัง เพื่อช่วยลดขยะอาหาร

London fashion week ที่ผ่านมาแฟชั่นโชว์ของแบรนด์ Di Petsa สร้างความตื่นตาตื่นใจด้วยวัสดุใหม่ในการทำชุดหนัง ซึ่งทำมาจากขยะอาหารอย่าง เปลือกกุ้งและเห็ด

เครดิต : Dezeen

จากขยะอาหารสู่วัสดุในอุตสาหกรรมแฟชั่น 

ในอุตสาหกรรมสิ่งทอโพลีเอสเตอร์และไนลอนเป็นปัจจัยหลักของอุตสาหกรรมซึ่งทำมาจากน้ำมันเป็นแกนหลัก ซึ่งเป็นแหล่งของมลพิษจากไมโครพลาสติก ในแต่ละปีอุตสาหกรรมแฟชั่นและผู้ผลิตเครื่องแต่งกายทั่วโลกปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่าการบินและการขนส่งรวมกัน โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติประมาณการว่าภายในปี 2593 อุตสาหกรรมแฟชั่นอาจใช้งบประมาณด้านคาร์บอนถึง 1 ใน 4 ของโลก

TômTex ผู้พัฒนาวัสดุชีวภาพร่วมมือกับ Peter Do ดีไซเนอร์แฟชั่นจากนิวยอร์กเพื่อสร้างลุค 2 ลุคสำหรับคอลเลกชันฤดูใบไม้ผลิ/ฤดูร้อน 2023 เสื้อผ้าคอลเลกชันนี้สร้างจากผ้าใยชีวภาพชนิดไม่ทอแบบใหม่ของ TômTex ซึ่งเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ 100 เปอร์เซ็นต์ ได้มาจากเศษอาหารกุ้งและเห็ดซึ่งมีรูปลักษณ์และสัมผัสเหมือนกับหนัง

เครดิต : Tontex

เครดิต : Dezeen

ชุดหนังทำจากขยะอาหาร

วัสดุทางเลือกที่ใช้ทดแทนหนังสัตว์ในคอลเลกชันนี้ TômTex ทำจากไคโตซาน ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของไบโอโพลีเมอร์ ซึ่งเป็นโพลีเมอร์ชนิดหนึ่งที่ผลิตโดยแหล่งธรรมชาติ นั่นคือไคติน บริษัททำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ในเวียดนามเพื่อรวบรวมขยะเปลือกหอยและเห็ดเพื่อนำมาสกัดไบโอโพลีเมอร์ไคโตซาน

ผู้ผลิตได้กล่าวว่า น่าทึ่งมากที่ได้เห็นว่าวัสดุทางเลือกเก็บรายละเอียดได้ทั้งหมด ดูเผินๆ หนังกุ้งไม่ได้ดูแตกต่างไปจากหนังสัตว์อื่นๆ ที่ใช้ผลิตเสื้อผ้าเลย มันให้ความรู้สึกเหมือนจริงเช่นกัน แถมเนื้อผ้าหนังเทียมก็ไม่มีกลิ่นฉุนเหมือนหนังวัว และก็ไม่ได้มีกลิ่นของอาหารทะเลด้วย

แฟชั่นรักษ์โลก! เสื้อผ้าหนังเทียมทำจากเปลือกกุ้ง ช่วยลดมลพิษและขยะอาหาร

ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมแฟชั่นเป็นเรื่องเร่งด่วน

การค้นหาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกลายเป็นเรื่องเร่งด่วนมากขึ้น โดยในแต่ละปีสิ่งทอประมาณ 92 ล้านตันต้องถูกฝังกลบ และการซักรีดเพียงอย่างเดียวก็มีส่วนทำให้ไมโครพลาสติกจำนวนครึ่งล้านตันถูกปล่อยลงสู่มหาสมุทร

วิกฤตสภาพภูมิอากาศขยายขอบเขตไปไกลกว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไปสู่วงจรชีวิตของวัสดุ ตัวอย่างเช่น จำนวนของไมโครพลาสติกที่เพิ่มมากขึ้น 

"การทำให้แน่ใจว่าวัสดุของเราสามารถกลับคืนสู่วัฏจักรชีวเคมีของโลกเป็นส่วนสำคัญในการลดการปล่อยมลพิษและแสดงความรับผิดชอบต่อโลก" ผู้ผลิตกล่าว