svasdssvasds

หมวกเซฟตี้ ทำจากเปลือกหอยเชลล์ แข็งแรง ทนทาน ช่วยลดขยะจากอุตสาหกรรมประมง

หมวกเซฟตี้ ทำจากเปลือกหอยเชลล์ แข็งแรง ทนทาน ช่วยลดขยะจากอุตสาหกรรมประมง

หอยเชลล์จากเกาะฮอกไกโดทางตอนเหนือของญี่ปุ่นถือเป็นแหล่งหอยเชลล์ที่ดีที่สุดในโลก โดยอุตสาหกรรมประมงหอยเชลล์ของที่นี้สร้างรายได้เป็นอย่างมาก แต่ก็มาพร้อมปริมาณขยะจากการประมง อย่างเปลือกหอยเชลล์ที่ถูกทิ้งหลายหมื่นตันเลยทีเดียว

เกาะฮอกไกโดมีขยะจากการประมง อย่างเปลือกหอยซึ่งถูกทิ้งถึง 40,000 ตันในพื้นที่ และอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนในดินได้หากปล่อยทิ้งไว้

เครดิต : Dieline

จากเปลือกหอยเชลล์สู่หมวกเซฟตี้

บริษัท TBWA\Hakuhodo และ Koushi Chemical Industry ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ใช้เปลือกหอยเชลล์ที่ถูกทิ้งเป็นขยะจากการประมง โดยอัพไซเคิลเป็นหมวกเซฟตี้ที่มีความทนทานพอที่จะปกป้องศีรษะและช่วยลดของเสีย และปกป้องสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น หมวกเซฟตี้นี้เรียกว่า “Shellmet” เป็นหมวกเซฟตี้ที่ใช้งานได้หลายแบบ เช่น เป็นหมวกกันน็อคจักรยาน

หมวกเซฟตี้ ทำจากเปลือกหอยเชลล์ แข็งแรง ทนทาน ช่วยลดขยะจากอุตสาหกรรมประมง

ขั้นตอนการทำหมวกเซฟตี้รักษ์โลก

ขั้นตอนการทำหมวกเซฟตี้รักษ์โลกนั้น เริ่มจากทำความสะอาดเปลือกหอยเชลล์และแปรรูป จากนั้นนำมารวมกับพลาสติกรีไซเคิลเพื่อสร้างวัสดุที่เรียกว่า "Shellstic" ทำให้มีความแข็งแกร่งกว่าวัสดุทั่วไปถึง 30% เนื่องจากเปลือกหอยเชลล์ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นหลัก ซึ่งให้ความแข็งแกร่งและความทนทาน  

“หอยเชลล์เป็นหอยที่คนญี่ปุ่นกินกันมากที่สุด และยังเป็นหอยที่ก่อให้เกิดขยะมากที่สุดอีกด้วย จึงได้มีการนำเปลือกหอยเชลล์มาสร้างประโยชน์และทำให้ได้วัสดุใหม่ๆ และยั่งยืนมากขึ้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาขยะในมหาสมุทรและปกป้องอุตสาหกรรมประมง” มาซาโตชิ อุซามิ ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของ TBWA\Hakuhodo กล่าว  

สร้างวัสดุใหม่ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การนำของเสียจากอุตสาหกรรมหอยเชลล์มาใช้ใหม่ ทำให้ได้วัสดุที่ทนทานและมีคุณสมบัติด้านความยั่งยืน ขณะเดียวกันก็ลดความต้องการพลาสติกบริสุทธิ์  วัสดุ Shellstic ยังเป็นทางเลือกพลาสติกที่ได้รับแรงบันดาลใจจากทะเลอีกด้วย และยังมีตัวอย่างอื่นๆ อีกของวัสดุที่ทำจากมหาสมุทร ได้แก่ วัสดุที่ทำจากเปลือกกุ้งล็อบสเตอร์ เศษปลา และสาหร่ายทะเล

 

ที่มา : Dieline

 

เนื้อหาทีน่าสนใจ :