พามาดู “อุทยานอเมซอน” แห่งแรกในไทย ศูนย์เรียนรู้ธุรกิจกาแฟครบจร สิ่งแวดล้อม สังคม จะได้อะไร? ดันลำปาง แลนด์มาร์กท่องเที่ยว สร้างงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร
การทำธุรกิจยุคนี้ ผู้ประกอบการต้องคำนึงหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น สังคม สิ่งแวดล้อม การกำกับดูแล หรือว่าที่เรียกกันติดปากกันว่า ESG โดยเฉพาะเรื่อง Environment หรือสิ่งแวดล้อมเป็นหลักเกณฑ์ที่คำนึงถึงในด้านความรับผิดชอบของบริษัทต่อสิ่งแวดล้อม Social เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้วัดว่าบริษัทมีการจัดการความสัมพันธ์และมีการสื่อสาร กับ ลูกจ้าง ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยแนวคิด ESG จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ธุรกิจ จากบทบาทความรับผิดชอบของธุรกิจที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสีย และการนำเสนอผลการดำเนินงานในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
เชื่อว่า ESG ทุกบริษัทเริ่มทำกันอย่างเข้มข้นมากขึ้น โดยเฉพาะบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องเร่งทำตามมกฎ กติกา โลก เกมธุรกิจที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว วันนี้ #สปริงนิวส์ จะพามาดูโมเดลใหม่ของบริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR) หนึ่งในบริษัทที่เดินหน้าเรื่อง ESG อย่างต่อเนื่อง
โดยล่าสุด “ดิษทัต ปันยารชุน” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ โออาร์ (OR) เล่าให้ฟังว่า เตรียมสร้างศูนย์เรียนรู้ธุรกิจกาแฟครบวงจรแห่งแรกของไทย หรือ อุทยานอเมซอน (Amazon Park) ‘อเมซอน ปาร์ค ลำปาง’ บนพื้นที่ 615 ไร่ อีกทั้งดินหน้าวิจัย พัฒนาสายพันธุ์กาแฟที่ดีที่สุด เพื่อสร้างมาตรฐานให้เมล็ดกาแฟไทย ผักดันลำปางให้เป็นแลนด์มาร์กท่องเที่ยว สร้างงาน พัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ
ทั้งนี้อุทยานอเมซอน คือ หนึ่งในแผนการขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทาง SDG in Action เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้ธุรกิจ รวมทั้งการดูแลพันธมิตรภายในห่วงโซ่ธุรกิจให้สามารถเติบโตไปด้วยกัน สำหรับ
โดย อเมซอน ปาร์ค ลำปาง จะเข้ามาเสริมเติมเต็มให้ระบบนิเวศธุรกิจกาแฟของคาเฟ่ อเมซอน ของ ORให้มีแข็งแกร่งยิ่งขึ้นไป ทำให้ต้นน้ำให้แข็งแรงและยั่งยืนมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อปลายน้ำ ซึ่งมีร้านกาแฟคาเฟ่ อเมซอน กว่า 4,000 สาขาทั่วประเทศจะมีความยั่งยืนกันเป็นลูกโซ่ รวมถึงกลางน้ำ ได้มีการพัฒนาโรงคั่ว และระบบแวร์เฮ้าส์อัจฉริยะ ในการคั่วเมล็ดกาแฟ รวมถึงการจัดการระบบขนส่งที่ดี
สำหรับโครงการ Amazon Park จะพัฒนาเป็น 1 เฟส ซึ่งเฟสละ 300 ไร่ ซึ่งเฟสแรกจะเริ่มในปี 2567 ขณะนี้บริษัทได้ปรับปรุงพื้นที่และขุดบ่อน้ำเพื่อใช้ในการเพาะปลูกกาแฟ คาดว่าจะเปิดอย่างเป็นทางการเพื่อให้ประชาชนเข้ามาท่องเที่ยวเยี่ยมชมได้ภายใน 3-5 ปีข้างหน้า
“สาเหตุที่เลือกลำปาง เพราะเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ และ OR มีคลังอยู่ที่ลำปาง มีพื้นที่เอง 600 ไร่ ทำโครงการ Amazon Park เพื่อพัฒนา วิจัยและเพาะพันธุ์กาแฟ นับเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของลำปาง ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยว ยกระดับเศรษฐกิจเมืองรอง อีกทั้งยังเป็นสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในท้องถิ่น อีกด้วย” นายดิษทัต กล่าว
พร้อมกันนี้ยัง คาหวังว่า Amazon Park จะช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตกาแฟในไทยเพิ่มขึ้นอีก 2,000 ตันต่อปี และยังสามารถทำคาร์บอนเครดิตได้ด้วย จากปัจจุบันทยมีความต้องการบริโภคเมล็ดกาแฟมากถึง 80,000 ตันต่อปี แต่ไทยมีกำลังผลิตเมล็ดกาแฟเพียง 20,000 ตันต่อปี โดยคาเฟ่ อเมซอนที่ถือว่าเป็นผู้บริโภคเมล็ดกาแฟรายใหญ่มีความต้องการมากถึง 6,000 ตันต่อปี
อุทยานอเมซอน” แห่งแรกในไทย สิ่งแวดล้อม สังคม ได้อะไรมากมายจากสิ่งนี้ เชื่อว่าโมเดลดังกล่าวจะเป็นกรณีศึกษาให้แบรนด์อื่นๆ ได้เกิดไอเดีย ESG ต่อไป เพื่อโลกที่น่าอยู่ เพื่อสังคมที่ยั่งยืน !
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ESG คือ ไลเซนส์ ที่ทุกธุรกิจ Sustainability ต้องมี เมื่อโลกการค้าเปลี่ยนไป
ต้นแบบธุรกิจรักษ์โลก ชวนรู้จัก 3 บริษัทใหญ่ใช้หลัก ESG นำธุรกิจ