ได้รับข่าวเศร้าไปแล้ว ! ว่าจะมีการค่าไฟขึ้นปี’67 กกพ. ประกาศค่าเอฟที 89.55 สตางค์ต่อหน่วย ค่าไฟเฉลี่ยอยู่ที่ 4.68 บาทต่อหน่วย มีผลงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 ทำให้หลายคนคิดว่าถึงเวลา..พลังงานทางเลือก คือ พลังงานทางรอด ในยุคนี้แล้ว
ได้รับข่าวร้ายไปแล้ว ! เมื่อ…ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) มีมติรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) และมีมติเห็นชอบให้ปรับค่าเอฟทีขายปลีก สำหรับเรียกเก็บในงวดเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 เท่ากับ 89.55 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 69.07 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บของผู้ใช้ไฟฟ้าทุกประเภทเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.68 บาทต่อหน่วย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
เรื่องค่าไฟขึ้นปี’67 นับว่าเป็นข่าวร้ายมากๆ สำหรับประชาชน และภาคธุรกิจอย่างมาก ที่เพิ่งดีใจได้ไม่นานหลังรัฐประกาศลดค่าไฟฟ้าไปเมื่อเร็วๆนี้ แต่…ในเมื่อทำอะไรไม่ได้ หนทางรับมือค่าไฟขึ้น ค่าไฟแพง คือ ต้องหันมาใช้พลังงานทางเลือก หรือพลังงานทดแทน ซึ่งหนทางในอนาคตพลังงานทางเลือก จะกลายเป็น พลังงานทางรอด ที่ผู้คนโหยหายเพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน และลดค่าไฟฟ้าให้ถูกลง
ประเด็นเรื่องค่าไฟขึ้น ค่าแพง เป็นประเด็นที่มีการพูดถึงมากในขณะนี้ ล่าสุดมีการจัดงานเสวนา KTC FIT Talks ครั้งที่ 10 ในหัวข้อ "ถึงเวลาพลังงานทางเลือก เป็นพลังงานทางรอด" เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน โดยเชิญตัวแทนภาครัฐและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทน ร่วมเปิดมุมมองต่อพลังงานทางเลือก แนวโน้มของการใช้งานรถพลังงานไฟฟ้าและโซลาร์เซลล์ในประเทศไทย รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงพลังงานทางเลือกในระดับครัวเรือน และสิทธิพิเศษเพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายสมาชิกบัตรเครดิตและผู้บริโภค
โดย “นายวัชรินทร์ บุญฤทธิ์” ผู้อำนวยการกองพัฒนาพลังงานแสงอาทิตย์ กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงพลังงาน ได้นำพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ ในสัดส่วนประมาณ 15% ของพลังงานไฟฟ้า และพยายามเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนให้มากขึ้น ส่วนภาคเอกชนก็พยายามใช้พลังงานทดแทนด้วยการติดโซลาร์ รูฟท็อป เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย ซึ่งมีข้อดี คือ ช่วยสิ่งแวดล้อม ช่วยลดต้นทุน
ทั้งนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุนการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561-2580 (AEDP 2018) โดยกำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนที่ร้อยละ 30 ภายในปี พ.ศ. 2580 และมุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาพลังงานทดแทน ทั้งในส่วนของพลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน และเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง ซึ่งขับเคลื่อนผ่านมาตรการต่างๆ
ด้านนายสุวัฒน์ เทพปรีชาสกุล ผู้บริหารสูงสุด ฝ่ายการตลาดบัตรเครดิต "เคทีซี" หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า เคทีซีตระหนักและให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจภายใต้ ESG หรือแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืนมาตลอด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือเรื่องของการร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับสังคมไทยเพื่อส่งต่อให้กับคนรุ่นหลัง และพลังงานทางเลือกจากธรรมชาติกำลังเป็นความจำเป็นที่เข้ามาทดแทนพลังงานแบบเดิม เราจึงพยายามวางแผนกลยุทธ์การตลาดต่างๆ เพื่อร่วมขับเคลื่อนให้คนไทยและสมาชิกบัตรเครดิตเคทีซีที่สนใจเรื่องของพลังงานทดแทน สามารถเข้าถึงและจับต้องได้
อย่างไรก็ตามในงานเสววนายังมีการเผยยอดจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าในไทย ปี2566 มีสูงขึ้นถึง 57,000 คัน จากปัจจัยบวก คนหันใช้รถ EV เพื่อรักษ์โลกมากขึ้น ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สถานนีชาร์ทที่มีมากขึ้น รวมถึงรัฐเร่งส่งเสริมจึงคนมีความมั่นใจมากขึ้น แถมใช้รถ EV ช่วยประหยัดเงินเติมน้ำมันลดลงถึง 5 เท่า การบำรุงรักษาน้อยกว่ารถที่ใช้น้ำมัน อีกทั้งยังมีข้อดี คือ การนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ ทำให้คนใช้งานสะดวกสบาย ส่วนการโซลาร์ รูฟท็อป เทรนด์ในไทยขณะนี้ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะเป็นการผลิตไฟฟ้าที่ต้นทุนต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน
ค่าไฟขึ้นปี’67 นับว่าเป็นปีความท้าทายวงการพลังงานไทย และชีวิตความเป็นอยู่ผู้คน ดังนั้นเชื่อได้ว่า ปี’67 พลังงานทางเลือก จะกลายเป็น พลังงานทางรอด !!!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พารู้จัก! ถังหมักก๊าซชีวภาพ "สุดดี" ผลิตพลังงานทดแทนก๊าซหุงต้มได้
“อ้อย” บทบาท พืชพลังงานทดแทน แต่...การลักลอบเผาก็ทำให้เกิด PM 2.5 มหาศาล
TGO เผยสถานการณ์ตลาดคาร์บอนเครดิต โครงการพัฒนาพลังงานทดแทนมาแรง