ปัจจุบันองค์กรต่างๆ ทั่วโลกต่างประกาศเป้าหมายในการบรรลุ Net Zero เพื่อช่วยลดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก โดยการลดปริมาณปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการปฎิบัติการ การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้ยั่งยืนเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งหากองค์กรต้องการบรรลุเป้าหมาย Net Zero
บริษัท ซีเมนส์ จำกัด บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่มุ่งมั่นพัฒนาในด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เทคโนโลยีระบบอัตโนมัติ และการจัดการด้วยระบบดิจิทัล มีการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
สุปรียา มกรามณี, ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน, บริษัท ซีเมนส์ จำกัด อธิบายและเผยเส้นทางสู่ห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืนขององค์กร (Sustainable Supply Chain) ดังนี้
ขอบเขตและความท้าทายของการทำให้ห่วงโซ่อุปทานขององค์กรมีความยั่งยืน
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มีความยั่งยืน อธิบายอย่างง่ายคือ การลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน หรือทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ตั้งแต่ต้นน้ำ (Upstream) จนถึงปลายน้ำ (Downstream) ครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Product Life Cycle) ตั้งแต่
นอกเหนือจากนั้นยังต้องครอบคลุมทุก Scope ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้ง Scope 1, Scope 2 และ Scope 3 โดย
Scope 1 หมายถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากกิจกรรมขององค์กรโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเครื่องจักร และการใช้พาหนะขององค์กร
Scope 2 หมายถึงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทางอ้อมจากการใช้พลังงานขององค์กร เช่น การใช้ไฟฟ้า และ
Scope 3 ซึ่งเป็นส่วนที่ท้าท้ายที่สุดในการมุ่งสู่ Net Zero Supply Chain ได้แก่ การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทางอ้อม จากกิจกรรมที่ไม่ได้เกิดขึ้นโดยตรงภายในองค์กร แต่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของผู้เกี่ยวข้องในการปฎิบัติการ อาทิ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเดินทางมาทำงานของพนักงาน จากกิจกรรมของคู่ค้าทางธุรกิจ ซัพพลายเออร์ และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับองค์กร
จากการวิเคราะห์ข้อมูลของบริษัทขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยปี 2565 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากบริษัทขนาดใหญ่ในไทย จำนวนถึง 58% มาจาก Scope 3 โดยสถิตินี้สอดคล้องกับข้อมูลจาก World Economic Forum (WEF) ที่แสดงว่าหลายอุตสาหกรรมมีสัดส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจาก Scope 3 อยู่ในระดับสูงถึง 60-90%
มุมมองและแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานให้มีความยั่งยืนที่ซีเมนส์
ซีเมนส์มีเป้าหมายในการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนแบบ 360 องศา ซึ่งรวมถึงเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2573 (2030) โดยมีกรอบการทำงานหรือเฟรมเวิร์กที่เรียกว่า DEGREE เป็นแนวทางในการดำเนินการด้านความยั่งยืนโดยมีการกําหนดเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ที่ชัดเจนวัดผลได้
ในส่วนของการจัดการห่วงโซ่อุปทานขององค์กรให้มีความยั่งยืนนั้นเป็นหัวข้อที่มีความท้าทายเนื่องจากซีเมนส์มีคู่ค้าอยู่ใน 145 ประเทศทั่วโลก ด้วยจำนวนคู่ค้าที่มากและยังมีความหลากหลาย หัวข้อที่มีความท้าทายในลำดับต้นๆคือการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องโดยเฉพาะข้อมูลรายละเอียดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของคู่ค้า ซัพพลายเออร์รวมไปถึงมาตรฐานของข้อมูล (Accounting Standards) ซึ่งต้องได้การรับรองความถูกต้องของข้อมูลจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ
ด้วยความท้าทายด้านข้อมูลข้างต้น ซีเมนส์ได้ทำการสำรวจกับซัพพลายเออร์มากกว่า 10,000 ราย ในช่วงปี 2018-2019 เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในปัจจุบัน ณ ขณะนั้นรวมไปถึงแผนการในอนาคต และได้ริ่เริ่มโครงการ Carbon Reduction@Suppliers โดยมีเป้าหมายในการสนับสนุนซัพพลายเออร์ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างเป็นระบบได้มาตรฐาน โดยหนึ่งในกิจกรรมสำคัญคือการพัฒนาแพลตฟอร์ม Carbon Web Assessment* ซึ่งเป็นโมเดลในการคำนวณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ส่งมาจากซัพพลายเออร์ของเรา
โดยซัพพลายเออร์สามารถลงทะเบียนบนแพลตฟอร์ม Carbon Web Assessment และปฎิบัติตามคำแนะนำ ในคู่มือการจัดการการลดคาร์บอน ซึ่งมีเนื้อหาที่ครอบคลุมเกี่ยวกับการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์รวมไปถึงเครื่องมือที่ใช้ ช่วยให้ซัพพลายเออร์ของเราเข้าใจบริบทและสามารถระบุกิจกรรมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มีนัยสำคัญต่อองค์กร นำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในส่วนของซีเมนส์เองก็จะสามารถอัปเดต Carbon Footprint ด้วยข้อมูลจริงที่ได้รับจากซัพพลายเออร์ และวางแผนดำเนินการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร่วมกันในลำดับถัดไป โดยในคู่มือการจัดการการลดคาร์บอนเบื้องต้นนี้ไม่เพียงแต่เปิดเผยต่อซัพพลายเออร์ของซีเมนส์เท่านั้น แต่สามารถเข้าถึงได้โดยผู้สนใจทั่วไป เป็นการเผยแพร่ความรู้เพื่อขยายผลในวงกว้าง
ความก้าวหน้าด้านความยั่งยืนของซีเมนส์ ปี 2566
ซีเมนส์ถูกจัดอยู่ใน Top 1% ของ S&P Global ESG Score ในปี 2023 จาก 7,800 บริษัทที่ได้รับการประเมิน ในปีงบประมาณ 2566 ของบริษัทฯ ซีเมนส์ยังคงมุ่งหน้าเดินทางสู่เป้าหมายความยั่งยืนแบบ 360 องศา โดยความคืบหน้าหลักในปี 2566 อาทิ
รายละเอียดความก้าวหน้าของตัวชี้วัดความยั่งยืนด้านอื่นๆ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ รายงานความยั่งยืนประจำปี 2566 ของบริษัทฯ การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน ทั้งทางด้านสภาพภูมิอากาศ ทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน ต้องอาศัยการทุ่มเทอย่างจริงจังจากทุกภาคส่วน โดยภาคธุรกิจมีบทบาทสำคัญไม่เพียงแค่ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ยังสามารถมีส่วนร่วมในสร้างสรรค์นวัตกรรม ช่วยผลักดันและแบ่งปันความรู้ เพื่อเร่งสร้างความอย่างยืนในวงกว้างอย่างเป็นรูปธรรม