รู้จักวิสาหกิจเพื่อสังคม “เบตเทอร์ฟลาย” (Betterfly) ธุรกิจแลกเศษขยะอาหารเพื่อนำมาเลี้ยงหนอนแมลงวัน เพื่อไปเป็นปุ๋ยธรรมชาติและอาหารสัตว์โปรตีนสูง วนกลับมาเป็นอาหารมนุษย์อีกครั้ง
ขยะอาหารถือเป็นปัญหาหลักของการจัดการขยะในไทย เนื่องจากการเทรวมขยะอาหารร่วมกับขยนะประเภทอื่นๆ จนทำให้ขยะทั้งกองเน่าเหม็น จะนำไปรีไซเคิลก็ยากลำบาก หรือจะเอาไปเผาสร้างพลังงาน เศษอาหารเหล่านี้ก็มีความชื้นสูง ทำให้เผาเอาพลังงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ชุมชนบนเกาะสีชังกำลังแก้ปัญหาขยะอาหารนี้อย่างแข็งขันด้วยวิสาหกิจเพื่อสังคม “เบตเทอร์ฟลาย” (Betterfly)
จากข้อมูลของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กฤตณะ พฤกษากร อาจารย์ประจำคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า กว่า 60% ของขยะมูลฝอยที่เราสร้างขึ้นทุกวันเป็นขยะอาหาร จากอาหารที่เรากินเหลือทิ้ง และขยะเหล่านี้ส่วนมากยังขาดการจัดการอย่างเหมาะสมจนทำให้การจัดการขยะมูลฝอยมีปัญหา
ตฤณ รุจิรวณิช ผู้ประกอบการ Food Loss Food Waste กิจการที่เปลี่ยนขยะอินทรีย์ให้มีมูลค่า กล่าวว่า จากปัญหาขยะอาหารที่มีรส่วนทำให้การจัดการขยะทั้งระบบมีประสิทธิภาพลดลง เขาได้มีแนวคิดในการแก้ไขปัญหานี้ โดยการนำขยะเศษอาหารมาเพาะเลี้ยงหนอนแมลงวัน ใช้หนอนและแมลงเป็นตัวช่วยในกระบวนการย่อยสลาย และแปรรูปขยะให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น ปุ๋ย และอาหารสัตว์ เพื่อลดการฝังกลบขยะอินทรีย์และส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
“ที่ผ่านมาระบบการจัดการขยะของเรามีทางออกให้ขยะหลายประเภท เช่นขยะพลาสติกสามารถนำไปรีไซเคิล วนกลับมาใช้ประโยชน์ได้ แต่เรายังขาดปลายทางสำหรับการจัดการขยะเศษอาหารและอาหารเหลือทิ้ง ดังนั้นผมจึงเลือกที่จะก่อตั้งศูนย์กำจัดขยะอาหารบนเกาะสีชัง เพื่อนำขยะอาหารที่เกิดขึ้นบนเกาะมาเลี้ยงหนอนแมลงวัน ซึ่งจะเปลี่ยนเศษอาหารเหล่านี้เป็นปุ๋ยธรรมชาติชั้นดี ส่วนตัวหนอนก็สามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์โปรตีนสูงได้อีกด้วย” ตฤณ กล่าว
เขากล่าวว่า วัตถุประสงค์ของ วิสาหกิจเพื่อสังคม “เบตเทอร์ฟลาย” (Betterfly) มีด้วยกันดังนี้
สำหรับโครงการวิสาหกิจเพื่อสังคม “เบตเทอร์ฟลาย” (Betterfly) บนเกาะสีชัง จ.ชลบุรี เป็นหนึ่งในสองโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับชุมชนโดยใช้หนอนแมลงวันประเภท Black Soldier Fly นำมาย่อยสลายขยะอาหาร และต่อยอดแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ โดยอีกหนึ่งโครงการตั้งอยู่ที่ เกาะสมุย จ.สุราษฏธานี
ตฤณ กล่าวว่า นับตั้งแต่เริ่มโครงการฯ จนถึงเดือนกันยายน 2566 สามารถจัดการขยะอินทรีย์ในชุมชนเกาะสีชังไปแล้วเกือบ 7,000 กิโลกรัม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง