svasdssvasds

พาส่องแผนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของ “ไทยเบฟ” ทำอะไรบ้าง ? เพื่อโลกใบนี้

พาส่องแผนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของ “ไทยเบฟ”  ทำอะไรบ้าง ? เพื่อโลกใบนี้

พาสายรักษ์โลกมาส่องดูแผนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของ “ไทยเบฟ” บริษัทยักษ์ใหญ่ ด้านอาหาร และเครื่องดื่ม เบอร์ต้นๆของไทย ว่าทำอะไรบ้าง ? เพื่อเป็นการถอดบทเรียน และตัวอย่างที่ดีให้กับแบรนด์อื่นๆ เพราะเทรนด์รักษ์โลกมาแรงเหลือเกิน

ปัจจุบันภาคธุรกิจให้ความสำคัญอย่างมากกับการทำธุรกิจที่ยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะนอกจากจะมีผลทำให้ผู้บริโภคยุคใหม่จะตัดสินใจเลือกซื้อแบรนด์นั้นๆแล้ว ยังมีผลต่อคู่ค้าที่จะตัดสินใจเป็นพันธมิตรกับแบรนด์เราหรือไม่ ? เนื่องจากหลายประเทศเริ่มแล้วในการกีดกันทางการค้าแล้ว และหากพันธมิตรใดไม่รักษ์โลกก็จะไม่มีเจรจาการค้า หรือซื้อขายกัน หรือไม่ร่วมลงทุนด้วย ที่สำคัญข้อดีของธุรกิจรักษ์โลกจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยลดโลกร้อน ซึ่งเป็นปัญหาที่น่ากังวลมากในตอนนี้

วันนี้จะพามาส่องพันธกิจรักษ์โลกของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ ไทยเบฟ ยักษ์ใหญ่วงการอาหาร และเครื่องดื่มในบ้านเรา และดังไกลไปถึงต่างประเทศ ว่าแผนธุรกิจเพื่อความยั่งยืนของ “ไทยเบฟ” ทำอะไรบ้าง ? ที่นำโดยแม่ทัพใหญ่ อย่างนายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)  โดยไทยเบฟได้เดินหน้าธุรกิจโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบและความยั่งยืนเป็นสำคัญ โดยยึดมั่นขับเคลื่อนกลยุทธ์การเติบโตที่ยั่งยืน (Enabling Sustainable Growth)” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์

เปิดแผนธุรกิจรักษ์โลกของไทยเบฟ

ทั้งนี้ในปี 2565 กลุ่มบริษัทไทยเบฟได้ประกาศกลยุทธ์การเติบโตที่ยั่งยืน (Enabling Sustainable Growth) โดยมีเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2583 พร้อมทั้งกำหนดแผนงานและเป้าหมายที่ชัดเจนทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล โดยไทยเบฟได้ดำเนินโครงการในประเทศไทยหลากหลายโครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ซึ่งในปี 2565 ไทยเบฟสามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนแล้วดังนี้

  • บรรลุเฟสที่ 1 และ 2 ของโครงการติดตั้งแผงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้กับโรงงานในไทยรวมทั้งสิ้น 23 แห่ง
  • ติดตั้งโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ 7 แห่ง สำหรับผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำกากส่า ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการกลั่นแอลกอฮอล์ เพื่อใช้เป็นพลังงานในโรงงานแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
  • เพิ่มอัตราการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในองค์กรเป็นร้อยละ 42.8
  • ลดอัตราส่วนการใช้น้ำต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ลงร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน สำหรับพื้นที่ที่มีการดึงน้ำจากแหล่งน้ำมาใช้มาก (water-stressed area)
  • ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกใน Scope 1 และ Scope 2 ลงได้ร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับปีฐาน 2562
  • นำขยะอาหาร และของเสียอื่น ๆ จำนวนร้อยละ 67.6 กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อวัตถุประสงค์อื่น
  • นำบรรจุภัณฑ์สินค้าจำนวนร้อยละ 84 กลับมาใช้ใหม่และรีไซเคิล (Reuse and Recycle)
  • เพิ่มสัดส่วนผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในประเทศไทยที่ได้รับเครื่องหมาย “ทางเลือกสุขภาพ (Healthier Choice)”

โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา ไทยเบฟได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มบริษัทที่มีคะแนนสูงสุด “Top 1% Global ESG Score” ของกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม ในรายงาน Sustainability Yearbook ของ S&P Global โดยไทยเบฟได้รับคะแนนสูงสุดในด้านสังคม ธรรมาภิบาล และเศรษฐกิจ และได้คะแนนเป็นอันดับสองในด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ผลงานด้านความยั่งยืนของกลุ่มยังได้รับการยอมรับอย่างต่อเนื่องโดยกลุ่มดัชนีระดับโลกอย่างกลุ่มดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (“DJSI”) โดยเป็นสมาชิกในกลุ่มดัชนีโลก (DJSI World Index) เป็นปีที่ 6 และกลุ่มดัชนีตลาดเกิดใหม่ (DJSI Emerging Markets Index) เป็นปีที่ 7 ติดต่อกัน

นอกจากนี้ไทยเบฟยังได้ขยายขอบเขตการรายงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ให้ครอบคลุมกรอบการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของ Carbon Disclosure Project (CDP) เป็นครั้งแรกในปี 2565 ซึ่งเป็นหนึ่งในกรอบการเปิดเผยข้อมูลและจัดอันดับด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดทั่วโลก โดยได้รับคะแนนประเมินระดับ A-

อย่างไรก็ตามกลุ่มบริษัทไทยเบฟตั้งมั่นที่จะเดินหน้าพัฒนาทุกมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาธิบาล ด้วยการปฏิบัติตามแนวทางสำคัญอย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่เป้าหมายการเป็นผู้นำในการพัฒนาด้านความยั่งยืนของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและอาหาร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related