รู้ไหมว่าการเผาศพแต่ละครั้งต้องใช้พลังงานและปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณมาก ส่งผลให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ จึงต้องมีการคิดค้นพิธีศพรักษ์โลกที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
พิธีศพรักษ์โลกเป็นอีกเทรนด์ที่สร้างความยั่งยืนเพราะนอกจากจะไม่สร้างมลภาวะแล้วยังสามารถสร้างประโยชน์กับธรรมชาติด้วย และตอนนี้พิธีฌาปนกิจศพกำลังจะเปลี่ยนไปเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และการตายจะเป็นประโยชน์กับโลกมากขึ้น
ข้อมูลจาก Natural Death Centre เผยว่า การเผาศพใน 1 ครั้ง ต้องใช้ทั้งก๊าซและไฟฟ้าเทียบเท่าได้กับการขับรถยนต์ราวกว่า 805 กิโลเมตร และกระบวนการเผาศพ 1 ศพ ยังสามารถปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 113 กิโลกรัม ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นหนึ่งในตัวการที่ทำให้เกิดปัญหา Climate Change หรือปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและโลกรวน และเพื่อเป็นการลดโลกร้อน ลดการปล่อยมลภาวะจากกิจกรรมของมนุษย์ หลายประเทศรวมถึงประเทศไทยมีการคิดค้นวิธีย่อยสลายศพตามธรรมชาติ เพื่อให้การลาจากโลกไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม และบางพิธีศพรักษ์โลกยังช่วยฟื้นฟูธรรมชาติอีกด้วย
เรามาดูกันดีกว่าว่าพิธีศพรักษ์โลกมีอะไรบ้าง?
พิธีศพรักษ์โลกเป็นการฌาปนกิจด้วยน้ำซึ่งเป็นการ Alkaline Hydrolysis หรือ Water Cremation โดยนําร่างผู้เสียชีวิตเข้าไปในเตาที่ด้านในจะถูกเติมด้วยสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ จากนั้นใส่ความร้อนเข้าไปอีก 150 องศาเซลเซียส เพื่อละลายร่างให้เหลือเพียงโครงกระดูกในเวลา 12 ชั่วโมง ซึ่งวิธีย่อยสลายศพตามธรรมชาติด้วยน้ำหรือกระบวนการ Water Cremation นี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีทำศพที่สร้างมลพิษน้อยที่สุด
พิธีศพรักษ์โลกด้วยการฝังที่มีกระบวนการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น ที่สหรัฐอเมริกามีการตั้งหน่วยงานที่ชื่อว่า Green Burial Council ซึ่งเป็นหน่วยงานที่จะมาขับเคลื่อนรณรงค์การทำพิธีฝังศพรักษ์โลก นอกจากนี้หน่วยงานนี้ยังทำหน้าที่กำกับดูแลอย่างจริงจัง ให้เครื่องหมายรับรองกับผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับงานศพที่ใช้วัตถุดิบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น สารคงสภาพศพที่ไม่เป็นพิษ ทำจากน้ำมันธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ หรือโลงศพที่ทำมาจากไม้ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
นอกจากนี้ยังมีการคัดกรองบริษัทรับจัดงานศพที่ให้บริการและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ดีไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม และในหลายรัฐของอเมริกาเริ่มใช้วิธีย่อยสลายศพตามธรรมชาติ ให้ร่างกายกลายเป็นปุ๋ยเพื่อใช้ในการปลูกต้นไม้ เช่น Seattle, New York และ California
พิธีศพรักษ์โลกอีกวิธีที่มีการครีเอตโลงศพที่ชื่อว่า Capsula Mundi หรือแคปซูลของโลก เป็นผลงานของทีมวิศวกรจากภาควิชา Biosystens Engineering and Soil Science มหาวิทยาลัย Tennessee ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวเลือกให้ความตายเป็นส่วนหนึ่งของ ชีวิต ซึ่งโลงศพรูปไข่นี้ทำมาจากพลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เป็นโลงที่บรรจุร่างของผู้ตาย ในลักษณะท่าเหมือนอยู่ในครรภ์มารดา หรืออาจจะใช้บรรจุอัฐิก็ได้ ซึ่งโลกศพ Capsula Mundi วิธีย่อยสลายศพตามธรรมชาติที่ใช้ได้จริงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 100% และถูกกฎหมาย
การจัดพิธีศพรักษ์โลก เปลี่ยนพื้นที่สุสานแบบเดิมๆ ให้กลายเป็นพื้นที่ป่า หรือที่เรียกว่า Woodland Burial เป็นวิธีย่อยสลายศพตามธรรมชาติฝังร่างหรือเถ้าถ่านของผู้เสียชีวิตลงในดินในพื้นที่ป่าสีเขียวที่มองจากภายนอกจะไม่รู้ว่าเป็นสุสาน เพราะแทนที่จะมีป้ายหินบอกชื่อและล็อกที่ฝังของผู้ตาย ต้นไม้ หรือป้ายชื่อไม้ที่สามารถย่อยสลายได้จะถูกปลูกหรือปักเอาไว้ เพื่อความสะดวกในการแสดงความเคารพศพ และมีข้อกำหนดคือร่างของผู้ตายจะต้องบรรจุในวัสดุที่ย่อยสลายได้เท่านั้น
นี่เป็นวิธีย่อยสลายศพตามธรรมชาติ อีกวิธีที่ช่วยลดโลกร้อนและยังเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับธรรมชาติ ซึ่งพิธีศพรักษ์โลกกำลังเป็นที่นิยมในหลายๆ ประเทศรวมถึงประเทศไทยที่ต้องการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับโลกใบนี้โดยทำให้ร่างกายผู้เสียชีวิตหรือเถ้ากระดูกกลายเป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้ให้เจริญงอกงาม เพื่อให้ต้นไม้เป็นอนุสรณ์ถึงผู้เสียชีวิตพร้อมทั้งมีรูป ชื่อ หรือระบบตรวจสอบข้อมูล QR code ของผู้เสียชีวิตติดไว้ที่ต้นไม้อีกด้วย
อย่างที่ประเทศจีนมีสุสานฝังศพใต้ต้นไม้ซึ่งตั้งอยู่ที่มณฑลจี๋หลินทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน เป็นวิธีย่อยสลายศพตามธรรมชาติที่มีแนวคิด “ชีวิตคืนสู่ผืนดิน เถ้ากระดูกหวนสู่ธรรมชาติ” โดยฝังศพใต้ต้นไม้จะใช้โกศแบบย่อยสลายได้ ขั้นตอนเริ่มต้นจากเลือกต้นไม้ ฝังโกศไว้ใต้ต้นไม้นั้น และปล่อยให้โกศย่อยสลายตามธรรมชาติ ทำให้ต้นไม้แต่ละต้นเป็นดังหลุมศพ
ส่วนประเทศไทยเองมีพิธีศพรักษ์โลกแบบนี้เช่นกัน วิธีย่อยสลายศพตามธรรมชาติให้ร่างหรือเถ้ากระดูกของผู้วายชนคืนสู่ธรรมชาติเป็นปุ๋ยบำรุงต้นไม้ เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและปลูกจิตสำนึกในการรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ที่พำนักสงฆ์ (ศูนย์) อโรคธรรม อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา หรือวัดกก จ.ปทุมธานี ฯลฯ
ที่มา : คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล / FB Forestforrest thailand / สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม / CNBC / Capsula Mundi / CBC
เนื้อหาที่น่าสนใจ :