รู้ไหมว่าในพืชผักผลไม้มักมีสารเคมีตกค้าง หนึ่งในสารเคมีที่พบบ่อยคือ พาราควอต (Paraquat) ซึ่งเป็นสารที่เกษตรกรนิยมใช้เนื่องจากราคาถูกได้ผลดี หากสารตัวนี้ไปตกค้างในอาหารที่เรากินอาจทำให้เกิดอันตราย จึงมีการคิดค้นชุดทดสอบพาราควอต ขึ้นซึ่งการใช้งานคล้ายกับ ATK
องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่า พาราควอต เป็นสารที่มีความเป็นพิษสูง หากได้รับโดยตรงจากการบริโภค จะทำให้เกิดอาการแสบร้อน เกิดแผลในหลอดลม และระบบทางเดินอาหาร สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการสัมผัส สูดดมจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจอย่างรุนแรง ทำให้เกิดพังผืดในปอด ปนเปื้อนในอาหาร และยังก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคพาร์กินสัน สมองเสื่อม และที่สำคัญเป็นสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้สารเคมีตกค้างในสิ่งแวดล้อม ดิน แหล่งน้ำธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์การเกษตรอีกด้วย
ชุดทดสอบพาราควอตนี้เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันชีววิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ และสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งชุดทดสอบ Paraquat มีคุณสมบัติเป็นการตรวจเบื้องต้นคล้ายชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit)
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
Tesla ทำชาวเน็ตอึ้ง เปิดตัว "ที่นอนแมว" ทำจากกระดาษลูกฟูก เปิดขายราคา 460 บาท
‘เครื่องตรวจอาหารเน่า’ จับกลิ่นแก๊สจากของเริ่มเสีย พร้อมคู่มือแปรรูป
ท่องเที่ยวคิวบาแบบเก๋ๆ ปั่น "จักรยานไม้ไผ่" ลดขยะ-เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ส่วนการใช้งานของชุดตรวจสอบความปลอดภัยผักผลไม้ “พาราควอต (Paraquat)” วิธีการใช้เหมือนกับ Antigen Test Kit ที่ใช้ตรวจหาโควิด โดยใช้เทคนิคอิมมูโนโครมาโทกราฟี (Immunochromatography) หรือ IC ซึ่งอาศัยหลักการจับกันระหว่างแอนติบอดี และแอนติเจนแบบแข่งขัน (Competitive immunoassay) เป็นวิธีที่สะดวก มีประสิทธิภาพ มีความไวในการตรวจสอบ ทราบผลใน 15-30 นาที ไม่ต้องมีเครื่องมือพิเศษแต่อย่างใด เกณฑ์การวัดขั้นต่ำสุดที่ชุดทดสอบพาราควอตนี้สามารถตรวจพบได้ที่ 0.005 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (mg/kg) ซึ่งตรงตามที่กฎหมายกำหนด
ที่สำคัญชุดทดสอบพาราควอต (Paraquat) ได้ผ่านการทดสอบในภาคสนาม และจดทะเบียนอนุสิทธิบัตรจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว ขณะนี้ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมเปิดให้ผู้สนใจทั้งภาครัฐภาคเอกชนมารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ เพื่อนำไปผลิตจำหน่ายให้กับประชาชน ตลอดจนหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ได้เข้าถึงชุดทดสอบพาราควอตนี้ได้ง่ายขึ้น สำหรับนำไปใช้ในการตรวจสอบความปลอดภัยผักผลไม้เบื้องต้นได้