ทรัพยากรน้ำมีความสำคัญกับสิ่งมีชีวิตบนโลก เป็นแหล่งกำเนิดของพืชและสัตว์ อีกทั้งน้ำยังมีความจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ และมีความสำคัญกับภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมอีกด้วย
ปีนี้องค์การสหประชาชาติได้ขับเคลื่อนพันธกิจตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) โดยทรัพยากรน้ำเป็นหนึ่งในเป้าหมายสำคัญที่มีการสร้างหลักประกันว่าจะมีการจัดให้มีน้ำและมีการบริหารจัดการที่ยั่งยืนปัจจุบันทรัพยากรน้ำประสบปัญหาอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการขาดแคลนน้ำ น้ำมีน้อยเกินไปจากการตัดไม้ทำลายป่า ทำให้ฝนน้อยลง เกิดความแห้งแล้ง ขณะเดียวกันผลจากการตัดไม้ทำลายป่าก็ ให้เกิดน้ำท่วม และปัญหาน้ำเสียที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ทั้งจากครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ปล่อยสารเคมีและของเสียต่างลงสู่แหล่งน้ำ ทำให้เกิดมลพิษขึ้น เพราะฉะนั้นการฟื้นฟูและอนุรักษ์น้ำทุกคนควรมีส่วนร่วมในการรักษาอย่างยั่งยืน
ในประเทศญี่ปุ่นมีแนวคิดในอนุรักษ์น้ำที่ชื่อว่า Mizuiku (มิตซุยกุ) ที่เน้นส่งเสริมให้ความรู้ด้านการอนุรักษ์น้ำและการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้กับเด็กๆ ในแง่ของทฤษฎีและการปฏิบัติจริง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสอนเรื่องความสำคัญของน้ำและป่าให้แก่คนรุ่นใหม่ ในโปรแกรมนี้นักเรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมผ่านการศึกษา ซึ่งโครงการค่ายรักษ์น้ำมิตซุยกุ แพร่ไปยังหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
สหราชอาณาจักรคิดค้นระบบ AI แยกขยะ เพื่อรีไซเคิลได้แม่นยำขึ้น
วันปลอดถุงพลาสติกสากล 3 กรกฎาคม งดใช้ถุงพลาสติก ลดมลพิษเพื่อทุกชีวิตบนโลก
ขวดพลาสติก PET รีไซเคิลได้ 100% ลดพลาสติกใหม่ ย่อยสลายได้ ไม่เป็นภาระโลก
โครงการรักษ์นํ้ามิตซุยกุ เข้ามาประเทศเนื่องจากเป็นหนึ่งในโครงการด้านสิ่งแวดล้อมของ ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด ประเทศไทย ซึ่งในปีนี้เป็นปีที่ 3 และได้ขยายโครงการรักษ์น้ำต้นแบบ กระบวนการเรียนรู้จากระดับจังหวัดสู่ระดับประเทศ เพื่อจุดประกายความเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent) ให้กับเยาวชน โดยมีครูเป็นผู้ส่งต่อและสร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งได้ทำงานร่วมกับศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษา และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขยายผลของโครงการรักษ์น้ำมิตซุยกุ ต้นแบบกระบวนการเรียนรู้จากระดับจังหวัดสู่ระดับประเทศ ใน 4 จังหวัด 4 ภูมิภาค ซึ่งแบ่งออกเป็นพื้นที่ต้นน้ำ จังหวัดเชียงราย พื้นที่กลางน้ำ จังหวัดอุบลราชธานี พื้นที่ปลายน้ำ จังหวัดฉะเชิงเทรา และพื้นที่ทะเล ในจังหวัดกระบี่
รักษ์นํ้าแบบมิตซุยกุ แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้