svasdssvasds

ทำความรู้จัก ‘ร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียว’ สร้างอากาศดีๆ ให้ กทม.

ทำความรู้จัก ‘ร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียว’ สร้างอากาศดีๆ ให้ กทม.

จากที่ประชุมสภา กทม. เรื่อง ‘ร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียว’ ได้กำหนดให้ผู้ที่จะสร้าง ซ่อมแซม ต่อเติมอาคารใหม่ ต้องมีพื้นที่สีเขียวคิดเป็น 50% ของพื้นที่ว่างนอกอาคาร เพื่อให้กรุงเทพฯ มีอากาศที่ดีขึ้น หลายคนอยากรู้ว่าร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียวคืออะไร เรามีคำตอบ

ร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียว เป็นเรื่องในการประชุมสภา กทม. สมัยสามัญ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 โดยมีการพิจารณาลงมติที่สำคัญ ต่อร่างข้อบัญญัติ กทม. เรื่องกำหนดลักษณะของอาคารและพื้นที่ว่างนอกอาคารเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียว) ซึ่งเสนอขึ้นโดย พุทธิพัชร์ ธันยาธรรมนนท์ ส.ก.เขตยานนาวา พรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นวาระที่ยกยอดมาจากการประชุมสภา กทม. สมัยก่อนหน้านี้

ทำความรู้จัก ‘ร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียว’ สร้างอากาศดีๆ ให้ กทม.

ปัจจุบันกรุงเทพมหานครประสบปัญหาขาดแคลนพื้นที่สีเขียวเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานที่องค์การสหประชาชาติประกาศกำหนด แม้กรุงเทพมหานครและหน่วยงานของรัฐอื่นจะมีการตั้งงบประมาณเพื่อก่อสร้างปรับปรุงสวนทุกปี แต่กรุงเทพมหานครก็ยังมีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวที่ไม่เพียงพอเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร จึงได้มีการเสนอร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียวฉบับนี้ขึ้นมา

ทำความรู้จัก ‘ร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียว’ สร้างอากาศดีๆ ให้ กทม.
ร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียว คืออะไร?

‘ร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียว’ เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวดักจับฝุ่นควัน ลดอุณหภูมิใน กทม. และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งกรุงเทพฯ ได้กำหนดพื้นที่สีเขียวอยู่ที่ 9 ตารางเมตรต่อคน แต่ข้อเท็จจริงแล้วสามารถทำได้แค่ 7 ตารางเมตรต่อคนเท่านั้น แม้ที่ผ่านมาจะมีคำสั่งให้เพิ่มพื้นที่สีเขียว แต่ผลที่เกิดขึ้นคือ สำนักงานเขตต่างๆ ทำได้เพียงการไปปลูกต้นไม้ที่เกาะกลางถนน หรือปลูกไม้เลื้อยจนทางเดินเท้าเสียหาย หรือนำถุงต้นกล้าไปวางไว้ใต้สะพานทางด่วน ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด

‘ร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียว’ เพื่อสร้างอากาศดีๆ ให้ กทม.

  • กำหนดให้ผู้ที่จะสร้าง ซ่อมแซม หรือต่อเติมอาคารใหม่ ต้องมีพื้นที่สีเขียวคิดเป็น 50% ของพื้นที่ว่างนอกอาคาร
  • บังคับใช้เฉพาะผู้ที่สร้าง ซ่อมแซม ต่อเติมใหม่ ไม่รวมตึกเก่าและอาคารที่มีอยู่แล้ว และไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายที่บังคับใช้ในปัจจุบัน
  • บ้านอยู่อาศัย 100 ตารางเมตร จะมีพื้นที่ว่าง 30 ตารางเมตร จะมีพื้นที่สีเขียว 15 ตารางเมตรนอกอาคาร
  • ตึกแถว สำนักงาน และทาวน์เฮ้าส์ 100 ตารางเมตร จะมีพื้นที่ว่าง 10 ตารางเมตร ต้องมีพื้นที่สีเขียว 5 ตารางเมตรนอกอาคาร
  • กทม. กำหนดพื้นที่สีเขียวอยู่ที่ 9 ตารางเมตรต่อคน ข้อเท็จจริงแล้วสามารถทำได้แค่ 7 ตารางเมตรต่อคนเท่านั้น
  • ร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียว’ เป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวดักจับฝุ่นควัน ลดอุณหภูมิใน กทม. และเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ