เนื้อไก่เทียม หรือ เนื้อไก่สังเคราะห์จากการเพาะในห้องแล็บ ได้รับการยอมรับเป็นที่เรียบร้อยแล้วในสหรัฐฯ สามารถวางจำหน่ายได้เลย เพราะปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ก่อนหน้านี้ เห็นนวัตกรรมเพาะเนื้อปลาเทียมจากแล็บ ทดแทนเนื้อปลาจริงเพื่อลดการประมง ลดการทรมานสัตว์และเพิ่มความยั่งยืนด้านอาหารไปบ้างแล้ว คราวนี้มาดู เนื้อไก่ กันบ้าง
บริษัทสตาร์ตอัปในลอสแองเจลิส “กูด มีต” (Good Meat) ร่วมกับ บริษัท “อัปไซด์ฟูดส์” (UPSIDE Foods) เผยว่า กระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ ได้มีมติอนุมัติการวางจำหน่ายเนื้อไก่ ด้วยการเพาะเลี้ยงเซลล์เป็นครั้งแรกแล้ว เนื่องจากตรวจสอบแล้วว่าปลอดภัยสำหรับการบริโภคของมนุษย์
นี่เป็นการอนุมิครั้งประวัติศาสตร์ เนื่องจาก แม้ก่อนหน้านี้เราจะได้ข่าวคราวเป็นบางครั้งว่ามีการทดลองสร้างเนื้อสัตว์สังเคราะห์จากแล็บ แต่ทั้งหมดเหล่านั้น ยังไม่ได้ถูกวางจำหน่ายจริง เพราะต้องผ่านการตรวจสอบด้านอนามัยและความปลอดภัยต่อผู้บริโภคเสียก่อน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เนื้อปลาสังเคราะห์ชิ้นแรกของโลก ทำจาก 3D Printing ลดปัญหาสวัสดิภาพสัตว์
เจ๋ง ! นักวิจัยพัฒนาแผ่นฟิล์มกินได้ ย่อยสลายง่าย ยืดอายุอาหารได้ 4เดือน
เด็กไทยเจ๋ง! นวัตกรรมบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเสริมไคโตซาน ลดขยะจากเปลือกกุ้ง
นั่นจึงทำให้ อาหารที่เป็นมิตรต่อสัตว์และโลกที่มีขายอยู่ในตลาดตอนนี้ มีเพียงแค่อาหารแพลนต์เบส อาหารที่ทำจากพืช สังเคราะห์กลิ่นและรสชาติ ทดแทนเนื้อจริง
แต่ในปัจจุบัน เนื้อไก่เทียม หนึ่งในการทดลองเนื้อสัตว์ทานได้ที่ไม่ใช้เนื้อสัตว์ ซึ่งเพาะจากเซลล์สัตว์โดยตรง ไม่สร้างความเจ็บปวดให้กับสัตว์ สามารถวางจำหน่ายแก่ผู้บริโภคทั่วไปชาวอเมริกาได้แล้ว
โดยทีมนักวิทยาศาสตร์อาหาร นักชีวโมเลกุล และวิศวกรเทคนิคของอัปไซด์ ฟูดส์ สามารถทำให้เนื้อไก่ของบริษัท สอบผ่านขั้นตอนกำกับดูแล 3 ขั้นหลักได้สำเร็จ ได้แก่ เอกสารแสดงส่วนผสมที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานฯ การอนุมัติฉลาก และใบรับรองการตรวจสอบจากกระทรวงฯ
ด้านอัปไซด์ ฟูดส์ระบุว่า เนื้อสัตว์เพาะเลี้ยง ซึ่งเรียกกันว่าโปรตีนจากการเพาะเลี้ยงเซลล์หรือเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการ ผลิตได้ โดยนำสเต็มเซลล์จากสัตว์มาใส่ภาชนะที่เรียกว่าเครื่องเพาะเนื้อ และเลี้ยงด้วยส่วนผสมสารอาหารที่เหมาะสมเพื่อแบ่งเซลล์และเติบโต
การเพาะเลี้ยงจะใช้ระยะเวลานาน 2-3 สัปดาห์ จึงจะสามารถเก็บเกี่ยวเพื่อนำมาแปรรูปและพร้อมรับประทานได้
อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของอาหารแห่งอนาคต ที่อาจมาชดเชยและเป็นตัวเลือกให้กับผู้บริโภคเลือกใช้แทนการใช้เนื้อสัตว์จริง ที่ยังมีหลายกลุ่มมองว่า การใช้สัตว์ในปศุสัตว์นั้นเป็นการทำลายสวัสดิภาพของสัตว์และกระบวนการเลี้ยงได้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศจำนวนมาก พร้อมทั้งการขยายพื้นที่ทำให้มีการตัดไม้ทำลายป่าเกิดขึ้น
ที่มาข้อมูล