svasdssvasds

ขยะพลาสติกสู่นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน น้ำหนักเบา ประสิทธิภาพดี

ขยะพลาสติกสู่นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน น้ำหนักเบา ประสิทธิภาพดี

จากขยะพลาสติกที่ไร้ค่าสู่การอัพไซเคิลเป็นนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนใช้ป้องกันภัยในพื้นที่เสี่ยง ผลงานของ ม.นเรศวร ร่วมกับ วช. ซึ่งเสื้อเกราะกันกระสุนนี้มาจากขยะพลาสติก ทดสอบแล้วว่าสามารถป้องกันการทะลุทะลวงของกระสุนปืนขนาด 9 มม. และ 11 มม. ได้เป็นอย่างดี

นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนอัพไซเคิลมาจากขยะพลาสติก ผลงานของ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ได้ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ซึ่งการวิจัยเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติกนี้ถือเป็นต้นแบบในการลดขยะพลาสติก ที่จะนำไปสู่การจัดการขยะอย่างยั่งยืน

ขยะพลาสติกสู่นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน น้ำหนักเบา ประสิทธิภาพดี

เสื้อเกราะกันกระสุน Upcycle จากขยะพลาสติกนี้มีน้ำหนักเบา มีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยได้ และมีราคาถูก สามารถเข้าถึงได้ง่าย นอกจากนี้ยังได้มีการทดสอบเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก โดยการใช้ปืนขนาด 9 มม. และ 11 มม. จากการทดสอบพบว่าเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติกมีประสิทธิภาพในการป้องกันการยิงจากอาวุธปืนขนาด 9 มม. และ 11 มม. ในระยะการยิงที่ 5 เมตร 7 เมตร 10 เมตร และ 15 เมตร ได้เป็นอย่างดี และในอนาคตคณะนักวิจัยมีการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมนี้ให้ตอบสนองต่อความต้องการและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล

เนื้อหาที่น่าสนใจ : 

ขยะพลาสติกสู่นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน น้ำหนักเบา ประสิทธิภาพดี นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน เป็นการนำเอาขยะเหลือใช้กลับมาทำให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้ให้ชุมชน จากการกำจัดขยะมูลฝอยในปี 2562 ที่พบว่าจังหวัดพิษณุโลก ติดอันดับ 1 ใน 6 จังหวัดที่มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่มากที่สุด โดยจำนวนขยะมูลฝอยที่ถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์ในจังหวัดพิษณุโลก มีปริมาณ 465.7 ตันต่อวัน เสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติกถือเป็นยกระดับขยะพลาสติกที่มีจำนวนมากซึ่งมีกระบวนการที่เป็นระบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานต่างๆ และชุมชน 

ขยะพลาสติกสู่นวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุน น้ำหนักเบา ประสิทธิภาพดี สำหรับนวัตกรรมเสื้อเกราะกันกระสุนจากขยะพลาสติก เป็นผลงานภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมจากขยะพลาสติกในชุมชนภาคเหนือตอนล่าง ประเทศไทย” ที่ วช. สนับสนุนทุนแก่ รองศาสตราจารย์ ดร.พนิดา จงสุขสมสกุล แห่งมหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะ ดำเนินโครงการฯ ซึ่ง วช. กองทัพภาคที่ 3 มหาวิทยาลัยนเรศวร และคณะนักวิจัย มีความมุ่งมั่นในการผลักดันการดำเนินงานวิจัยนี้ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย ซึ่งผลผลิตและต้นแบบอันเกิดจากการวิจัยครั้งนี้จะนำไปสู่การขับเคลื่อนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนชีวภาพ การจัดการขยะพลาสติกและการมีส่วนร่วมของผู้คนในชุมชน ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืนให้กับประเทศไทยได้