svasdssvasds

นักวิทยาศาสตร์หมักมิโซะในอวกาศ พบรสชาติ-กลิ่น แตกต่างจากบนโลก

นักวิทยาศาสตร์หมักมิโซะในอวกาศ พบรสชาติ-กลิ่น แตกต่างจากบนโลก

นักวิทยาศาสตร์การทดลองหมักมิโซะบนสถานีอวกาศ ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างจากมิโซะบนโลก ชี้สภาพไร้แรงโน้มถ่วงส่งผลต่อจุลินทรีย์ ซึ่งอาจปูทางสู่การผลิตอาหารในอวกาศอนาคต

SHORT CUT

  • นักวิทยาศาสตร์พบว่าการหมักมิโซะบนสถานีอวกาศ ทำให้มิโซะมีรสชาติและกลิ่นที่แตกต่างจากมิโซะบนโลก 
  • การอยู่ในอวกาศส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตอาหาร ทั้งมิโซะ และเครื่องปรุงต่างๆ ที่ทำจากถั่วเหลืองหมักด้วย
  • พวกเขาคาดหวังว่านี่จะปูทางไปสู่การผลิตอาหารในอวกาศ เพื่อขยายหนทางที่มนุษย์จะสามารถใช้ชีวิตนอกโลกได้ในอนาคต 

นักวิทยาศาสตร์การทดลองหมักมิโซะบนสถานีอวกาศ ให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างจากมิโซะบนโลก ชี้สภาพไร้แรงโน้มถ่วงส่งผลต่อจุลินทรีย์ ซึ่งอาจปูทางสู่การผลิตอาหารในอวกาศอนาคต

ผลการวิจัยของทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ในวารสาร iScience  แสดงให้เห็นว่ากระบวนการการผลิตเครื่องปรุงรสแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นในวงโคจร ทำให้รสชาติและกลิ่นของมิโซะเปลี่ยนแปลงไปเล็กน้อย

การอยู่ในอวกาศส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตที่วิวัฒนาการมาบนโลก ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เกิดกับร่างกายมนุษย์ หรือแม้แต่กับจุลินทรีย์ ทั้งที่อาศัยอยู่ในตัว บนตัวและรอบตัวเรา รวมถึง จุลินทรีย์ที่ใช้ในการผลิตอาหาร อย่าง มิโซะ ซึ่งเป็นเครื่องปรุงจากถั่วเหลืองหมัก และตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองหมักเครื่องปรุงชนิดนี้บนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) แล้ว

ก่อนหน้านี้ในเดือนมีนาคม ปี 2020 นักวิจัยได้ส่งภาชนะขนาดเล็กบรรจุ “วัตถุดิบที่จะกลายเป็นมิโซะ” ขึ้นไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ และทิ้งไว้ให้หมักเป็นระยะเวลา 30 วันจนกลายเป็นมิโซะ ควบคู่ไปกับการหมักมิโซะในสภาพแวดล้อมที่ได้รับการควบคุมอีก 2 ชุดบนโลก ชุดหนึ่งอยู่ในเมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ของสหรัฐฯ และอีกชุดหนึ่งในกรุงโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก
ผลการทดสอบปรากฎว่า มิโซะที่หมักในอวกาศมีกลิ่นและรสชาติคล้ายคลึงกับมิโซะอีกสองชุดที่หมักบนโลก แต่จะมีรสชาติคล้ายถั่วและกลิ่นหอมไหม้มากกว่า

“โจชัว ดี. อีแวนส์” (Joshua D. Evans) ผู้ร่วมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคนิคแห่งเดนมาร์ก เปิดเผยว่า มีปัจจัยบางอย่างของสภาพแวดล้อมของอวกาศในวงโคจรต่ำของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะเกือบไร้แรงโน้มถ่วงและการแผ่รังสีที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อวิธีการเจริญเติบโตและการเผาผลาญของจุลินทรีย์และส่งผลต่อกระบวนการหมัก ซึ่งนักวิจัยต้องการสำรวจผลกระทบของปัจจัยเหล่านี้

นักวิทยาศาสตร์หมักมิโซะในอวกาศ พบรสชาติ-กลิ่น แตกต่างจากบนโลก

เมื่อเปรียบเทียบกับตัวอย่างมิโซะที่หมักบนโลกกับมิโซะที่หมักในอวกาศ ทีมนักวิจัยพบความแตกต่างมากกว่าเรื่องของรสชาติ เนื่องจากเมื่อวิเคราะห์ลึกถึงชุมชนจุลินทรีย์ พบว่า แม้การหนักจะสามารถเกิดขึ้นได้ในอวกาศ แต่จุลินทรีย์ก็ยังเจริญเติบโตแตกต่างกัน ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อการผลิตอาหารในอนาคจแล้ว ยังอาจส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย

“แม็กกี้ โคเบลนซ์” (Maggie Coblentz) ผู้เขียนร่วมของการวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ของสหรัฐฯ อธิบายว่า การหมักมิโซะบนสถานีอวกาศนานาชาติแสดงให้เห็นว่าระบบที่มีชีวิตในระดับจุลินทรีย์สามารถเจริญเติบโตผ่านความหลากหลายของชุมชนจุลินทรีย์ได้อย่างไรนั้นเน้นย้ำถึงศักยภาพในการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตในอวกาศ และแม้ว่าสถานีอวกาศนานาชาติมักถูกมองว่าเป็นสภาพแวดล้อมที่ปลอดเชื้อ แต่การวิจัยแสดงให้เห็นว่า จุลินทรีย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์ก็มีบทบาทในอวกาศ ซึ่งนำไปสู่คำถามทางชีวจริยธรรมที่สำคัญเกี่ยวกับการนำพืชและจุลินทรีย์ออกจากดาวบ้านเกิดไปยังสภาพแวดล้อมนอกโลก

นักวิทยาศาสตร์หมักมิโซะในอวกาศ พบรสชาติ-กลิ่น แตกต่างจากบนโลก

ขณะที่งานวิจัยชิ้นอื่น ๆ ยังแสดงให้เห็นว่า ขณะนี้สถานีอวกาศนานาชาติมีจุลินทรีย์ที่แยกสายวิวัฒนาการจากต้นกำเนิดของจุลินทรีย์บนโลกแล้ว แม้จะได้รับการส่งเสบียงขึ้นไปเป็นประจำ แต่หากมนุษย์จะขยายการดำรงอยู่ในอวกาศ การผลิตและการเตรียมอาหารก็จะมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น การทดลองนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งที่เป็นไปได้และยังอยู่ในบริบทของบทสนทนาที่กว้างขึ้น

“โคเบลนซ์” ทิ้งท้ายว่า เราใช้สิ้งที่เป็นพื้นฐานที่สุด อย่าง อาหาร เพื่อจุดประกายบทสนทนาเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคมในอวกาศและคุณค่าของบทบาทในบ้านของสาขาวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม และวิธีที่วางระบบในอวกาศเป็นการส่งสารอย่างทรงพลังว่าใครควรเป็นเจ้าของพื้นที่นั้น ใครได้รับเชิญและผู้คนเหล่านั้นจะได้สัมผัสกับประสบการณ์ในอวกาศอย่างไร

นักวิทยาศาสตร์หมักมิโซะในอวกาศ พบรสชาติ-กลิ่น แตกต่างจากบนโลก