SHORT CUT
ข้อมูลชี้ชัดว่าภาคเหนือแชมป์ ตามด้วยอีสาน ชี้แค่2เดือนปี2568 ทะลุ 9.8 แสนราย
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เผย ปี2567 คนไทยป่วยจากมลพิษทางอากาศ พุ่ง12.3 ล้านคน ภาคเหนือแชมป์ ตามด้วยอีสาน ชี้แค่2เดือนปี2568 ป่วยทะลุ 9.8 แสนราย
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ได้มีการนำเสนอภาวะสังคมไทยไตรมาส4 และภาพรวม ปี 2567 พบความเคลื่อนไหวสำคัญ ประเด็นด้านสุขภาพที่ต้องให้ความสำคัญในระยะยะต่อไป ดังนี้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้น ปัจจุบันมลพิษทางอากาศยังคงเป็นปัญหาสำคัญ และทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะปัญหาฝุ่น PIM 2.5 จากรายงานคุณภาพอากาศโลกปี 2567 ของ IQAir พบว่า ประเทศไทยมีค่ามลพิษทางอากาศ อยู่ในอันดังที่ 33 จาก 141 ประเทศทั่วโลก ซึ่งถือว่าคุณภาพอากาศแย่กว่าปี 25666 ที่ไทยอยู่ในอันดับที่ 36 ของโลก และเป็นอันดับที่ 3 จากทั้งหมด 9 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 เฉลี่ยรายปีที่ 24 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
ทั้งนี้เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 เฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 23 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยสูงเกินค่ามาตรฐานค่าเฉลี่ยรายปีของค่าฝุ่น PM 2.5 ที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ถึง 4.8 เท่า ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น หอบหืดกำเริบ หลอดลมอักเสบ และมะเร็งปอด เป็นต้น จากงานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2567 พบว่าฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลมีโลหะหนักที่เป็นสารก่อมะเร็ง เช่น สารหนู แคดเมียม และโครเมียมในปริมาณค่อนข้างสูง ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนเพิ่มความเสี่ยงเกิดมะเร็งปอด
โดยข้อมูลจาก Health Data Genter ของกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2567 พบผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศจำนวน 12.3 ล้านราย เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยสะ 10.1 โดยภาคเหนือพบผู้ป่วยมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเอียงเหนือ และกรุงเทพมหานคร
ขณะที่ปี 2568 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 14 กุมภาพันธ์ 2568 พบผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศแล้ว 9.8 แสนราย ดังนั้นจึงต้องเฝ้าระวังป้องกันโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ได้แก่ ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรสวมหน้ากากอนามัยป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้ง และตลอดเวลาที่ออกนอกอาคาร สำหรับคำแนะนำประชาชนในการดูแลป้องกันสุขภาพภาพตนเอง ดังนี้
1) ติดตามสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ก่อนออกจากบ้าน จากแอปพลิเคชัน Air4thai หรือช่องทางข่าวสาร
2) ปฏิบัติตามมาตรการ "หลีก ปิด ใช้ เลี่ยง ลด" ได้แก่ (1) หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝันโดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง
(2) ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด ทำความสะอาดบ้านทุกวัน
(3) ใช้หน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 ที่ได้มาตรฐาน
(4) เลี่ยงกิจกรรมภายนอกอาคาร
(5) ลดการใช้รถยนต์และการเผาทุกชนิด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ค่าฝุ่น PM2.5 กทม. วันนี้ 26 ก.พ. แนวโน้มลดลง อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
หายใจสะดวก! ค่าฝุ่น PM2.5 กทม. วันนี้ 25 ก.พ. แนวโน้มลดลง อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
ฝุ่นกลับมาแล้ว! ค่าฝุ่น PM2.5 กทม. เกินมาตรฐาน 35 พื้นที่ เริ่มกระทบต่อสุขภาพ