SHORT CUT
วันนี้ กทม.รายงานค่าฝุ่น PM 2.5 ยังเกินเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 50 เขต มีพื้นที่สีแดง 5 เขต ขณะที่ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 62.6 มคก./ลบ.ม.
ด้าน Rocket Media Lab ชวนสำรวจภาพรวมสภาพอากาศของกรุงเทพฯ ในปี 2024 พบว่า คนกรุงเทพฯ มีวันอากาศดี 43 วัน เพิ่มจากปีก่อนซึ่งมี 31 วัน แต่ยังสูดฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่ 1,297.14 มวน
ทั้งนี้หากเทียบกับปี 2023 ที่มีอากาศในเกณฑ์สีเหลือง 241 วันแล้วก็นับว่าเพิ่มมากขึ้นจากปีก่อน ส่วนวันที่มีคุณภาพอากาศที่มีผลต่อสุขภาพต่อกลุ่มที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษหรือสีส้มนั้นมีเพียง 61 วัน
ปี 2024 คนกรุงเทพฯ มีวันอากาศดี 43 วัน เพิ่มจากปีก่อนซึ่งมี 31 วัน แต่ยังสูดฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่ 1,297.14 มวน
Rocket Media Lab ชวนสำรวจภาพรวมสภาพอากาศของกรุงเทพฯ ในปี 2024 พบว่า คนกรุงเทพฯ มีวันอากาศดี 43 วัน เพิ่มจากปีก่อนซึ่งมี 31 วัน แต่ยังสูดฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่ 1,297.14 มวน จากการทำงานของ Rocket Media Lab โดยอ้างอิงข้อมูลสถิติจากเว็บไซต์ The World Air Quality Index Project พบว่า ในปี 2024 ที่ผ่านมา กรุงเทพฯ มีวันที่อากาศดี คืออยู่เกณฑ์สีเขียว 43 วัน คิดเป็น 11.81% เพิ่มสูงขึ้นกว่าปี 2023 ที่มีวันที่อากาศดีเพียง 31 วัน และในปี 2024 ส่วนใหญ่นั้นเป็นวันที่อากาศมีคุณภาพปานกลาง คือเกณฑ์สีเหลือง 252 วัน หรือคิดเป็น 69.23% ของทั้งปี
ทั้งนี้หากเทียบกับปี 2023 ที่มีอากาศในเกณฑ์สีเหลือง 241 วันแล้วก็นับว่าเพิ่มมากขึ้นจากปีก่อน ส่วนวันที่มีคุณภาพอากาศที่มีผลต่อสุขภาพต่อกลุ่มที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษหรือสีส้มนั้นมีเพียง 61 วัน หรือคิดเป็น 16.76% ของทั้งปี ลดลงจากปี 2023 ที่มีจำนวน 78 วัน และวันที่มีอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ หรืออยู่ในเกณฑ์สีแดงนั้นมี 8 วัน หรือคิดเป็น 2.20% ของทั้งปี และเมื่อเทียบกับปี 2023 ที่มีมากถึง 14 วัน กล่าวคือวันที่มีอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพ หรืออยู่ในเกณฑ์สีแดงนั้นลดลงจากเดิมถึง 6 วัน
โดยภาพรวมแล้วอากาศในปี 2024 มีวันที่อากาศดีเพิ่มขึ้น วันที่อากาศมีคุณภาพปานกลางก็เพิ่มขึ้น ส่วนวันที่มีคุณภาพอากาศที่มีผลต่อสุขภาพต่อกลุ่มที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษหรือสีส้มนั้นลดลง และวันที่มีอากาศมีผลกระทบต่อสุขภาพก็ยังลดลงอีกด้วย 3 เดือนที่อากาศเลวร้ายที่สุดในปี 2024: เดือนมีนาคมตกอันดับ เดือนมกราคมขึ้นมาแทนที่ วันที่อากาศแย่ที่สุดคือวันวาเลนไทน์
ทั้งนี้ในปี 2023 เดือนที่มีอากาศเลวร้ายที่สุดเป็นเดือนมีนาคม ทว่าในปี 2024 เดือนที่มีอากาศเลวร้ายที่สุดคือเดือนมกราคม โดยมีค่าเฉลี่ยอากาศทั้งเดือนอยู่ที่ 119.87 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าปี 2023 ที่มีค่าเฉลี่ย 113.45 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยเดือนมกราคม 2024 ไม่มีวันที่อยู่ในเกณฑ์สีเขียวที่ถือว่าอากาศดีเลย สำหรับวันที่มีสีเหลืองหรือคุณภาพอากาศปานกลางพบว่ามี 8 วัน ส่วนสีส้มหรือคุณภาพอากาศที่มีผลต่อสุขภาพต่อกลุ่มที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษ 19 วัน และสีแดง หรือมีผลต่อสุขภาพ 4 วัน
รองลงมาคือเดือนกุมภาพันธ์ ด้วยค่าเฉลี่ยอากาศ 99.52 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยไม่มีวันที่อยู่ในเกณฑ์สีเขียวที่ถือว่าอากาศดีเลย ขณะที่มีวันที่อากาศอยู่ในเกณฑ์สีเหลือง คุณภาพอากาศปานกลาง 19 วัน และสีส้ม คุณภาพอากาศที่มีผลต่อสุขภาพต่อกลุ่มที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษ 6 วัน และสีแดง หรือมีผลต่อสุขภาพ 4 วัน
ตามมาด้วยเดือนธันวาคม ด้วยค่าเฉลี่ยอากาศที่ 99.31 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งก็ไม่มีวันที่อยู่ในเกณฑ์สีเขียวที่ถือว่าอากาศดีเลยเช่นเดียวกัน ขณะที่มีวันที่อากาศอยู่ในเกณฑ์สีเหลือง คุณภาพอากาศปานกลาง 15 วัน และสีส้ม คุณภาพอากาศที่มีผลต่อสุขภาพต่อกลุ่มที่มีสัมผัสไวต่อมลพิษ 14 วัน แต่ไม่พบวันที่มีสีแดง หรือวันที่มีผลต่อสุขภาพ ทั้งนี้ เนื่องจากไม่ปรากฏข้อมูลวันที่ 30 และ 31 ธันวาคม จึงไม่ได้นำมาคำนวณด้วย แต่แม้ข้อมูลจะขาดหายไปสองวัน แต่ค่าเฉลี่ยของเดือนธันวาคมก็ยังสูงจนติดอันดับสามของปี
หากสำรวจวันที่มีอากาศเลวร้ายที่สุดของปี พบว่าเป็นวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2024 ซึ่งตรงกับวันวาเลนไทน์ โดยมีค่าฝุ่นเป็นค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง อยู่ที่ 165 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าสามเดือนที่อากาศเลวร้ายที่สุดในปี 2024 เป็นเดือนในช่วงต้นปีเช่นเดิม ดังเช่น ปี 2023 ที่พบในเดือนเมษายน มีนาคม และกุมภาพันธ์ ปี 2022 ที่พบในเดือนธันวาคม มกราคม และเมษายน ปี 2021 และ 2020 ที่มีพบในเดือนธันวาคม มกราคม และกุมภาพันธ์ เดือนสิงหาคมอากาศดีที่สุดในปี 2024: เฉลี่ยแค่ 11 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
อย่างไรก็ตามเดือนที่มีอากาศดีที่สุดในปี 2024 คือเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นเดือนที่มีค่าเฉลี่ยฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงทั้งเดือนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่น คือ 53.13 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยมีวันที่อยู่ในเกณฑ์สีเขียวที่ถือว่าอากาศดี 8 วัน มีวันที่อากาศอยู่ในเกณฑ์สีเหลือง คุณภาพอากาศปานกลาง 23 วัน ซึ่งถึงแม้จะมีวันที่มีอากาศสีเขียวเพียงแค่ 4 วันแต่เนื่องจากค่าเฉลี่ยในวันที่ 23 สิงหาคมคือ 11 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และวันที่ 22 สิงหาคมคือ 13 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยอากาศที่ต่ำมาก ทำให้จำนวนค่าเฉลี่ยทั้งเดือนต่ำไปด้วย จึงได้แชมป์เดือนที่อากาศดีที่สุดของปีไปครอง
รองลงมาคือเดือนกรกฎาคม 2024 ซึ่งเป็นเดือนที่มีค่าเฉลี่ยฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง คือ 53.16 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยมีวันที่อยู่ในเกณฑ์สีเขียวที่ถือว่าอากาศดี 11 วัน มีวันที่อากาศอยู่ในเกณฑ์สีเหลือง คุณภาพอากาศปานกลาง 20 วัน
ตามมาด้วยมิถุนายน 2024 มีวันที่อยู่ในเกณฑ์สีเขียวที่ถือว่าอากาศดี 12 วัน มีวันที่อากาศอยู่ในเกณฑ์สีเหลือง คุณภาพอากาศปานกลาง 30 วัน ทั้งนี้เดือนสิงหาคม เดือนกรกฎาคม และมิถุนายนซึ่งเป็น 3 เดือนที่อากาศดีที่สุดนั้น ไม่พบวันที่มีอากาศในเกณฑ์สีส้มและแดงเลย ในขณะที่วันที่อากาศดีที่สุดในปี 2024 คือวันที่ 23 สิงหาคม 2024 โดยมีค่าเฉลี่ยฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง อยู่ที่ 11 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขณะที่วันที่อากาศดีที่สุดในปี 2023 คือ วันที่ 16 กันยายน โดยมีค่าเฉลี่ยฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง อยู่ที่ 20 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
อย่างไรก็ตาม ค่าฝุ่นในแต่ละวันตามสถิติจากเว็บไซต์ The World Air Quality Index Project เป็นค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมง จึงอาจเป็นไปได้ว่าในวันหนึ่งหนึ่งอาจจะมีบางเขตของกรุงเทพฯ ที่มีค่าฝุ่นสูงกว่าค่าเฉลี่ยและมีบางเขตที่มีค่าฝุ่นต่ำกว่าเฉลี่ย หรือแม้กระทั่งมีค่าฝุ่นอยู่ในปริมาณที่ใกล้เคียงกันในทุกทุกเขต ถ้าค่าฝุ่น PM2.5 22 มคก./ลบ.ม. = บุหรี่ 1 มวน ปี 2024 ที่ผ่านมา คนกรุงเทพฯ สูบบุหรี่ไปกี่มวน
จากงานของ Richard A. Muller นักวิจัยชาวอเมริกันจากสถาบันวิจัยสภาพอากาศ Berkeley Earth แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ซึ่งคำนวณเปรียบเทียบปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศหรือ PM2.5 กับปริมาณการสูบบุหรี่ พบว่า ค่าฝุ่น PM2.5 22 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เทียบได้กับการสูบบุหรี่ 1 มวน ซึ่งหากนำค่าฝุ่นแบบค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงในแต่ละวันของปี 2024 มาคำนวณเปรียบเทียบตามเกณฑ์ของ Richard Muller จะพบว่า
ในปี 2024 ที่ผ่านมา คนกรุงเทพฯ สูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่ ทั้งหมด 1,297.14 มวน ลดลงจากปี 2023 ที่มีจำนวน 1,370.09 มวน ถึง 81.95 มวน หรือคิดเป็น 4.09 ซอง แต่ก็ยังมากกว่าปี 2022 ที่มีจำนวน 1,224.77 มวน และปี 2021 ที่มีจำนวน 1,261.05 มวน
สำหรับเดือนที่มีอากาศเลวร้ายที่สุดในปี 2024 อย่างเดือนมกราคม คนกรุงเทพฯ สูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่จำนวน 168.91 มวน คิดเป็นเฉลี่ยวันละ 5.45 มวน ซึ่งมีจำนวนของมวนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนที่มีอากาศเลวร้ายที่สุดในปี 2023 อย่างเดือนเมษายน ที่มีจำนวน 157.45 มวน หรือเฉลี่ยวันละ 5.24 มวนหรือในเดือนที่อากาศดีที่สุดในปี 2024 อย่างเดือนสิงหาคม คนกรุงเทพฯ ก็ยังสูดดมฝุ่นพิษ PM2.5 เทียบเท่าการสูบบุหรี่จำนวน 74.86 มวน เฉลี่ยวันละ 2.41 มวน อย่างไรก็ตามก็ยังไม่ถือว่าลดลง เมื่อเทียบกับเดือนที่อากาศดีที่สุดในปี 2023 อย่างเดือนสิงหาคมที่มีจำนวน 70.14 มวน เฉลี่ยวันละ 2.33 มวน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เขตทวีวัฒนา สั่งปิดโรงเรียน 7 แห่ง 1 วัน หนีฝุ่นพิษ PM2.5 อันตรายต่อเด็ก
กรมอุตุฯ เตือน 20 จังหวัดฝนฟ้าคะนอง กระแสลมอ่อนฝุ่นพิษ PM2.5 ยังสะสม