svasdssvasds

รับมือฝุ่น PM 2.5! ด้วย "ฟีเจอร์ GIS" แบบเรียลไทม์ แถมพยากรณ์ล่วงได้แม่นยำ

รับมือฝุ่น PM 2.5! ด้วย "ฟีเจอร์ GIS" แบบเรียลไทม์ แถมพยากรณ์ล่วงได้แม่นยำ

พามารับมือฝุ่น PM 2.5 กับ SRI Thailand ที่ได้โชว์ฟีเจอร์ GIS แอปพลิเคชัน “เตะฝุ่น” รับมือวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ร่วมกับสภาลมหายใจกรุงเทพฯ เปิดตัวแอปฯ แสดงผลดัชนีฝุ่นแบบเรียลไทม์ พร้อมพยากรณ์ล่วงหน้า 7 วัน

SHORT CUT

  • ต้องยอมรับว่าปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยังเป็นปัญหาที่ไทยยังแก้ไม่ตก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังพยายามหาทางแก้ไขปัญหานี้กันอยู่ แต่…ตัวเราเองก็ต้องหาวิธีป้องกันตัวเองด้วย
  • พามารับมือฝุ่น PM 2.5 กับ SRI Thailand ที่ได้โชว์ฟีเจอร์ GIS  แอปพลิเคชัน “เตะฝุ่น” รับมือวิกฤตฝุ่น PM 2.5
  • ทั้งนี้เป็นนวัตกรรมอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยี GIS ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศทั่วประเทศ ครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้อย่างตรงจุด ในการวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลฝุ่น PM2.5 โดยตรง

พามารับมือฝุ่น PM 2.5 กับ SRI Thailand ที่ได้โชว์ฟีเจอร์ GIS แอปพลิเคชัน “เตะฝุ่น” รับมือวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ร่วมกับสภาลมหายใจกรุงเทพฯ เปิดตัวแอปฯ แสดงผลดัชนีฝุ่นแบบเรียลไทม์ พร้อมพยากรณ์ล่วงหน้า 7 วัน

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ยังเป็นปัญหาที่ไทยยังแก้ไม่ตก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังพยายามหาทางแก้ไขปัญหานี้กันอยู่ แต่…ตัวเราเองก็ต้องหาวิธีป้องกันตัวเองด้วยเช่นกัน ด้วยการตรวจสอบดัชนีฝุ่นแบบเรียลไทม์ วันนี้พามาทำความรู้จักฟีเจอร์ GIS รับมือวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ดีๆจาก บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย)ตอกย้ำบทบาทผู้นำด้าน Location Intelligence พัฒนาโซลูชันเพื่อความยั่งยืน ตั้งเป้าดันเทคโนโลยี GIS ขึ้นแท่นฮับหลักในการบูรณาการข้อมูล

และรายงานสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 เพื่อรับมือและแก้ไขปัญหาวิกฤตฝุ่นร่วมกับ สภาลมหายใจกรุงเทพฯ โชว์แพลตฟอร์มอัจฉริยะที่ประยุกต์ใช้จาก GIS แสดงผลดัชนีจุดความร้อนและค่าการระบายฝุ่นแบบเรียลไทม พร้อมพยากรณ์ล่วงหน้าได้ 7 วัน หนุนการป้องกันและรับมือปัญหา Climate Change อย่างยั่งยืน

โดยบริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านการพัฒนาแพลตฟอร์ม Location Intelligence จับมือร่วมกับสภาลมหายใจกรุงเทพฯ (Breathe Bangkok) เปิดตัว แอปพลิเคชัน “เตะฝุ่น” นวัตกรรมอัจฉริยะที่ใช้เทคโนโลยี GIS ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพอากาศทั่วประเทศ นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศมาประยุกต์ใช้อย่างตรงจุด ในการวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลฝุ่น PM2.5 โดยตรง พร้อมติดตามสถานะการระบายฝุ่น

และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น จุดความร้อน (Hotspot) และดัชนีการระบายอากาศแบบเรียลไทม์ รวมถึงคาดการณ์ค่าการระบายอากาศและจุดเผาไหม้ล่วงหน้าได้ถึง 7 วัน โดยนำเสนอในรูปแบบแผนที่ดิจิทัลผ่านเว็บไซต์ www.taefoon.com ซึ่งช่วยให้ประชาชนทั่วไปและหน่วยงานต่าง ๆ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างง่ายดาย ช่วยยกระดับการติดตามและจัดการปัญหาฝุ่นอย่างมีประสิทธิภาพ  โปร่งใส และตอบโจทย์การบริหารจัดการอย่างยั่งยืน

  • รับมือฝุ่น PM 2.5! ด้วย \"ฟีเจอร์ GIS\" แบบเรียลไทม์ แถมพยากรณ์ล่วงได้แม่นยำ

ดร.ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธานบริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงเป้าหมายของบริษัทว่า “Esri มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยี GIS เพื่อเป็นต้นแบบการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน โดยร่วมมือกับสภาลมหายใจกรุงเทพฯ เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตฝุ่น PM2.5 ซึ่งส่งผลกระทบทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง โดยโซลูชันนี้ช่วยให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

อาทิ การเกษตรและการผลิต สามารถวิเคราะห์และจัดการการปล่อยมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดการสะสมในชั้นบรรยากาศ นอกจากนี้ ธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่น เช่น การท่องเที่ยว ยังสามารถใช้ข้อมูลเพื่อวางแผนลดความเสี่ยง และสร้างความพร้อมในการให้บริการอย่างเหมาะสม ขณะเดียวกันภาคประชาชน สามารถติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศแบบเรียลไทม์และเตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพ

“Esri มุ่งมั่น เสริมสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร พร้อมตอบโจทย์ ความต้องการใช้งานจริง เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางขององค์กรและเป้าหมายของสังคมในทุกมิติอย่างแท้จริง”

ด้าน นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานสภาลมหายใจกรุงเทพฯ กล่าวเสริมว่า “สภาลมหายใจกรุงเทพฯ มุ่งมั่นในการสร้างความตระหนักรู้และให้ข้อมูลแก่ภาคประชาสังคมในกรุงเทพฯ และปริมณฑล เกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงอากาศสะอาด โดยเราเข้าใจดีว่าปัญหาฝุ่น PM2.5 ซึ่งขึ้นอยู่กับการเผาไหม้และความสามารถของบรรยากาศในการระบายฝุ่น เป็นปัญหาที่ต้องการการจัดการที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุม แอปพลิเคชัน 'เตะฝุ่น' ที่พัฒนาร่วมกับ Esri Thailand ช่วยให้เราสามารถติดตามอัตราการระบายอากาศในแต่ละพื้นที่และพยากรณ์ล่วงหน้าได้

ด้วยเหตุนี้ เทคโนโลยี GIS จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยให้ทุกภาคส่วนสามารถดำเนินการตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนและลดผลกระทบจากมลพิษได้อย่างเหมาะสม เราพร้อมที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนผ่านโครงการ ‘เคาท์ดาวน์ PM2.5’ เพื่อสนับสนุนการแก้ปัญหามลพิษอย่างเป็นรูปธรรม และมุ่งมั่นที่จะทำให้กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีอากาศสะอาด น่าอยู่ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับประชาชนทุกคน”

สำหรับแอปพลิเคชัน “เตะฝุ่น” เป็นผลจากการบูรณาการข้อมูลสภาพอากาศและฝุ่น PM2.5 โดยใช้เทคโนโลยี GIS เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ซึ่งสามารถแสดงข้อมูล เช่น ความเข้มข้นของฝุ่น อัตราระบายอากาศ (Ventilation Rate) และจุดความร้อนในรูปแบบแผนที่ดิจิทัล (Map Visualization) ที่ทั้งแม่นยำและเข้าใจง่าย เพื่อช่วยให้ประชาชนและหน่วยงานต่าง ๆ สามารถวางแผนรับมือกับมลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยกระดับการกำกับดูแลใน 3 ด้านสำคัญ ได้แก่

1. ด้านสิ่งแวดล้อม: ลดการกระจุกตัวของการเผาไหม้ในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้คุณภาพอากาศดีขึ้นและลดความเสี่ยงจากมลพิษที่สูงเกินมาตรฐาน

2. ด้านสังคม: ส่งเสริมการวางแผนการเผาไหม้อย่างเหมาะสม ลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และช่วยให้ชุมชนสามารถติดตามและเตรียมตัวรับมือกับปัญหาฝุ่นได้ดีขึ้น

3. ด้านการบริหารจัดการ: ข้อมูลที่เข้าถึงได้อย่างโปร่งใสส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทำให้การจัดการคุณภาพอากาศเป็นไปอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ

“แอปพลิเคชัน ‘เตะฝุ่น’ ถือเป็นก้าวสำคัญของ Esri ในการขยายศักยภาพการใช้เทคโนโลยี GIS เพื่อประโยชน์ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยโครงการนี้ไม่เพียงแค่ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่ยังเป็นเครื่องมือที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศได้ง่าย ๆ ช่วยให้พวกเขาเตรียมความพร้อมและปรับตัวเพื่อลดผลกระทบจากมลพิษต่อสุขภาพ เราหวังว่าโครงการนี้จะสามารถขยายผลร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ที่มุ่งมั่นสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และสาธารณูปโภคที่ก้าวหน้า เพื่อสังคมที่มีอากาศสะอาดและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน” ดร. ธนพร กล่าวปิดท้าย

สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://www.esrith.com และ http://www.taefoon.com/

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

related