svasdssvasds

"นกกระเรียนไทย” เกือบสูญพันธุ์ นกชนิดนี้สำคัญอย่างไร? กับระบบนิเวศอย่างไร

"นกกระเรียนไทย” เกือบสูญพันธุ์ นกชนิดนี้สำคัญอย่างไร? กับระบบนิเวศอย่างไร

รู้หรือไม่ว่า? "นกกระเรียนไทย” เกือบสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ยังอนุรักษ์กลับมาได้ นกชนิดนี้สำคัญอย่างไร? กับระบบนิเวศอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

SHORT CUT

  • นกกระเรียนไทย เป็นสัตว์ที่หายาก และเกือบสูญพันธุ์ไป นับว่ายังเคราะห์ดีที่ยังสามารถอนุรักษ์ รักษากลับมาได้แม้ว่าปัจจุบันอาจยังเหลือเพียงประมาณ 69 ตัว
  • ผลจากการเร่งอนุรักษ์ทำให้ประชากรของนกกระเรียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยนกกระเรียนเป็นนกน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งทั่วโลกพบ 15 สายพันธุ์
  • นกกระเรียนเป็นตัวควบคุมปริมาณสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น สัตว์ตัวเล็ก ๆ หรือพืชน้ำ สิ่งเหล่านี้ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้ระบบนิเวศเสีย นกกระเรียนเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่

รู้หรือไม่ว่า? "นกกระเรียนไทย” เกือบสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ยังอนุรักษ์กลับมาได้ นกชนิดนี้สำคัญอย่างไร? กับระบบนิเวศอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

หนึ่งในพันธกิจที่สำคัญใน TCP Spirit คณะเศษสร้าง ปี 3 เจาะลึกเศรษฐกิจหมุนเวียนในธรรมชาติปลุกพลังคนรุ่นใหม่ร่วมฟื้นฟูทรัพยากรสร้างสมดุลโลก ที่นำทัพโดย “สราวุฒิ อยู่วิทยา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP ที่ผลักดัน TCP Spirit เพื่อมุ่งปลูกฝังการรักษาและฟื้นฟูธรรมชาติผ่านคณะเศษสร้าง ปี 3 ด้วยการเรียนรู้แบบลงมือทำจริงในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ที่ตั้งใจพาอาสารุ่นใหม่มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งเข้ามาแทนที่ระบบเศรษฐกิจแบบเส้นตรงเพื่อแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ

 

โดยเน้นการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเหลือทิ้งให้น้อยที่สุด กิจกรรมนี้จะเป็นแรงบันดาลใจให้อาสาได้นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชุมชน พร้อมทั้งส่งต่อพลังแห่งการเปลี่ยนแปลงให้กับคนรอบข้างและสังคม เพื่อร่วมกันรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้โลกของเราดียิ่งขึ้น โดย TCP Spirit ปี 2567 ต่อยอดองค์ความรู้และสานต่อบทเรียนเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเข้มข้นให้กับอาสาคนรุ่นใหม่ คณะเศษสร้าง ปี 3 ได้ไปสัมผัสวัฏจักรทางชีวภาพ (Biological Cycle) ที่จังหวัดบุรีรัมย์

\"นกกระเรียนไทย” เกือบสูญพันธุ์ นกชนิดนี้สำคัญอย่างไร? กับระบบนิเวศอย่างไร

ซึ่งมีพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่ช่วยสร้างความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการน้ำในชุมชนสู่การเป็นชุมชนต้นแบบที่อยู่กับธรรมชาติอย่างเกื้อกูล ซึ่งอาสาจะได้มาสัมผัสและเกิดความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของระบบนิเวศที่มีการหมุนเวียนและควรได้รับการฟื้นฟู (Regenerate) เพื่อสร้างสมดุลในโลกที่กำลังวิกฤต หนึ่งในไฮไลท์สำคัญ คือเรื่อง นกกระเรียนคืนถิ่น หลังสูญพันธุ์ไปแล้ว 50 ปี

ทั้งนี้อาสาจะได้เห็นด้วยตาตัวเองจากพื้นที่โครงการปล่อยนกกระเรียนพันธุ์ไทยคืนสู่ธรรมชาติ ที่ได้ความร่วมมือของชุมชนช่วยปกป้องฟื้นฟู และสร้างความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ให้นกกระเรียนดำรงชีวิตอยู่ได้ พร้อมลงมือปลูกหญ้าแห้วซึ่งเป็นแหล่งอาหารของนกกระเรียน เพื่อช่วยส่งเสริมการหมุนเวียนในระบบนิเวศ

 

หากพูดถึงเรื่องนกกระเรียนไทย แน่นอนว่าเป็นสัตว์ที่หายาก และเกือบสูญพันธุ์ไป นับว่ายังเคราะห์ดีที่ยังสามารถอนุรักษ์ รักษากลับมาได้แม้ว่าปัจจุบันอาจยังเหลือเพียงประมาณ 69 ตัว แต่ก็ยังโชคดีที่ประชากรของนกกระเรียนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยนกกระเรียนเป็นนกน้ำขนาดใหญ่ ซึ่งทั่วโลกพบ 15 สายพันธุ์ และนกกระเรียนไทยจัดว่าเป็นนกขนาดใหญ่ที่สุด หากโตเต็มวัยจะเป็นเป้าสายตาของนักล่าได้ง่าย แม้ว่าในอดีตจะมีบันทึกการพบนกกระเรียนไทยเป็นจำนวนมากนับหมื่นนตัว ในบริเวณทุ่งมะค่า จังหวัดนครราชสีมา

\"นกกระเรียนไทย” เกือบสูญพันธุ์ นกชนิดนี้สำคัญอย่างไร? กับระบบนิเวศอย่างไร

จากนั้นการล่านกกระเรียนก็แพร่หลาย มาพร้อมๆ กับการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศตั้งเดิม และการทำลายถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ มีการพบนกกระเรียนไทยฝูงสุดท้ายบินผ่านจังหวัดเชียงไหมในปี2488 ต่อมาในปี2507 มีรายงานว่าพบนกกระเรียนต่อมาที่จังหวัดสุรินทร์ เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ได้นำนกคู่หนึ่งมาเลี้ยงดู และอยู่รอดในกรงจนถึงปี 2527 หลังจากนั้นไม่มีใครพบเห็นนกกระเรียนตามธรรมชาติในประเทศไทยอีกเลย

จากนั้นนกกระเรียนไทยก็กลายเป็นสัตว์หายากทันที ล่าสุดกลายเป็นสัตว์ป่าสงวน 1 ใน 20 ชนิด ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2552 และนกชนิดนี้ได้สูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยปัจจุบันองค์การสวนสัตว์ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้นำประชากรนกกระเรียนพันธุ์ไทยปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติในพื้นที่ชุ่มน้ำของ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งนกกระเรียนที่ปล่อยสามารถอยู่รอดและขยายพันธุ์ได้ในธรรมชาติ

\"นกกระเรียนไทย” เกือบสูญพันธุ์ นกชนิดนี้สำคัญอย่างไร? กับระบบนิเวศอย่างไร

วันนี้ #SPRiNG จะพามาทำความรู้จัก พื้นที่ชุ่มน้ำบ้านของนกกระเรียนบุรีรัมย์ Wetland home of crane โดยพื้นที่ชุ่มน้ำเป็นแหล่งอาศัยหลักที่สำคัญของนนกกระเรียนเกือบทุกสายพันธุ์ทั้งโลก โดยตลอดทั้งชีวิตของนกกระเรียนล้วนผูกพันอยู่กับพื้นชุ่มน้ำ เพื่อหาอาหาร จับคู่ ทำรัง วางไข่ และเลี้ยงลูกนก ปัจจุบันพื้นที่ชุ่มน้ำที่เคยเป็นแหล่งอาศัยของนกกระเรียนส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะเสื่อมโทรมและถูกคุกคาม เนื่องจากการเจริญเติบโตของชุมชนเมืองทำให้ในบางช่วงฤดูกาลนกกระเรียนจึงต้องปรับตัวเข้าไปอาศัยอยู่ในพื้นที่เกษตรกรรม

สำหรับนกกระเรียนถิ่นอาศัยจะชื่นชอบพื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำในเขตสูง พื้นที่เกษตรกรรม และทุ่งนา เป็นนกน้ำขนาดใหญ่ลำตัวและปีกสีเทา คอดอนบนและหัวไม่มีขนแต่มีลักษณะเป็นตุ่มหนังวังสีส้ม หรือสีแดงสดบริเวณกลางกระหม่อมเป็นแผ่นหนังเปลือย สีเทาหรือเขียวอ่อน คอยาว เวลาบินคอและขาจะเยียดตรง ขายาวสีแดงอมชมพู มีแผ่นขนหูสีเทา ม่านตาสีส้มแดง เพศผู้มีขนาดใหญ่กว่าเพศเมีย สำหรับอาหารของนกชนิดนี้ คือ ปลาน้ำจืด พืชน้ำ สัตว์น้ำขนาดเล็ก แมลง เมล็ดพืช ข้าวเปลือก

\"นกกระเรียนไทย” เกือบสูญพันธุ์ นกชนิดนี้สำคัญอย่างไร? กับระบบนิเวศอย่างไร

นกชนิดนี้ยังชอบจับคู่แบบผัวเดียว เมียเดียว ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนกรกภาคม - กันยายน ทำรังขนาดใหญ่ด้วยกิ่งไม้ขัดสานกันวางไข่ครั้งละประมาณ 1-3 ฟอง ระยะฟักไข่ประมาณ 31-34 วัน สำหรับแนวทางการอนุรักษ์ อย่างเช่น โครงการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกกระเรียนพันธุ์ไทยจังหวัดบุรีรัมย์เป็นโครงการอนุรักษ์ที่มีความสำคัญระดับโลกได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิงแวดล้อมโลกภายใต้กรอบความร่วมมือขององค์กรสหประชาชาติกับรัฐบาลไทย (United Nations Partnership Framework2012-2016) มีแนวคิดในการเสริมสร้างศักยภาพของหน่วยงาน

ด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ภายใต้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ตระหนักถึงกระบวนการดำเนินงานที่ยังยั่งยืน ไม่เพียงแต่จะมุ่งอนุรักษ์ เฉพาะนกกระเรียนพันธุ์ไทย แต่ยังคำนึงถึงพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นแหล่งอาศัยที่สำคัญ ต้องได้รับการปกป้อง คุ้มครองดูแล รวมไปถึงคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวบุรีรัมย์ ที่ควรได้รับประโยชน์ จากการร่วมกันปกป้อง ดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเหล่านี้ ภายใต้แนวคิด"นกอยู่รอด ชุมชนอยู่ได้ สิ่งแวดล้อมยั่งยืน

ทั้งหมดคือ เรื่องราวของนกกระเรียนไทย สัตว์ที่เกือบจะสูญพันธุ์ แต่ไทยยังอนุรักษ์กลับมาได้ แต่…หากถามว่า “นกกระเรียน” สำคัญยังไงกับระบบนิเวศ คำตอบคือ  นกกระเรียนเป็นตัวควบคุมปริมาณสิ่งมีชีวิตในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น สัตว์ตัวเล็ก ๆ หรือพืชน้ำ สิ่งเหล่านี้ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้ระบบนิเวศเสีย นกกระเรียนเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ ความสะอาดของแหล่งน้ำซึ่งถ้าเสื่อมโทรม ไม่มีพืชน้ำ นกก็อยู่ไม่ได้ ต้องอพยพหนี ดังนั้นจะเห็นได้ว่านกกระเรียนสามารถเป็นตัวชี้วัดทางระบบนิเวศได้!

\"นกกระเรียนไทย” เกือบสูญพันธุ์ นกชนิดนี้สำคัญอย่างไร? กับระบบนิเวศอย่างไร

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related