เคยสงสัยกันไหมว่า…อุกกาบาตยักษ์เกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นต้นเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์จริงหรือไม่ และทำไมนักวิทย์ฯ ถึงมองว่าการที่อุกกาบาตพุ่งชนโลกเป็นเหตุให้สิ่งมีชีวิตดำรงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้?
สรุปแบบรวบรัดและเข้าใจง่าย อุกกาบาต (Meteorite) คือหินอวกาศที่สามารถตกถึงพื้นโลก โดยรอดพ้นจากการเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศมาได้ ซึ่งใหญ่แล้วเป็นชิ้นส่วนของดาวเคราะห์น้อย แต่แม้จะบอกว่าเป็น ‘ชิ้นส่วน’ แต่ขนาดของมันก็ใหญ่จนสามารถล้างบางสิ่งมีชีวิตมาแล้ว
โดยอุกกาบาตที่ใหญ่ที่สุดที่โลกเคยค้นพบ (ที่ยังหลงเหลือ) คือ อุกกาบาตโฮบา (Hoba Meteorite) ค้นพบในปี 1920 ที่ประเทศนามีเบีย มีน้ำหนักประมาณ 54,000 กิโลกรัม เนื่องจากเป็นอุกกาบาตที่มีขนาดใหญ่ และหนักมาก จวบจนวันนี้ อุกกาบาตโฮบาก็ยังอยู่ที่เดิม
และคำถามที่คนมักสงสัยกันคือ อุกกาบาตพุ่งชนโลกจนทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์จริงหรือ แท้จริงแล้วเรื่องราวมันเป็นอย่างไรกันแน่ SPRiNG ชวนนั่งไทม์แมชชีนย้อนเวลากลับไปในโลกยุค 60 ล้านปีพร้อม ๆ กัน
ย้อนกลับไปราว 66 ล้านปีก่อน อันเป็นช่วงเวลาที่โลกเฟื่องไปด้วยต้นไม้ ลำธาร และไดโนเสาร์ หรือเรียกว่า ยุคพาลีโอซิก (Paleozoic Era) ช่วงเวลานี้ ยังไม่มีมนุษย์ถือกำเนิดขึ้น แม้มนุษย์โบราณที่เก่าแก่ที่สุด (เท่าที่ค้นพบในปัจจุบัน) อย่าง ลิตเติลฟุต ก็มีอายุเพียง 3.67 ล้านปีเท่านั้น หรือมนุษย์สายพันธุ์โฮโม ก็เพิ่งถือกำเนิดขึ้นมี 2 ล้านปีก่อนนี่เอง
แม้จะมีอยู่หลายทฤษฎีเกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ อาทิ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ บ้างก็ว่าสูญพันธุ์เพราะปริมาณฝุ่นมหาศาลหลังอุกกาบาตพุ่งชน
แต่ทฤษฎีที่บรรดานักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นตรงกันคือ เมื่อ 66 ล้านปีก่อน อุกกาบาตยักษ์ มีเส้นผ่านศูนย์กลางราว 12 กิโลเมตร พุ่งชนโลกด้วยความเร็ว 72,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พุ่งชนที่บริเวณคาบสมุทรยูคาทัน ใต้อ่าวเม็กซิโก จนเกิดเป็นหลุบยุบที่มีขนาดใหญ่ประมาณ180 กิโลเมตร ซึ่งมีชื่อว่า “ชิกซูลูบ” (Chicxulub Crater)
ความรุนแรงของอุกกาบาตยักษ์ลูกนี้ ทำให้สิ่งมีชีวิตบนโลก 75% ต้องล้มตาย และนักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ว่า การระเบิดในครั้งนั้นทำให้สายพันธุ์สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ทันที 5,000 ล้านสปีชีส์ และแน่นอนว่าไดโนเสาร์ก็สูญพันธุ์ด้วยเช่นกัน
เหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่นี้ มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Cretaceous–Paleogene extinction event หรือ การสูญพันธุ์ในยุคครีเทเชียส–พาลิโอจีน มันไม่ใช่แค่ไดโนเสาร์ที่สูญพันธุ์ แต่ยังกระทบถึงห่วงโซ่อหาร เพราะสัตว์กินพืช กับบรรดานักล่าขนาดใหญ่ตัวเผชิญความอดยาก
ถ้าถามว่าตอนนี้โลกมีอายุกี่ขวบแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยืนยันตัวเลขไว้ที่ 4,500 ล้านปี แต่เมื่อโลกอายุได้เพียง 1,500 ล้านปี เคยเกิดเหตุการณ์อุกกาบาตพุ่งชนโลกมาแล้วหนหนึ่ง หนนี้รุนแรงมากกว่าครั้งที่พุ่งชนโลก เมื่อ 66 ล้านปีก่อน
ร่องรอยของอุกกาบาตที่พุ่งชนโลกในยุค 1,500 ล้านปีก่อน ถูกค้นพบที่ประเทศแอฟริกาใต้ เมื่อปี 2014 โดยนักวิทยาศาสตร์ตั้งชื่ออุกกาบาตลูกว่า S2 ว่ากันว่านี่คืออุกกาบาตที่ใหญ่ที่สุด หากนำไปเทียบกับลูกที่พุ่งชนโลกเมื่อ 66 ล้านปีก่อน อุกกาบาต S2 มีมวลมากกว่า 50-200 เท่า และมีความกว้างมากกว่า 4-6 เท่า
ซึ่งผลพวงของมันทำให้ชั้นหินระเหิดเป็นไอลอยขึ้นสู่อากาศ จนเกิดเป็นหลุ่มขนาด 500 กิโลเมตร ศาสตราจารย์นาดจา ดราบอน จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ตีพิมพ์ข้อมูลการวิเคราะห์ชั้นหินแห่งนี้ ลงในวารสาร PNAS ยังระบุอีกว่า
อุกกาบาตยักษ์ลูกนี้ทำให้เกิดคลื่นสึนามิซัดถล่มพื้นที่ชายฝั่งทั่วโลก นอกจากนี้ แรงปะทะของอุกกาบาตทำให้อากาศบริเวณนี้มีอุณหภูมิมากถึง 100 องศา จนน้ำทะเลเดือดเหมือนหม้อสุกี้ ท้องฟ้ากลายเป็นสีทมิฬ เฟื่องไปด้วยหมอกควัน จนแสงจากดวงอาทิตย์ไม่สามารถส่องลงมาบนพื้นโลกได้
อีกหนึ่งการค้นพบคือ การปะทะของอุกกาบาตเมื่อ 3,000 ล้านปีก่อน ทำให้แร่ธาตุที่อยู่ใต้ดินลึก จำพวก เหล็ก และฟอสฟอรัส ขึ้นมาบนพื้นผิวโลกในปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่หล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว จนกระทั่งสิ่งมีชีวิตฟื้นฟูประชากรกลับมาได้อย่างรวดเร็ว
ที่มา: National Geographic
ข่าวที่เกี่ยวข้อง