SHORT CUT
สเปนกำลังเพาะพันธุ์ยุงลายเสือหลายพันตัวเพื่อต่อสู้กับโรคไข้เลือดออกและโรคอื่นๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกระตุ้นให้ยุงลายที่รุกรานแพร่กระจายไปทั่วยุโรป
สเปนเพาะพันธุ์ยุงเป็นหมัน เพื่อใช้ล้างบางประชากรยุง
สเปนกำลังเพาะพันธุ์ยุงลายเสือหลายพันตัวเพื่อต่อสู้กับโรคไข้เลือดออกและโรคอื่นๆ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกระตุ้นให้ยุงลายที่รุกรานแพร่กระจายไปทั่วยุโรป
ห้องทดลองของศูนย์ควบคุมสัตว์รบกวนทางชีวภาพในสเปน กำลังเพาะพันธุ์และฆ่าเชื้อยุงลายเสือหลายพันตัว หลังได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลระดับภูมิภาคในบาเลนเซีย โดยใช้เครื่องเร่งอิเล็กตรอนในการฆ่าเชื้อและปล่อยยุงตัวผู้ประมาณ 45,000 ตัวทุกสัปดาห์ ให้พวกมันออกไปผสมพันธุ์กับเมียซึ่งมีการกัดเพื่อแพร่โรคในมนุษย์
ยุงลายเสือ เป็นสายพันธุ์ที่พบเห็นได้ทั่วไปมากขึ้นหลังมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะอากาศร้อนคือสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการขยายพันธุ์ของพวกมันตลอดทั้งปี ทำให้จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นตลอดเวลา เป็นสาเหตุใก้เกิดโรคทั้งไข้เลือดออก ซิกา และชิคุนกุนยา
โดยทางนักวิทยาศาสตร์ได้คัดแยกยุงตัวเมียและตัวผู้ออกจากกัน ก่อนที่จะใช้รังสีบางอย่างเพื่อฆ่าเชื้อในร่างกายตัวผู้ ทั้งยังทำให้มันมีสภาวะเป็นหมัน เมื่อถูกปล่อยไปผสมพันธุ์กับยุงตัวเมียก็จะไม่มีไข่ถูกฟักออกมา ซึ่งเป็นวิธีการควมคุมประชากรยุงที่เห็นผล
องค์การอนามัยโลกระบุเมื่อปีที่แล้วว่าอัตราไข้เลือดออกทั่วโลกเพิ่มขึ้น โดยมีรายงานผู้ป่วยตั้งแต่ปี 2543 เพิ่มขึ้น 8 เท่าเป็น 4.2 ล้านคนในปี 2565 เนื่องจากเชื่อว่าสภาพอากาศที่อบอุ่นจะช่วยให้ยุงขยายพันธุ์เร็วขึ้น