svasdssvasds

ถอดบทเรียนต่างชาติจัดการเอเลียนสปีชีส์ บาฮามาสใช้หุ่นยนต์จับปลาสิงโต

ถอดบทเรียนต่างชาติจัดการเอเลียนสปีชีส์ บาฮามาสใช้หุ่นยนต์จับปลาสิงโต

ผลกระทบจากการเข้ามาของ เอเลียนสปีชีส์ หรือสัตว์ต่างถิ่น คือปัญหาที่หลายประเทศต้องเร่งแก้ไข หนึ่งในนั้นคือประเทศบาฮามาสที่เผชิญการรุกรานจากปลาสิงโตมานานหลายปี จนต้องใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

SHORT CUT

  • ปลาสิงโต นับเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ที่กำลังสร้างปัญหาต่อระบบนิเวศในหลายประเทศ บริเวณแคริบเบียน, ชายฝั่งฟลอริดา, หมู่เกาะในมหาสมุทรแอตแลนติก รวมถึงประเทศบาฮามาส
  • บาฮามาสต้องออกมาตรการจัดการปลาสิงโตอย่างจริงจัง เช่น ส่งเสริมให้มีการจับและจำหน่ายเพื่อบริโภค สั่งห้ามการเลี้ยง และจำกัดการเคลื่อนย้ายปลาที่ยังมีชีวิต
  • หนึ่งในวิธีที่น่าทึ่ง คือการพัฒนาหุ่นยนต์ดำน้ำลึก ที่สามารถไล่ล่า, วางยาสลบ และจับปลาสิงโตด้วยการดูดเข้าไปเก็บไว้ในท่อแก้วอย่างมีประสิทธิภาพ

ผลกระทบจากการเข้ามาของ เอเลียนสปีชีส์ หรือสัตว์ต่างถิ่น คือปัญหาที่หลายประเทศต้องเร่งแก้ไข หนึ่งในนั้นคือประเทศบาฮามาสที่เผชิญการรุกรานจากปลาสิงโตมานานหลายปี จนต้องใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

เอเลียนสปีชีส์ คือชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดอยู่ในพื้นที่นั้นๆ แต่เมื่อมันเข้ามา ก็อาจจะมีทั้งส่งผลกระทบต่อชนิดพันธุ์ท้องถิ่นหรือไม่ก็ได้ แต่บางสายพันธุ์ที่ส่งผลกระทบต่อนิเวศน์ท้องถิ่น จำเป็นต้องได้รับการจัดการที่ดี วันนี้เราถอดบทเรียนวิธีการจัดการปลาสิงโตของประเทศบาฮามาส ซึ่งมีการจัดตั้งแผนกำจัดปลาสิงโตอย่างจริงจัง เริ่มตั้งแต่อนุญาตให้จับปลาสิงโตได้ พยายามส่งเสริมให้ประชาชนนำมันมาบริโภค ไปจนถึงการใช้หุ่นยนต์มาช่วยจับปลาสิงโต

ปลาสิงโตเป็นปลาสวยงามที่เต็มไปด้วยพิษร้าย มีถิ่นกำเนิดในอินโด-แปซิฟิก แต่มันกลายเป็นสัตว์ชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในฝั่งทะเลด้านตะวันออกของสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะชนิดปลาสิงโตปีกจุด (P. volitans) บริเวณแคริบเบียน, ชายฝั่งฟลอริดา และหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแอตแลนติกไปจนถึงตอนเหนือของบราซิล ปลาสิงโตสามารถที่จะขยายพันธุ์ได้เองในธรรมชาติ โดยวางไข่ในป่าชายเลน ปลาหนึ่งตัวภายในเวลาไม่ถึง 30 นาที สามารถกินลูกปลาหรือปลาขนาดเล็กไปได้ถึง 20 กว่าตัวเลยทีเดียว คิดเป็นร้อยละ 60 ของน้ำหนักตัว กระเพาะอาหารของปลาสิงโตสามารถขยายออกได้ถึง 30 เท่าของขนาดกระเพาะปกติ นอกจากนี้แล้วปลาสิงโตยังเป็นปลาที่มีความสามารถในการสืบพันธุ์สูง ปลาสิงโตตัวเมียสามารถวางไข่ได้ถึงปีละ 2 ล้านฟอง

การแพร่ระบาดของปลาสิงโตที่มหาสมุทรแอตแลนติกพบมีปลาสิงโตแทบทุกพื้นที่ จนบาฮามาสต้องประกาศจัดการอย่างจริงจังเพื่อควบคุมปริมาณในแนวปะการัง  โดยเมื่อปี 2009 กรมทรัพยากรทางทะเล ร่วมมือกับวิทยาลัยทางทะเลบาฮามาสและสถาบันการศึกษาสิ่งแวดล้อม จัดตั้งแผนรับมือปลาสิงโตแห่งชาติระยะยาวขึ้นมา 

ปลาสิงโต

ในแผนดังกล่าวอนุญาตให้มีการกำจัดปลาสิงโตได้ โดยเริ่มตั้งแต่อนุญาตให้ใช้ฉมวกจับปลาสิงโตได้ภายในรัศมีที่กำหนด ส่งเสริมให้มีการจับและจำหน่ายปลาสิงโตเพื่อการบริโภค สั่งแบนปลาสิงโตไม่ให้เป็นปลาเลี้ยงในตู้ปลา และจำกัดการครอบครองและเคลื่อนย้ายปลาสิงโตที่มีชีวิตอยู่

ความน่าสนใจอีกหนึ่งอย่างคืออการใช้โรบอท หรือหุ่นยนต์ช่วยจับปลาสิงโต โดยการจัดตั้งศูนย์บริการหุ่นยนต์เพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ RSE ขึ้นมา ก่อตั้งโดยโคลิน แองเจิล ซึ่งเป็นผู้บริหารของบริษัท iRobot ทาง RSE ได้พัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถดำน้ำได้ขึ้นมา มันมีความสามารถในการไล่ล่า ทำให้สลบและจับปลาสิงโตได้ ภายในท้องทะเลที่มีความลึกถึง 120 เมตร และลงน้ำไปครั้งหนึ่งหุ่นยนต์ตัวนี้จะสามารถจับปลาสิงโตได้นานถึง 1 ชั่วโมง

หุ่นยนต์ที่กำลังดูดปลาสิงโตเข้าไปเก็บไว้บริเวณท่อแก้วขนาดใหญ่

RSE ได้พัฒนาหุ่นยนต์ต้นแบบมาอย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมายหลักคือ เพื่อให้สามารถจับปลาสิงโตได้ดียิ่งขึ้น เมื่อมันเจอปลาสิงโตว่ายน้ำมาใกล้ๆ มันก็จะทำให้ปลาสลบ ก่อนจะมีตัวดูดที่ดูดปลาเหล่านั้นเข้าไปในหุ่นยนต์

ที่มา