SHORT CUT
จากแผนงานอุตสาหกรรมระยะ 12 ปี เผยให้เห็นถึงปริมาณขยะแผงโซลาร์เซลล์ที่เพิ่มขึ้นซึ่งใกล้ถึงจุดวิกฤตแล้ว จึงควรมีการเร่งจัดการ
อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์กำลังเข้าใกล้จุดเปลี่ยนแล้ว โดยมีปริมาณขยะมุ่งหน้าสู่ปลายน้ำในระดับที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ระดับของเสียจากแผงโซลาร์เซลล์จะถึงจุดวิกฤตในอีก 2-3 ปีข้างหน้าแทนที่จะเป็นภายในปี 2573 ตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ แต่มันกลับเกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด
Rong Deng นักวิจัยด้านวิศวกรรมพลังงานหมุนเวียนที่มหาวิทยาลัย NSW คาดการณ์ว่าหากการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ขยายตัว 5-10 เท่าตามที่หวังไว้ ปริมาณแร่เงินสำรองของโลกจะหมดไปในเวลาเพียง 2 ทศวรรษ
ขยะจำนวนมหาศาลมีปัจจัยสองประการ ซึ่งวิกตอเรียเป็นรัฐเดียวที่สั่งห้ามการกำจัดแผงโซลาร์เซลล์ในหลุมฝังกลบ และค่าใช้จ่ายในการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์ก็อยู่ที่ 10 หรือ 20 ดอลลาร์ต่อแผง เป็นการลดแรงจูงใจในการรีไซเคิล นอกจากนี้สำหรับแผงที่รีไซเคิลแล้ว ยังไม่มีเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวัสดุให้มีคุณค่า
Pablo Ribeiro Dias ผู้ร่วมก่อตั้ง Solarcycle ซึ่งเป็นบริษัทรีไซเคิลพลังงานแสงอาทิตย์และความยั่งยืน กล่าวว่า บริษัทรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์เชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่เพียงแค่ถอดโครงอลูมิเนียมและสายไฟออก แล้วฉีกกระจกทิ้ง
การออกแบบแผงโซลาร์เซลล์ มักจะมีคุณสมบัติกันน้ำ และทนต่อสภาพอากาศ ทำให้การแยกวัสดุ เช่น ซิลิคอน เงิน และทองแดง และเปลี่ยนเป็นส่วนประกอบที่ใช้งานได้ยาก
แผนงานอุตสาหกรรมระยะ 12 ปี ได้รวมการกำจัดแผงโซลาร์เซลล์ไว้ด้วย รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเพื่อสกัดโลหะมีค่า การจัดตั้งศูนย์รีไซเคิลในเขตเมืองใหญ่ต่างๆ และการพัฒนาแผนการดูแลผลิตภัณฑ์สำหรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์
โครงการดูแลผลิตภัณฑ์แผงโซลาร์เซลล์จะเปิดตัวในปี 2568 และอาจกำหนดให้มีการรีไซเคิล หรือลงโทษหากไม่รีไซเคิล และทำให้ผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์ต้องรับผิดชอบทางการเงินในการกำจัดแผงที่หมดอายุการใช้งาน
ออสเตรเลียขาดโครงสร้างพื้นฐานการรีไซเคิลที่แข็งแกร่ง และสาเหตุมาจากการส่งออกขยะไปยังจีนก่อนปี 2559 Richard Kirkman ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายบริการจัดการการรีไซเคิลพลังงานและขยะ Veolia ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กล่าวว่า รัฐบาลกลางจำเป็นต้องลงทุนในโครงการนำร่องเพื่อให้แน่ใจว่าแผงโซลาร์เซลล์ได้รับการออกแบบให้รีไซเคิลได้ง่าย และพัฒนากระบวนการขนาดใหญ่ในการรีไซเคิลแผงโซลาร์เซลล์
“ถ้าเราเข้าใจถูกต้อง เราก็สามารถปิดวงจรนี้ในลักษณะที่จะสนับสนุนวิถีชีวิตของออสเตรเลียมาหลายชั่วอายุคนด้วยการนำโลหะมีค่าและแร่หายากกลับมาใช้ใหม่ภายในแผงที่หมดอายุการใช้งานที่ถูกทิ้งร้าง” เขากล่าว
ที่มา : The Guardian / Power Jungle
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
ส่อง! ผู้นำเบอร์1 “บ้านติดโซลาร์” ตั้งเป้า 15,000 หลัง ผลิตไฟฟ้า 82,300 MW
ทำไม "น้ำมัน SAF" ถึงเป็น Game Changer ของอุตฯ การบินในอนาคต และรักษ์โลกยังไง?