svasdssvasds

ภูเขาขยะในอินเดียสูงเท่าตึก ปล่อยก๊าซมีเทนในระดับสูง ชาวเมืองสูดมลพิษ

ภูเขาขยะในอินเดียสูงเท่าตึก ปล่อยก๊าซมีเทนในระดับสูง ชาวเมืองสูดมลพิษ

เมื่อไม่นานมานี้เราคงได้ยินข่าวเกี่ยวกับคุณภาพอากาศที่เดลี ประเทศอินเดียกำลังย่ำแย่ ตอนนี้ดูเหมือนมันจะทวีความรุนแรงขึ้น โดยจากข้อมูลดาวเทียมในเมืองหลวงของอินเดียเป็นแหล่งที่ปล่อยก๊าซมีเทนจำนวนมากจากภูเขาขยะขนาดใหญ่ที่มีด้วยกันถึง 3 แห่ง

จากรายงานการสร้างขยะมูลฝอยชุมชนในอินเดียมีมากถึง 62 ล้านตันในแต่ละปี แค่เมืองเดลีเพียงแห่งเดียวก็ผลิตขยะประมาณ 10,000 ตันต่อวันแล้ว ในจำนวนนี้ มีขยะจำนวนมากถูกทิ้งในสถานที่ฝังกลบ 3 แห่ง ได้แก่ Ghazipur, Bhalswa และ Okhla ซึ่งก่อให้เกิดภัยคุกคามร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อมและผู้คน

เครดิต : Delhi Green

แหล่งฝังกลบขนาดใหญ่ในเมืองหลวง

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาพื้นที่ฝังกลบในเดลีกลายเป็นแหล่งทิ้งขยะทุกประเภท  เช่น ใบไม้ กระดาษ โลหะ ผ้า แก้ว พลาสติก และอื่นๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการตั้งข้อสังเกตว่ามลพิษทางอากาศในเดลีได้พุ่งขึ้นสู่ระดับสูงบริเวณพื้นที่ฝังกลบเหล่านี้

เดลีมีสถานที่ฝังกลบขยะหลัก 3 แห่ง คือ ที่ Ghazipur, Bhalswa และ Okhla สถานที่ฝังกลบทั้ง 3 แห่งนี้ผิดกฎหมายเนื่องจากไม่อยู่ภายใต้กฎขยะมูลฝอยชุมชน (MSW) แม้ว่าขีดจำกัดที่อนุญาตสำหรับการทิ้งขยะจะตั้งไว้ที่ 20 เมตร แต่พื้นที่เหล่านี้ได้กลายเป็นภูเขาขนาดใหญ่เกินกว่าขีดจำกัดที่ได้รับอนุญาตแล้ว โดยภูเขาขยะเหล่านี้มีความสูงกว่า 60 เมตร

ภูเขาขยะในอินเดียสูงเท่าตึก ปล่อยก๊าซมีเทนในระดับสูง ชาวเมืองสูดมลพิษ

เมืองเดลีกลายเป็นเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก

แหล่งฝังกลบตั้งตระหง่านอยู่เหนือกรุงเดลีเหมือนภูเขาขยะขนาดมหึมา กว้างหลายไมล์และสูงกว่า 60 เมตร ซึ่งมองเห็นได้จากทั่วทั้งเมือง เต็มไปด้วยนก แมลงวัน วัว และสัตว์ต่างๆ ปล่อยกลิ่นเน่าเหม็น โดยแหล่งทิ้งขยะในย่าน Ghazipur, Bhalswa และ Okhla มีขยะมากกว่า 10,000 ตันทุกวัน ตั้งแต่พืชผักขวดแก้ว บรรจุภัณฑ์พลาสติก แบตเตอรี่ ของเล่นที่พัง และเสื้อผ้าที่ถูกทิ้ง ฯลฯ ซึ่งทำให้เดลีเป็นแหล่งปล่อยก๊าซมีเทนขนาดใหญ่ของโลก

เมืองเดลีกลายเป็นเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ที่สุดในโลก ชาวเดลีซึ่งมักสูดมลพิษเข้าไป ภูเขาขยะเหล่านี้แสดงถึงความล้มเหลวของเมืองในการจัดการกับปัญหาขยะและมลพิษที่เพิ่มมากขึ้น

เครดิต : The Wire

แหล่งปล่อยก๊าซมีเทนจำนวนมหาศาล

ข้อมูลดาวเทียมระบุว่าแหล่งฝังกลบในเมืองเดลีได้กลายเป็นจุดที่มีการปล่อยก๊าซมีเทนมากติดระดับโลก ซึ่งมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีศักยภาพกักเก็บความร้อนไว้ในโลกได้มากกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 82 เท่า ซึ่งก๊าซมีเทนจากกองขยะ แหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล และปศุสัตว์ มีส่วนทำให้เกิดภาวะโลกร้อนถึง 25% 

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า อินเดีย มีประชากรมากที่สุดในโลกและมีประชากรมากกว่า 1.4 พันล้านคน ไม่สามารถควบคุมการปล่อยก๊าซมีเทนได้เนื่องจากจำนวนประชากรยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

การปล่อยก๊าซมีเทนจากสถานที่ทิ้งขยะหลายพันแห่งในอินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง ได้เพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขณะที่จำนวนประชากรของเมืองต่างๆ เช่น เดลี ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การฝังกลบและการทิ้งขยะคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 14% ของการปล่อยก๊าซมีเทนทั้งหมดของอินเดีย ซึ่งเป็นปริมาณการปล่อยก๊าซมีเทนที่สูงเป็นอันดับ 2 รองจากการเกษตร
ข้อมูลดาวเทียมได้แสดงให้เห็นว่าแหล่งฝังกลบ Ghazipur, Bhalswa และ Okhla อาจกลายเป็นแหล่งกักเก็บก๊าซมีเทนจำนวนมหาศาล ในเมืองกาซีปูร์ ข้อมูลระบุว่าสถานที่ทิ้งขยะเป็นแหล่งที่มาของการรั่วไหลของมีเทนที่สำคัญ 37 ครั้งนับตั้งแต่ปี 2563 

เหตุการณ์เลวร้ายที่สุดเกิดในเดือนพฤศจิกายน 2564 มีการรั่วไหล 156 ตันต่อชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากับคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์วิ่ง 24 ล้านคัน การรั่วไหลที่ใหญ่กว่านี้บันทึกไว้ในเดือนมิถุนายน 2019 ปล่อยก๊าซมีเทน 360 ตันต่อชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนของรถยนต์วิ่ง 57 ล้านคันเลทีเดียว

 

ที่มา : The Guardian / Delhi Green / The Wire

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :