svasdssvasds

นักวิจัยพบอนุภาคพลาสติกขนาดจิ๋วนับแสนชิ้นในขวดน้ำดื่ม 1 ลิตร

นักวิจัยพบอนุภาคพลาสติกขนาดจิ๋วนับแสนชิ้นในขวดน้ำดื่ม 1 ลิตร

ปัจจุบันเราคงได้ยินคำว่าไมโครพลาสติก หรือนาโนพลาสติกกันบ่อยขึ้น ซึ่งพลาสติกอนุภาคเล็กขึ้นกำลังเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ ล่าสุดนักวิจัยเผยว่าในน้ำดื่มขนาด 1 ขวดลิตร อาจมีไมโครพลาสติกขนาดเล็กกว่าสองแสนชิ้น

พลาสติกหลายล้านตันถูกผลิตขึ้นทุกปี ซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น อุตสาหกรรมประมงและขยะในครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบด้วยไมโครพลาสติกซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางระหว่าง 1 ไมโครเมตร - 5 มิลลิเมตร

            
            
            นักวิจัยพบอนุภาคพลาสติกขนาดจิ๋วนับแสนชิ้นในขวดน้ำดื่ม 1 ลิตร
        
แม้ว่าไมโครพลาสติกจะพบได้ทุกที่ตั้งแต่จุดที่ลึกที่สุดในมหาสมุทรไปจนถึงภายในร่างกายของมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด แต่ที่น่ากังวลกว่านั้นคือเศษพลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 ไมโครเมตรหรือที่เรียกว่านาโนพลาสติก ที่สามารถพบปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและอาจส่งผลกับสุขภาพมนุษย์ได้
งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences (PNAS) แสดงให้เห็นขอบเขตของอนุภาคพลาสติกขนาดเล็กในขวดน้ำดื่มโดยในช่วงก่อนหน้านี้พบว่ามีปริมาณที่ดูต่ำมากเกินไป ล่าสุดจากการวิจัยพบว่าในขวดน้ำดื่ม 1 ลิตร อาจมีนาโนพลาสติกเฉลี่ย 240,000 ชิ้นเลยทีเดียว ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอนุภาคนาโนที่มีศักยภาพในการเจาะเซลล์ของมนุษย์และเข้าสู่กระแสเลือดและอวัยวะสำคัญได้

นักวิจัยพบอนุภาคพลาสติกขนาดจิ๋วนับแสนชิ้นในขวดน้ำดื่ม 1 ลิตร

นักวิจัยเผยว่าอนุภาคพลาสติกขนาดเล็กส่วนใหญ่แล้วมาจากตัวขวดเอง ซึ่งมีอนุภาคที่ขนาดน้อยกว่าหนึ่งไมครอน จาการทดลองมีการใช้ตัวอย่าง 5 ตัวอย่างจากน้ำดื่มในสหรัฐอเมริกา และพบว่าระดับอนุภาคพลาสติกอยู่ระหว่าง 110,000 - 400,000 ต่อลิตร โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 240,000 จากพลาสติก 7 ประเภท
ประมาณร้อยละ 90 ของอนุภาคพลาสติกที่พบถูกระบุว่าเป็นนาโนพลาสติก และส่วนที่เหลือเป็นไมโครพลาสติก อนุภาคนาโนมีขนาดเล็กว่าเส้นผมจึงมีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

นักวิจัยต้องคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อหาปริมาณอนุภาคขนาดเล็กเพื่อให้สามารถนับและวิเคราะห์โครงสร้างทางเคมีของอนุภาคนาโนในน้ำดื่มบรรจุขวดได้ อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะทราบถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากพลาสติกอนุภาคนาโน แต่นักวิจัยก็ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าน้ำดื่มบรรจุขวดมีอันตรายมากขึ้นหรือไม่?

 

ที่มา : Independent / New Scientist

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :