svasdssvasds

NASA เผยภาพ ต้นคริสต์มาส กลางเอกภพ สวยงามตระการตา อยู่ห่างจากโลก 2,500 ปีแสง

NASA เผยภาพ ต้นคริสต์มาส กลางเอกภพ สวยงามตระการตา อยู่ห่างจากโลก 2,500 ปีแสง

NASA ให้ของขวัญรับเทศกาลที่กำลังจะมาถึง ด้วยการเผยภาพ "ต้นคริสต์มาส" กลางเอกภพ แสงสีเขียวเกิดจากฝุ่นแก๊สในเนบิวลา และมีดาวฤกษ์ส่องแสงระยิบระยับ อยู่ห่างจากโลก 2,500 ปีแสง

ต้นครินต์มาสกลางอวกาศ

NASA เผยภาพออกมาให้ได้ดูกัน รับวันคริสต์มาสที่กำลังจะมาถึง เป็นการรวมกันของกลุ่มดาวที่มองโดยรวมแล้วคล้ายต้นคริสต์มาสเสียนี่กะไร โดยภาพนี้ถูกถ่ายด้วยกล้องโทรทัศน์อวกาศ WIYN ขนาด 0.9 มิลลิเมตร

หอดูดาว WIYN Cr. Wikimedia common

วัตถุดังกล่าวมีชื่อว่า NGC 2264 หรือที่รู้จักกันในชื่อ “Christmas Tree Cluster” เห็นเป็นสีสวยงามแบบนี้ เกิดจากการกระจุกรวมกันของดาวฤกษ์อายุน้อย ทว่า บางดวงมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์ NASA ระบุว่า พิกัดว่าอยู่ในทางช้างเผือก ห่างจากโลกออกไป 2,500 ปีแสง

วิธีการถ่ายภาพนี้คือ ต้องหมุนไปตามเข็มนาฬิกาประมาณ 160 องศา เพื่อให้ได้รูปต้นคริสต์มาสตั้งลำต้นตรงแบบพอดิบพอดี

หากดูลักษณะภายนอกแล้ว พบว่ามีรูปร่างโดยรวมคล้ายกับ “ต้นคริสต์มาส” เพราะมีแสงสีเขียวคล้ายใบต้นสน และมีแสงสีขาวเรืองราวประดาดับอยู่ ทำให้ยิ่งคล้ายคลึงต้นคริสต์มาสไปกันใหญ่

ต้นคริสต์มาสกลางเอกภพ Cr. NASA

แสงสีเขียวที่เห็นนั้น เกิดจากการร่วมกลุ่มกันของฝุ่นแก๊สในเนบิวลากลางเอกภพ ส่วนสีขาว สีน้ำเงิน ที่ระยิบระยับคล้ายของตกแต่งนั้น เกิดจาก ดาวฤกษ์อายุน้อยที่ปล่อยรังสีเอ็กซ์และอินฟาเรดออกมา

ทั้งนี้ รูปที่เห็น ถูกถ่ายภายใต้คำกำชับของ NASA ว่าพยายามถ่ายให้เห็นช่วงที่ดาวฤกษ์กระพริบแสงในลักษณะที่ส่งให้ภาพรวมออกมาเป็นต้นคริสต์มาส เพื่อจะได้ภาพที่สวยงามมาแบ่งปันชาวโลกกัน

ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ NASA ได้เผยภาพ “Christmas Tree Galaxy” ที่ถ่ายด้วยกล้องโทรทัศน์อากาศ เจมส์ เว็บบ์ ออกมาให้ได้ดูกัน ซึ่งอลังการตาแตก อยู่ห่างจากโลกประมาณ 4.3 พันล้านปีแสง NASA ตั้งชื่อการค้นพบในครั้งนี้ว่า “MACS0416”

Christmas Tree Galaxy ถ่ายด้วยกล้อง เจมส์ เว็บบ์ ห่างจากโลก 4.2 พันล้านปีแสง Cr. NASAESA, CSA, STScI

 

 

ที่มา: cbsnews , NASA

เนื้อหาที่น่าสนใจ

related