svasdssvasds

น้ำมันรั่วศรีราชาอาจทำทะเลเป็นพิษ อาหารทะเลเสี่ยงปนเปื้อน อาจส่งผลสุขภาพ

น้ำมันรั่วศรีราชาอาจทำทะเลเป็นพิษ อาหารทะเลเสี่ยงปนเปื้อน อาจส่งผลสุขภาพ

เหตุการณ์น้ำมันรั่วศรีราชากำลังคลี่คลายและมีการเร่งกำจัดคราบน้ำมันโดยใช้สารเคมีขจัดคราบน้ำมัน Dispersant และจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วชลบุรีในครั้งนี้ นักวิชาการแสดงความกังวลถึงปัญหาสารปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและอาหารทะเลซึ่งอาจส่งผลกับสุขภาพในระยะยาว

จากกรณีน้ำมันรั่วศรีราชาบริเวณทุ่นรับน้ำมันของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด จนเกิดคราบน้ำมันหรือ Oil spill โดยนักวิชาการเผยว่าน้ำมันดิบรั่วไหลเป็นน้ำมันดิบชนิด ARUB light crude จากตะวันออกกลางมีองค์ประกอบ คือมีค่ากำมะถัน 1.77 -2.0% มีโลหะหนักโดยประมาณแคดเมียม 0.44 ppm, นิเกิล 0.875 ppm, วาเนเดียม 0.621 ppm, ตะกั่ว 0.2ppm รวมทั้งมีสารประเภท PAHs หรือ Polycyclic Aromatic Hydrocarbons ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

น้ำมันรั่วศรีราชาอาจทำทะเลเป็นพิษ อาหารทะเลเสี่ยงปนเปื้อน อาจส่งผลสุขภาพ

ในส่วนของการกำจัดคราบน้ำมันรั่วศรีราชาโดยใช้สาร Dispersant สารเคมีขจัดคราบน้ำมันถึงกว่า 8,000 ลิตร ซึ่งการทำงานของสารชนิดนี้คือ เมื่อฉีดสารเคมีขจัดคราบน้ำมันลงในคราบน้ำมันในทะเล จะทำให้คราบน้ำมันแตกตัวกลายเป็นละอองน้ำมันผสมกับน้ำจมลงใต้ทะเล ดังนั้นสาร Dispersant จึงไม่ได้ช่วยลดปริมาณน้ำมันแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้ามอาจสร้างผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลมากขึ้น

น้ำมันรั่วศรีราชาอาจทำทะเลเป็นพิษ อาหารทะเลเสี่ยงปนเปื้อน อาจส่งผลสุขภาพ

นอกจากนี้ละอองน้ำมันรั่วศรีราชาที่ตกลงใต้ทะเลจะมีสารเคมีต่างๆ เช่น กำมะถัน, PAHs และโลหะหนักต่างๆ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สูงมาก หากสัตว์ทะล เช่น แพลงก์ตอนสัตว์ ปลา เต่าทะเล กุ้ง หอย เป็นต้น กินเข้าไปจะเกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิตในทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์

Cr. FB Sonthi Kotchawat

ไม่ใช่แค่เรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมเท่านั้นที่น่ากังวล แหล่งอาหารของมนุษย์อย่าง อาหารทะเล ก็มีความเสี่ยงในการปนเปื้อนสารเคมีอันตราย หากกินเข้าไปอาจทำให้ร่างกายได้รับสารโลหะหนัก กำมะถันและ PAHs ซึ่งอาจเป็นอันตรายเฉียบพลันกับร่างกาย หรืออาจส่งผลกับสุขภาพในระยะยาวได้

น้ำมันรั่วศรีราชาอาจทำทะเลเป็นพิษ อาหารทะเลเสี่ยงปนเปื้อน อาจส่งผลสุขภาพ เหตุการณ์น้ำมันรั่วศรีราชาอาจส่งผลกับห่วงโซ่อาหาร หากมีการจับสัตว์ทะเลบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับน้ำมันรั่วชลบุรี เช่น พื้นที่เกาะสีชัง, เกาะค้างคาว, แหลมฉบัง, อ่าวอุดม, ศรีราชา หรือบางพระ เป็นต้น

นักวิชาการแนะนำว่าหน่วยราชการต้องสุ่มตรวจสารไฮโดรคาร์บอน, โลหะหนัก, กำมะถัน ก่อนว่าในอาหารทะเลปนเปื้อนหรือเปล่า? มีค่าเกินมาตรฐานหรือไม่? แล้วแจ้งประชาชนให้ทราบ และที่สำคัญควรปรุงอาหารให้สุกก่อนรับประทาน

 

ที่มา : FB Sonthi Kotchawat

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :