svasdssvasds

รู้จัก ! "ปลานกแก้วหัวโหนก" ปลาที่ใหญ่ และหายากที่สุด ในทะเลไทย

รู้จัก ! "ปลานกแก้วหัวโหนก" ปลาที่ใหญ่ และหายากที่สุด ในทะเลไทย

พามาดูเรื่องราวดีๆ และความสวยงามในท้องทะเลไทย หลังมีการพบปลานกแก้วหัวโหนก ซึ่งเป็นปลาที่ใหญ่ และหายากที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง โดยมีการพบที่เกาะโลซิน จังหวัดปัตตานี

สัตว์ทะเลหายากในท้องทะเลไทยส่วนหนึ่งที่จำนวนประชากรลดลงอย่างรวดเร็วมาจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่นับวันจะทวีความรุนแรง แต่… วันนี้จะพาไปดูเรื่องราวดีๆในท้องทะเลไทย เมื่อ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์คลิป "ปู่หัวโหนก" ในทริปสำรวจทะเลโลซิน โดยดำเนินการโดยความร่วมมือจากกรมทะเลชายฝั่ง/ม.เกษตรศาสตร์, ม.อ./ม.ราม/มูลนิธิเอนไลฟ์ 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

พร้อมกันนี้ได้มีการบอกเล่าเรื่องราวว่า "ปู่หัวโหนก" หรือ"ปลานกแก้วหัวโหนก"  (Green humphead parrotfish) ซึ่งเป็นปลานกแก้วใหญ่ที่สุดในโลก และหายากที่สุดชนิดหนึ่งในทะเลไทยปลานกแก้วมีความยาวเต็มวัย 1.5 เมตร น้ำหนักอาจถึง 75 กิโลกรัม เป็นปลาที่อยู่กับแนวปะการังน้ำลึก/น้ำใส สมบูรณ์ ในทะเลไทยนานทีจะมีรายงานว่าพบตามที่ต่างๆ เช่น เกาะสุรินทร์ แต่สถานที่เจอประจำคงเป็นที่เกาะโลซิน เกาะไกลฝั่งที่สุดในอ่าวไทย หรือเกาะแสนล้านที่บางคนเรียกเพราะเกี่ยวข้องกับพื้นที่สัมปทาน ปิโตรเลียม ทีมนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลเดินทางไปที่นั่น เพื่อศึกษาสารพัดเรื่อง แต่เรื่องหนึ่งแสนสำคัญ คือ พบเจอปลาหัวโหนก ปู่โสมเฝ้าทะเลแสนล้าน ว่ายังคงอยู่ดีมีสุข

"ปลานกแก้วหัวโหนก"  สัตว์ทะเลหายาก

 

นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่าปลานกแก้วหัวโหนกอายุยืนมาก อาจถึง 40 ปี เมื่อเทียบกับปลากระดูกแข็งด้วยกัน ไม่นับฉลาม กระเบน ถือว่าเป็นระดับปู่ทวดได้ โดยผศ.ดร.ธรณ์ บอกว่า จุดเด่นสุดของปลาชนิดนี้ คือ ฟันในปาก โดยฟัลักษณะนี้มีไว้แทะหรือขูด ซึ่งหากเป็นปลานกแก้วทั่วไปจะขูดสาหร่าย/ปะการัง แต่ถ้าเป็นปู่หัวโหนกตัวใหญ่อาจงับเข้าไปเคี้ยวในปากได้เลย

หากถามว่า? แล้วปลาชนิดนี้สำคัญอย่างไรกับท้องทะเลไทย นักวิชาการ ตอบว่า ปลาชนิดนี้สามารถคุมปริมาณสาหร่าย ปลานกแก้วยังช่วยสร้างทรายให้แนวปะการัง คุณปู่เป็นเทพในเรื่องนี้เลย เนื่องจากตัวใหญ่จึงกินเยอะ ปลานกแก้วหัวโหนกจะสร้างทรายปีละ 5 ตัน มากกว่าปลานกแก้วทั่วไปหลายร้อยเท่า ขณะที่ไม่ว่าจะตัวผู้หรือตัวเมีย หัวก็โหนกปลาชนิดนี้บ่งบอกเพศจากรูปร่างภายนอกไม่ได้ หัวโหนกมีไว้ดุนดันให้เศษปะการังหักออกมา แต่ไม่ได้ทำทุกครั้ง บางครั้งปลาอาจหวงอาณาเขตโดยเฉพาะช่วงผสมพันธุ์ เมื่อตัวอื่นว่ายล้ำเข้ามาอาจว่ายไล่ บางทีก็เอาหัวชนกัน

ทั้งนี้โดยทั่วไปปลานกแก้วหัวโหนกชอบอยู่เป็นฝูง เหมือนกับปลานกแก้วทั่วไปที่ชอบรวมฝูงว่ายหากินในแนวปะการังในตอนกลางวัน ช่วงกลางคืนจะแยกย้ายกันหากิน ก่อนกลับมารวมฝูงกันตอนเช้า หากเป็นแนวปะการังขนาดใหญ่ อาจเจอหลายสิบหรือนับร้อยตัว แต่แนวปะการังไทยเล็ก ฝูงใหญ่สุดที่ผมเคยเจออยู่ที่เกาะสุรินทร์ นับได้ 17 ตัว สำหรับโลซิน อยู่เดี่ยวๆ เพราะแนวปะการังใหญ่ไม่พอ 

สำหรับจำนวนประชากรของปลาชนิดนี้นอกจากถูกจับยังเกี่ยวข้องสภาพระบบนิเวศ ปลาชนิดนี้ต้องการแนวปะการังสมบูรณ์ ซึ่งตอนนี้โลกร้อนกำลังเป็นภัยคุกคามที่แรงขึ้นเรื่อยๆ โดยปลานกแก้วหัวโหนกในไทยมีน้อยอยู่แล้ว ส่วนใหญ่อยู่แนวสมบูรณ์ที่เป็นอุทยาน/พื้นที่อนุรักษ์ (เช่นโลซิน) ภัยคุกคามระยะยาวคือระบบนิเวศอยู่ในภาวะเสี่ยง

ที่มา : คลิป และภาพ - คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์

 

related