กรมอุตุนิยมวิทยารายงาน วันที่ 9 พ.ค. 2566 หลายจังหวัดทั่วประเทศเผชิญหน้ากับค่าดัชนีความร้อนสูงสุด สูงสุดคือชลบุรี 51.2 ส่วนภาคเหนือตอนบนอาจเจอฝนตกหนักจากพายุฤดูร้อน
วันที่ 9 พฤษภาคม 2566 กรมอุตุนิยมวิทยารายงานการคาดหมายค่าดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน ระหว่างวันที่ 8-10 พ.ค. 2566 โดยภาพรวม จังหวัดส่วนใหญ่ทั่วประเทศไทยยังคงมีค่าดัชนีความร้อนรายวันอยู่ในระดับสีส้ม หรือระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ค่าดัชนีความร้อน คือ อุณหภูมิที่คนรู้สึกได้ในขณะนั้นว่าอากาศร้อนเป็นอย่างไร หรืออุณหภูมิที่ปรากฎในขณะนั้นเป็นอย่างไร โดยค่าดัชนีความร้อนนั้นคำนวณมาจากค่าอุณหภูมิอากาศและค่าความชื้นสัมพันธ์ สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อระบุความเสี่ยงที่ร่างกายจะได้รับผลกระทบจากความร้อนได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมอุตุฯ อัพเดท พายุเข้าไทย 2 ลูกขนาบซ้ายขวา ฝ่อแล้ว 1 กระทบไทยทางอ้อม
6 พ.ค. 2566 อุดรธานีทุบสถิติ อุณหภูมิสูงสุด 43.7 องศาฯ เตือนฝนตกให้รีบเก็บน้ำ
ค่าดัชนีความร้อนสูงสุด วันที่ 9 พ.ค. 2566
ภาคเหนือ คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน วัดค่าดัชนีความร้อนสูงสุดได้ 44.2
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม วัดค่าดัชนีความร้อนสูงสุดได้ 41.9
ภาคกลาง บางนา กรุงเทพมหานคร วัดค่าดัชนีความร้อนสูงสุดได้ 48.1
ภาคตะวันออก สัตหีบ จ.ชลบุรี วัดค่าดัชนีความร้อนสูงสุดได้ 51.2
ภาคใต้ จ.ภูเก็ต วัดค่าดัชนีความร้อนสูงสุดได้ 50.5
ค่าดัชนีความร้อนสูงสุด วันที่ 10 พ.ค. 2566
ภาคเหนือ คือ เพชรบูรณ์ วัดค่าดัชนีความร้อนสูงสุดได้ 49.9
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม วัดค่าดัชนีความร้อนสูงสุดได้ 45.5
ภาคกลาง บางนากรุงเทพมหานคร วัดค่าดัชนีความร้อนสูงสุดได้ 50.6
ภาคตะวันออก แหลมฉบัง จ.ชลบุรี วัดค่าดัชนีความร้อนสูงสุดได้ 46.7
ภาคใต้ จ.ภูเก็ต วัดค่าดัชนีความร้อนสูงสุดได้ 52.2
เปิดวิธีป้องกันฟ้าผ่า ช่วงพายุฝนฟ้าคะนอง พายุฤดูร้อน แบบนี้ !
ระวัง ! วันนี้ดัชนีความร้อนพุ่ง จับตาคนใช้ไฟสูงสุดสร้างสถิติใหม่
แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงวันที่ 8-10 พ.ค. 2566 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่