svasdssvasds

6 พ.ค. 2566 อุดรธานีทุบสถิติ อุณหภูมิสูงสุด 43.7 องศาฯ เตือนฝนตกให้รีบเก็บน้ำ

6 พ.ค. 2566 อุดรธานีทุบสถิติ อุณหภูมิสูงสุด 43.7 องศาฯ เตือนฝนตกให้รีบเก็บน้ำ

กรมอุตุฯประกาศ เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2566 อุดรธานีมีอุณหภูมิสูงสุดในประเทศ 43.7 องศาเซลเซียส รองลงมาคือสุโขทัย พร้อมเตือนพายุฤดูร้อน หากมีฝนตกให้รีบกักเก็บน้ำไว้ใช้

เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา รายงาน อุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยอยู่ที่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ อ.เมือง จ.อุดรธานี วัดได้ 43.7 องศาเซลเซียส

รองลงมาคือภาคเหนือ ต.ทับผึ้ง อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย

ส่วนกรุงเทพมหนครและปริมณฑล วัดได้สูงสุดที่ 40.5 องศาเซลเซียส ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย และภาคกลาง อ.เมือง จ.นครสวรรค์ และอ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี วัดได้ 41.8 องศาเซลเซียส

แผนที่อุณหภูมิที่วัดได้เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2566 Cr. กรมอุตนิยมวิทยา

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ภาคตะวันออก อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี และอ.เมือง จ.สระแก้ว วัดได้ 40.5 องศาเซลเซียส

ภาคใต้ตะวันออก ต.หนองพลัน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ วัดได้ 40.4 องศาเซลเซียส

ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันตก อ.เมือง จ.ระนอง วัดได้ 36.3 องศาเซลเซียส

ส่วนวันที่ 7 พ.ค. 2566 บริเวณประเทศไทยตอนบนกลางวันยังร้อนและร้อนจัดหลายพื้นที่   แต่ยังพอมีฝนบางแห่ง  ลมตะวันตกยัง พัดปกคลุม ยังต้องเฝ้าระวัง พายุฤดูร้อน ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ โดยฝนจะเริ่มมาหลังเที่ยงคืนวันนี้ทางตะวันออกของภาคอีสาน  ทิศทางลมเริ่มแปรปรวน

6 พ.ค. 2566 อุดรธานีทุบสถิติ อุณหภูมิสูงสุด 43.7 องศาฯ เตือนฝนตกให้รีบเก็บน้ำ

ในช่วงวันที่ 6 - 8 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 12 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ในระยะนี้หากมีฝนตกควรหาวิธีกักเก็บและสำรองน้ำฝนไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนน้อย  ซึ่งมีแนวโน้มช่วงฤดูฝนปีนี้ฝนจะน้อยกว่าค่าปกติ  ต้องติดตามพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด

ที่มาข้อมูล 

กรมอุตุนิยมวิทยา

related