svasdssvasds

ตัวเงินตัวทอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่น่าทำความรู้จัก มีความสำคัญกับระบบนิเวศ

ตัวเงินตัวทอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่น่าทำความรู้จัก มีความสำคัญกับระบบนิเวศ

จากที่มีข่าวลักลอบซื้อขายชำแหละตัวเงินตัวทอง เพื่อนำมาทำเป็นอาหารหรือเป็นยานั้นส่งผลกับจำนวนของตัวเงินตัวทอง ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง เรามาทำความรู้จักน้องตัวเงินตัวทองให้มากขึ้นกันดีกว่า

ตัวเงินตัวทอง หรือตัวเหี้ย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่มีความสำคัญกับระบบนิเวศ ซึ่งตัวเงินตัวทอง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน ตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ห้ามล่า ห้ามค้า ห้ามครอครอง ห้ามกระทำต่อเหี้ย รวมถึงต่อซากเหี้ย หรือผลิตภัณฑ์จากซากตัวเงินตัวทอง

ตัวเงินตัวทอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่น่าทำความรู้จัก มีความสำคัญกับระบบนิเวศ

ตัวเงินตัวทองเป็นสัตว์ที่ช่วยรักษาระบบนิเวศ เนื่องจากตัวเงินตัวทองจะกินซากสัตว์ที่ตายแล้ว ขยะเศษอาหาร ช่วยลดการเกิดการเหม็นเน่าของซากสัตว์ ลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค และยังทำให้แหล่งน้ำสะอาดขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยควบคุมสัตว์ไม่พึงประสงค์ต่อมนุษย์ เช่น หนู นกพิราบ ไข่งูพิษ และการครอบครองตัวเงินตัวท่องต้องมีการขออนุญาตเพาะเลี้ยงจากกรมอุทยานฯ ก่อน หากฝ่าฝืนมีความผิดมีโทษจำคุก 4 ปี ปรับ 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เนื้อหาที่น่าสนใจ :

จากข้อมูลของสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เผยแพร่ข้อมูลเเรื่องรู้จักสัตว์ป่าคุ้มครองวงศ์ของตัวเงินตัวทองในประเทศไทย พบว่ามี 4 ชนิดดังนี้

  • เหี้ย เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถพบเห็นได้ตามริมตลิ่ง แม่น้ำ ลำคลอง หรือบึง เหี้ยเป็นสัตว์ในตระกูลนี้พวกมันถือว่ามีขนาดตัวที่ใหญ่ที่สุดและพบเจอได้ง่ายที่สุดโดยจะชอบอาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำ ลำคลอง ป่าดิบชื้น และป่าชายเลน เป็นต้นลำตัวของมันจะอ้วนยาว ขาสั้นแต่แข็งแรง นิ้วมีกรงเล็บแหลมคม หางช่วยในการทรงตัวตอนวิ่งและว่ายน้ำ ผิวหนังหยาบ มีเกล็ดขนาดเล็กปกคลุมทั่วลำตัว ตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย นิสัยรักสันโดษ ปีนต้นไม้ และว่ายน้ำเก่ง จะดุร้ายเมื่อเจอคุกคามจากศัตรู
  • ตะกวด หรือบางพื้นที่เรียกว่า แลน ลำตัวสีดำหรือน้ำตาลเข้ม บนตัวมีลายจุดสีเหลืองจางกระจายทั่วไปทั้งลำตัวและขาด้านบน ชอบอาศัยอยู่บนต้นไม้ หากินบนพื้นดิน ตะกวดเป็นสัตว์ป่าที่นับว่าถูกล่า และถูกคุกคาม จากมนุษย์มากที่สุดจนบางพื้นที่แถบไม่เหลือให้พบเจอ ส่วนใหญ่จะพบว่าคนชอบนำตะกวดหรือแลน มาประกอบเป็นอาหารโดยไม่ทราบว่ามันเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
  • ตุ๊ดตู่ มีลักษณะอ้วน ป้อม เกล็ดเป็นสันแข็งขนาดใหญ่โดยเฉพาะตรงคอ ตอนเด็กตรงหัวและคอจะเป็นสีส้ม มีแถบสีดำลากตัดบริเวณหางตา ตอนโตจากสีส้มจะเปลี่ยนเป็นสีครีม ใต้คอมีสีขาว ผิวหนังลำตัวมีสีเทาอมน้ำตาล พบได้ตามภาคใต้และภาคตะวันตกในไทย มีนิสัยรักสงบ และเชื่องช้า
  • เห่าช้าง มีขนาดเล็กกว่าเหี้ย ผิวสีดำเข้ม มีลายขวางจาง ๆ ที่ลำตัว เกล็ดบนคอมีลักษณะเป็นแหลม ๆ คล้ายหนามทุเรียน เห่าช้างเป็นสัตว์ที่ขี้อายและขี้กลัว มีความว่องไว และดุร้ายกว่าเหี้ยชนิดอื่นเมื่อเจอศัตรูจะขู่เสียงฟ่อ ๆ เหมือนงูเห่าแต่ไม่ได้เป็นสัตว์มีพิษ

 

ที่มา : RISC /